เรื่องเล็กๆ ที่เก็บมาฝาก

6
นาฬิกาทราย…สิ่งเล็กๆ ที่เชื่อว่าทุกคนรู้จัก
แต่นิยามในใจของแต่ละคนอาจต่างกัน…
ทรายที่ไหลเคลื่อนลงไม่ขาดสาย
อาจเปรียบดังเวลาแห่งชีวิตที่ดำเนินไม่หยุดนิ่ง
เมื่อทรายด้านหนึ่งหมดไปจะเริ่มต้นใหม่เสมอเมื่อเรากลับทาง
ชีวิตมีขึ้นมีลง มีเริ่มต้นใหม่เสมอ
ตราบที่เรายังหายใจ และไม่ยอมแพ้แก่โชคชะตา
4-1
เวลาชีวิตของแต่ละบุคคลมีความแตกต่าง
บ้างใช้เวลาทุกวินาทีอย่างมีคุณค่า
เก็บทุกรายละเอียดระหว่างเส้นทางเดิน
บ้างใช้เวลาทุกวินาทีอย่างสิ้นเปลือง
ไปพร้อมลมหายใจที่ทอดธุระไปตามระยะทาง
ในห้วงเวลาแห่งชีวิต
ผู้คนรายล้อมรอบกายมีความหมายต่างกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นไปตามจังหวะของชีวิต
ยากที่จะมีสิ่งใดกำหนดความแน่นอนของสรรพสิ่ง
วันนี้เราอาจพึงใจบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
วันพรุ่งบุคคลใดบุคคลนั้นอาจเป็นเพียงผู้ผ่านเข้ามาในชีวิต
ขณะที่อีกบางบุคคลอาจเป็นผู้อยู่เคียงข้างตลอดเส้นทางเดิน
รัก ชื่น ขื่น ชัง จึงมิใช่นิยามงดงามแห่งอุษาคเนย์ ของคุณธีรภาพ โลหิตกุล
หากแต่เป็นความรู้สึกประดามีของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่เรียก “ตนเอง” ว่า “มนุษย์”
ซึ่งในปัจจุบันมีการเรียกขานกันออกไปต่างๆ นานา
ตัวอย่างเช่น “มนุษย์ป้า” ที่เชื่อว่าหลายคนไม่อยากเป็น
มนุษย์ ความเชื่อ และการกระทำ
บางครั้งเรามองหา “สิ่งที่ขาด” จนพลาด “สิ่งที่มี”
บางครั้งเราแสวงหา “สิ่งที่ดี” จนทำให้ “สิ่งที่มี” นั้นหายไป
คนเราก็มีนาฬิกาชีวิตนะ
และหากเราได้รู้จักนาฬิกาชีวิตของตัวเอง
อาจจะสามารถ Balance การใช้ชีวิต ช่วยให้โรคภัยย่างกรายมาถามหาน้อยลง
  01.00-03.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ “ตับ” ควรหลับพักผ่อนให้สนิท
03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ “ปอด” ควรตื่นมาสูดอากาศสดชื่น
 05.00-07.00 น. เป็นช่วงเวลาของ “ลำไส้ใหญ่” ควรขับถ่ายอุจจาระ
 07.00-09.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ “กระเพาะอาหาร” ควรกินอาหารเช้า
 09.00-11.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงาน “ม้าม” ควรพูดน้อย กินน้อย
ม้ามทำหน้าที่ในการดึงเอาธาตุเหล็กจากฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดงนำมาใช้ในร่างกาย
และยังทำหน้าที่เอาของเสียออกจากกระแสเลือดในรูปของน้ำปัสสาวะเช่นเดียวกับตับ
 11.00-13.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ “หัวใจ”
ควรเลี่ยงการใช้ความคิด ความเครียด ระงับอารมณ์ตื่นเต้นตกใจ
 13.00-15.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ “ลำไส้เล็ก” ควรงดกินอาหารทุกประเภท
ลำไส้เล็กมีหน้าที่ย่อยอาหาร ตั้งแต่คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน
 15.00-17.00 น. เป็นช่วงเวลาทำงานของ “กระเพาะปัสสาวะ” ควรทำให้เหงื่อออก
 17.00-19.00 น. เป็นช่วงเวลาทำงานของ “ไต” ควรทำตัวให้สดชื่น
 19.00-21.00 น. เป็นช่วงเวลาทำงานของ “เยื่อหุ้มหัวใจ” ควรทำสมาธิ สวดมนต์
 21.00-23.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ “ระบบความร้อน”
ห้ามอาบน้ำเย็น ตากลม(ตาก…ลม มิใช่ ตา…กลม หุหุ) ควรทำร่างกายให้อบอุ่น
 23.00-01.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ “ถุงน้ำดี” ควรดื่มน้ำก่อนเข้านอน
สวมชุดนอนผ้าฝ้าย เพราะผ้าสังเคราะห์จะดูดน้ำในร่างกาย โดยถุงน้ำดีทำหน้าที่เก็บสะสมน้ำดีเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร
บทความดีๆ ที่เก็บมาฝากเป็นองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดจาก หมอแดง…วีระชัย วาสิกดิลก
ผู้ก่อตั้ง ดิ อโรคยา คลินิกการแพทย์แผนไทย ที่เริ่มเปิดทำการมาตั้งแต่ 16 ตุลาคม 2545
รักษาผู้ป่วยด้วยการแพทย์แผนจีน แพทย์แผนไทย และอายุรเวท(อินเดีย)
ซึ่งปัจจุบันมักเรียกกันว่าการรักษาแบบ “ธรรมชาติบำบัด”
ท่านใดสนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://thearokaya.co.th
ข้อมูลอ้างอิง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (28 พฤศจิกายน 2552 ). เฮลท์ ทริกส์ : นาฬิกาชีวิต. เรียกใช้เมื่อ 24 มีนาคม 2558 จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์: http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1259305092

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร