จรรยาบรรณ

ช่วงนี้เป็นช่วงของการทำรายงานผลการปฎิบัติงานในรอบครึ่งปีงบประมาณ ที่ทุกคนต้องมีหน้าที่รายงานผลตาม KPI ที่กำหนด
KPI ได้มาจากส่วนหนึ่งของ Job Description หรือ JD
JD ได้มาจากส่วนหนึ่งของมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามแต่ละตำแหน่งที่แต่ละคนถือครอง
และเรายังมี Competency ที่เป็นการประเมินสมรรถนะของบุคลากรอีกด้วย ดิฉันเขียนไว้เมื่อหลายปีก่อนลองอ่านดู http://202.28.73.5/snclibblog/?p=11676 เนื้อหาอ่านไม่ทันสมัยแต่ความคิดยังเหมือนเดิม ปัจจุบันมีการเลือก Competency ที่ต่างไปจากปีที่ดิฉันเขียนไว้ ฉบับเต็มของ ก.พ.ดูจากที่นี่ค่ะ http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.php?option=com_content&view=article&id=2546%3A-core-competencies&catid=409%3A2011-07-25-07-24-24&Itemid=310
เนื่องจากไม่มีใคร หรือหน่วยงานไหนเขียนอะไรได้อย่างละเอียดละออในทุกอณู แต่เราจะมีสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมองค์กรที่ถ่ายทอดกันมาและปรับใช้ให้ถูกจริตและยุคสมัยกันในองค์กรุร่นแล้วรุ่นเล่า
ความหมายและความสำคัญ ตลอดจนความรู้เรื่องวัฒนธรรมองค์กรศึกษาด้วยการอ่านเพิ่มเติมได้จาก http://km.opsmoac.go.th/ewt_dl_link.php?nid=460
นอกจากเรื่องพวกนี้แล้วพวกเรายังมีสิ่งที่เรียกว่าจรรยาบรรณมาเป็นกรอบในการใช้ชีวิตตามระบบราชการ ได้แก่ จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน
ในมหาวิทยาลัยศิลปากรยังมี จรรยาบรรณของบุคลากรในมหาวิทยาลัยศิลปากร พ .ศ. 2552 เพื่อเป็นแนวปฏิบัติตนของบุคลากรในมหาวิทยาลัยที่เป็น ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ลูกจ้างที่จ้างจากงบประมาณแผ่นดิน งบประมาณเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยและงบประมาณเงินรายได้ของหน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ประพฤติดี สำนึกในหน้าที่ สามารถประสานงานกับทุกฝ่าย ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลยิ่งขึ้น รวมทั้งรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและส่งเสริมชื่อเสียง เกียรติคุณ เกียรติฐานะของบุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับเต็มโหลดได้จาก http://www.ethics.su.ac.th/pdf/book_ethics.pdf
พี่จุ๋มเคยเขียนในบล๊อกให้พวกเราได้อ่านที่ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=14778
หากใครที่ทำงานอยู่ในห้องสมุุด ยังมีสิ่งที่เรียกว่า จรรยาบรรณบรรณารักษ์ เพราะ ห้องสมุดเป็นสถาบันที่มีเกียรติ  เป็นบริการความรู้ที่เป็นคุณแก่สังคม เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาห้องสมุด เพื่อสร้างความมั่งคงแก่สถาบันห้องสมุด และเพื่อให้สถาบันห้องสมุดเป็นที่เชื่อถือและยอมรับของประชาชน สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เห็นสมควรกำหนดจรรยาบรรณสำหรับบรรณารักษ์ และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดทุกตำแหน่งไว้  (จาก http://tla.or.th/about_us/ethics.htm) ฉบับล่าสุดที่ประกาศใช้คือ พ.ศ.2552 แบ่งออกเป็น 5 หมวดที่เกี่ยวข้องกับชีวิตในการทำงานของพวกเราคือ ผู้ใช้ วิชาชีพ เพื่อนร่วมงาน สถาบัน และสังคม
ดิฉันมักใช้วิธีจำเพื่อเอาไว้เตือนสติตัวเองคือ
ต่อผู้ใช้ เราต้องรักผู้ใช้ทุกคนและใช้ความรู้ความสามารถที่มี รวมทั้งแสวงหาคนอื่นมาช่วยผู้ใช้ของเรา ไม่ใช่เฉพาะเรื่องที่ผู้ใช้เข้ามาถามหรือมาใช้บริการเท่านั้นหากรวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ที่เราสามารถจัดเตรียมให้ผู้ใช้บริการได้
ต่อวิชาชีพ เนื่องจากการเป็นบรรณารักษ์เป็นอาชีพในฝันของตัวเอง จึงมีความสุขทุกวันกับทุกงาน และพร้อมที่จะคิดและคิดอะไรก็ได้ที่มาสนับสนุนการทำงาน
ต่อเพื่อนร่วมงาน ในจรรยาบรรณมีด้วยกัน 4 ข้อ ข้อที่ชอบที่สุดคือต้องรักษา แสวงหามิตรภาพและเครือข่ายระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมวิชาชีพ เพราะเป็นคนที่เชื่อมั่นกับการมีเครือข่ายทั้งในวิชาชีพเดียวกัน และนอกวิชาชีพ ส่วนอีก 3 เรื่องเป็นเรื่องพฤติกรรมที่พึงต้องมีอยู่แล้ว
ต่อสถาบัน ดิฉันเชื่อมั่นว่าทุกคน “รัก” ห้องสมุดของพวกเรา เมื่อรู้สึก”รัก” แล้ว ความยินดีที่รักษาประโยชน์และชื่อเสียงของสถาบันที่สังกัดจะมาโดยธรรมชาติ เรื่องพวกนี้พวกเรามีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมมากมายบอกเล่าหรือเขียนอย่างไรก็ไม่มีวันจบสิ้น 😛

ต่อสังคม หากเรามีครบทั้ง 4 หมวดแล้ว หมวดนี้จะตามมาโดยอัตโนมัติ

ค้นไปค้นมาไปพบบล๊อกของตัวเองที่เขียนใน gotoknow เมื่อ 7 ปีที่แล้ว จนลืมไปแล้ว มองชื่อคนเขียน อ้าวเราเองนี่หว่า อ่านแล้วคิดถึงพระคุณของครูบาอาจารย์ที่สั่งสอนเรามา คิดถึงพระคุณของคนรุ่นเก่าที่ให้เราตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้ ลองอ่านได้ค่ะ  https://www.gotoknow.org/posts/136615
ขอบคุณโลกอินเตอร์เน็ตที่ให้เราย้อนไปอ่านความคิดของเราได้เพียงปลายนิ้วคลิก
 
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร