การให้เกียรติ (Give Respect)

การให้เป็นสิ่งที่ดี เมื่อเราให้สิ่งใดก็มักจะได้สิ่งนั้นตอบแทน หรือ เกียรติ คือ การให้การยอมรับนับถือ การไม่ดูถูกความภาคภูมิใจในชื่อเสียงในทางที่ดี ซึ่งการที่เรารู้จักให้เกียรติผู้อื่น (give respect) เราย่อมจะได้รับเกียรตินั้นกลับคืนมา (get respect )การให้เกียรตินั้นสามารถทำได้ทั้งทางกาย วาจาและใจ
คนที่จะรู้จักให้เกียรติผู้ อื่นนั้นมักจะเป็นคนที่มีความตระหนักถึงคุณค่าของตนเองและผู้อื่นเสมอ รู้จักถ่อมตน มีจิตใจงดงาม มีเมตตาจิตสูง ซึ่งจะตรงกันข้ามคนที่ไม่รู้สึกว่าตนเองมีค่า มีเกียรติ  แต่อยากได้รับเกียรติ และให้คนอื่นเห็นคุณค่าจากคนอื่น จึงมักมีพฤติกรรมชอบอวดเบ่งทำลายเกียรติผู้อื่นให้เสียความรู้สึกที่ดี เสียศรัทธาที่เคยมีให้  หรือมีกริยามารยาทที่ชอบดูถูก ผู้อื่น
ซึ่งคนที่รู้จักให้เกียรติผู้อื่นเป็นจะรู้จักพูดชมเชยผู้อื่นด้วยความจริงใจ ไม่เสแสร้ง รู้จักให้ความสำคัญและแสดงความสนใจใส่ใจเวลาได้มีโอกาสพบปะสนทนากับผู้อื่น และต้องแสดงพฤติกรรมดังกล่าวอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ใช่หน้าไหว้หลังหลอก จะทำให้เรารู้สึกขอบคุณที่ได้มีโอกาสรู้จักกับเขาทำให้เราได้มุมมอง ข้อคิดที่แตกต่างจากเขาทำให้เราสามารถเลียนแบบอย่างได้ทั้งจากสิ่งที่ดีที่เขามีและไม่เลียนแบบอย่างในสิ่งที่ไม่ดีของเขา
ดังนั้นถ้าผู้ใดต้องการประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตและมีความสุขในการใช้ชีวิตควรที่ให้รู้จักให้เกียรติผู้อื่นเพราะการให้เกียรติผู้อื่นเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานในทุกสาขาอาชีพ
โดยธรรมชาติของคนเรานั้นต้องการได้รับเกียรติจากสังคมรอบข้างด้วยการสร้างความภาคภูมิใจในตัวเองไม่ว่าคนนั้นจะอยู่ระดับใด ตำแหน่งใด ก็มักจะหาความภาคภูมิใจจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งในชีวิตของตนจนได้ เช่น ฐานะ ชาติตระกูล การศึกษา หน้าที่การงาน  ความรู้ความสามารถและความภาคภูมิใจนี้จะก่อให้เกิดความมั่นใจคุณค่าของการดำเนินชีวิตของตนเองในสังคมได้อย่างสง่า
สังคมไทยมีคนจำนวนมากที่ไม่รู้จักการให้เกียรติผู้อื่น หรือชมเชยผู้อื่น แต่วิธีการจับผิดผู้อื่น  ชอบอ้างแต่สิ่งที่ตนเองต้องการ สิ่งที่ตนเองอยากได้เป็นใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกว่าอีกฝ่ายจะรู้สึกอย่างไร คนเหล่านี้มักมาจากพื้นฐานครอบครัวหรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่รู้จัการให้ความรักแก่กัน มีแต่การจับผิด อิจฉาริษยา ไม่ชื่นชมกัน ทำให้ขาดความรักพื้นฐาน รักคนอื่นไม่เป็น แต่อยากได้ความรักจากผู้อื่น
ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้จะเกิดการตกผลึกในจิตใต้สำนึกและมักแสดงออกมาเป็นส่วนหนึ่งของนิสัยที่แท้จริงของเขา คนที่รู้จักให้เกียรติผู้อื่นเสมอแม้คนที่ต่ำต้อยกว่าจึงเป็นคนที่มีคุณค่าสูงให้ได้พบปะสนทนาด้วยก็จะเกิดความเกรงใจและอยากให้เกียรติตอบกลับมา (ศ.ดร.นพ.วิทยา นาควัชระ)
การให้เกียรติเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่บุคลากรห้องสมุดควรให้ความสำคัญ เพราะภารกิจหลักของงานห้องสมุดคือ การให้บริการสารสนเทศอันเป็นขุมทรัพย์ความรู้ที่ทุกคนต้องการแสวงหา
ดังนั้น การให้เกียรติผู้มาขอรับบริการ อันจะเป็นบ่อเกิดของการเลื่อมใสศรัทธาของผู้ขอรับบริการต่อห้องสมุด และเป็นที่มาของการค้นหาคำตอบของการทำงานให้ประสบความสำเร็จจนเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมในการให้บริการด้วยการให้เกียรติผู้มาขอรับบริการผ่านกระบวนการคิด ไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบและรอบด้าน
สามารถตอบโจทย์ได้ว่า ใคร คือคนที่สำคัญที่สุด อะไรคืองานที่สำคัญที่สุด และเวลาใดคือเวลาที่สำคัญที่สุด นี้คือหัวใจหลักของผู้ให้บริการที่ทรงด้วยองค์ความรู้คู่คุณธรรมนำมาซึ่งกัลยาณมิตรต่อผู้ขอรับบริการ
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติ คือ ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น (คำคมจาก ขงเบ้ง)
 
โดย ดร.รสรินทร์ ยางงาม

One thought on “การให้เกียรติ (Give Respect)

  • ทำเล็กบางครั้งก็ดี หลายๆครั้งไม่ดี จนทำให้หลายคนคิดว่า เล็กจริงๆ แต่ก็นั่แหละหัวโขน

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร