Cataloger กับ การ์เซีย มาร์เกซ, กาเบรียล

เห็นชื่อเรื่องแล้วอย่าเพิ่ง งงๆๆ ??? เนื่องจากวันนี้เห็นเพื่อนๆโพส ในเฟสบุ๊กว่า กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ที่เป็นนักเขียนรางวัลโนเบลได้เสียชีวิตลงเมือวันที่ 17 เม.ย. ที่ผ่านมา (http://www.dailynews.co.th/Content/foreign/231110/“กาเบรียล+การ์เซีย+มาร์เกซ”+นักเขียนรางวัลโนเบลลาโลก)
ด้วยหน้าที่ของ cataloger ก็ต้องเข้าไปแก้ไขรายการที่ชื่อผู้แต่งและรายการที่หัวเรื่อง เพื่อเพิ่มปีที่เสียชีวิตลงในรายการ เป็น การ์เซีย มาร์เกซ, กาเบรียล,|d1928-2014
การเป็น cataloger คำนี้ คนที่เรียนสาขาบรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศศาสตร์ บางคนเห็นแล้วขยาด ไม่อยากเรียน ไม่อยากฝึกงาน และไม่อยากแม้แต่จะทำหน้าที่นี้ หากต้องเป็นบรรณารักษ์วิชาชีพในห้องสมุด แต่งาน catalog เป็นงานที่สำคัญ เนื่องจากต้องเกี่ยวข้องกับหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด การให้เลขหมู่ การให้หัวเรื่อง ของหนังสือและทรัพายากรสารสนเทศในแต่ละชื่อแต่ละรายการนั้นสำคัญ สามารถทำให้หนังสือหรือทรัพยากรนั้นๆ ถูกใช้โดยผู้ใช้บริการหรือไม่เคยถูกใช้เลยก็ได้ หนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศนั้นจะถูกค้นหาได้ง่ายหรือยากขึ้นอยู่กับมือ cataloger
ห้องสมุดแต่ละแห่่งการให้เลขหมู่และหัวเรื่องหนังสือ 1 เล่มจะไม่เหมือนกันไปเสียหมด แล้วแต่ธรรมชาติของห้องสมุดหรือการเน้นสายวิชาที่ห้องสมุดสังกัดอยู่ ดังนั้นหนังสือชื่อเดียวกัน จึงมีข้อมูลการลงรายการ เช่น เลขหมู่ หรือ หัวเรื่อง ที่ได้ไม่เหมือนกัน บางคนที่ไม่ได้ทำงานในวงการ cataloger อาจไม่เข้าใจ ว่าเกิดจากอะไร หรือมีที่มาที่ไปอย่างไร เช่น เมื่อไม่กี่วันมานี้ได้รับคำถามจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งผู้ใช้บริการได้ถามมาอีกต่อหนึ่งว่า ทำไมหนังสือนวนิยายจีนชื่อเดียวกัน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์จัดไว้ที่หมวด PL แต่ห้องสมุดสาขาวังท่าพระไว้ที่ หมวด นว
จึงได้อธิบายไปว่า สำหรับหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ของเรานั้น หนังสือหมวด น (นวนิยาย) นั้นเราแยกคอลเลกชั่นออกมาต่างหากสำหรับนวนิยายไทยที่แต่งโดยคนไทย ซึ่งอันที่จริงในหมวดหมู่ LC นั้นที่เลขหมู่ของนวนิยายไทยอยู่เช่นกัน แต่เพื่อความสะดวกในการอ่าน หอสมุดฯจึงแยกคอลเลกชั่นนี้ออกมา เพราะเป็นหมวดที่เป็นที่นิยมกันมากเป็นอันดับหนึ่งของห้อสมุดแห่งเลยก็ว่าได้ ส่วนวนิยายจีนนั้นก็วิเคราะห์หมวดหมู่เข้าหมวดหมู่ที่เป็นจริงไป
ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้เรา (บรรดา cataloger ) เห็นการทำงานข้องกันและกันได้ ดังนั้น จึงมีคำว่า  Copy Catalog หากถามว่า เรา Copy Catalog จากห้องสมุดอื่นได้หรือไม่ คำตอบอาจมีหลากหลายไปตามความคิดของบรรณารักษ์แต่ละคน
บางคนว่า ได้ เราก็จะได้ทำงานเร็วขึ้น หรือ ก็เป็นห้องสมุดมหาวิทยาลัยเหมือนๆ กัน ก็ต้องให้เลขหมู่หรือหัวเรื่องเหมือนๆ คล้ายกันนั้นแหละ
หรือบางคนอาจบอกว่า ไม่ได้ เพราะต้องยึดกฎเกณฑ์ของห้องสมุดเรา ทำแบบห้องสมุดอื่่นได้อย่างไร
แต่สำหรับตัวเองที่ เป็น Cataloger มาเป็นปีที่ 21 แล้วนั้น ขอตอบทั้ง ได้ และ ไม่ได้ 
การ ใช้วิธี copy catalog ต้องรู้วิธีการใช้ที่ถูกต้องจึงจะนำประโยชน์มาสู่การปฏิบัติงานของเรา เช่น การ copy catalog จะช่วยลดเวลาในการทำงานให้ Cataloger จริง แต่ที่สำคัญคือ Cataloger ต้องปรับข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือเล่มนั้นๆ ให้มีข้อมูลบรรณานุกรมที่เหมือนกัน หรือคล้ายกันมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการให้เลขหมู่และหัวเรื่อง กับข้อมูลของห้องสมุดของเรา ต้องพิจารณากันอย่างจริงๆ เช่น กฎกติกา ข้อตกลงบางอย่าง ต้องตรวจสอบเลขหมู่ว่า ของเราใช้อะไร เพราะอาจทำให้หนังสือเรื่องเดียวกัน แต่ไม่ได้อยู่ด้วยกันได้ เพราะ วันนี้ เรา Copy ของห้องสมุดนี้ พรุ่งนี้ เราอาจ Copy ของห้องสมุดอื่นก็ได้  ก็ย่างที่บอกข้างต้นว่า ห้องสมุดแต่ละแห่่งการให้เลขหมู่และหัวเรื่องหนังสือ 1 เล่มจะไม่เหมือนกันไปเสียหมด แล้วแต่ธรรมชาติของห้องสมุดหรือการเน้นสายวิชาที่ห้องสมุดสังกัดอยู่
เมื่อ copy แล้วมา Paste เลย หรือใช้ตามนั้นเลย มันคงไม่ได้ล่ะกระมัง แม้ถ้าเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวใครๆ ก็พูดว่า งานบรรณารักษ์ใครก็ทำได้ แถมเก่งกว่าบรรณารักษ์บางคนเสียอีก เพราะ Copy และ Paste เร็วกว่า… 😎
การทำงานของ Cataloger ไม่ใช้ว่า ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าหนังสือ เท่านั้น เราต้องเรียนรู้มากมายหลายอย่าง เช่น มาตรฐานการลงรายการบรรณานุกรมแบบแองโกลอเมริกัน (AACR2)  การลงรายการบรรณานุกรมที่เครื่องสามารถอ่านได้ (MARC 21) เป็นบทเรียนที่ Cataloger และบรรณารักษ์ทุกคนต้องเรียนรู้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว มองไปรอบๆ ด้าน เรียนรู้อย่างเปิดตา เปิดใจ
เพราะในการทำงานแต่ละแห่งมักจะลงรายการบางอย่างไม่ตรงตามมาตรฐาน เนื่องมาจากได้ปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกับระบบห้องสมุดของแต่ละแห่ง การทำงาน catalog มิได้มีเพียงหลักเกณฑ์หรือกฎเกณฑ์ที่ต้องยึด แต่ต้องอาศัยความเข้าใจและนำมาใช้ให้ถูกต้อง และต้องเป็นผู้มีนิสัยที่ช่างสังเกต และละเอียดรอบคอบในการทำงาน ซึ่งเป็นบุคลิกที่สำคัญในการทำงานเป็น Cataloger เนื่องจากการลงรายการต่างๆ ให้ตรงตามมาตรฐานดังกล่าวนั้น จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้ที่ต้องการค้นหาหนังสือหรือทรัพยากรสารนิเทศที่ต้องการให้ง่ายดาย และตรงตามความต้องการมากยิ่งขึ้น
อีกทั้งยังต้องเป็นผู้ที่ต้องคอยติดตามข่าวสาร บทวิจารณ์ต่างๆ ทั้งเรื่องหนังสือ นักเขียน ภาพยนตร์ ดนตรี เทคโนโลยี ฯลฯ แทบทุกวงการที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการเป็น Cataloger ของเรา เพราะหนังสือหรือทรัพยากรสาสนเทศที่เราต้องทำงานด้วยนั้นมาจากหลากหลายสาขาวิชา รวมทั้งข่าวคราวความก้าวหน้าในวงการห้องสมุด เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด
และอย่าลืมทบทวน จดจำในสิ่งที่เคยได้ปฏิบัติและตกลงกันไว้ หมั่นดูแลและปรับปรุงข้อมูลในฐานฯ ของเราด้วย มีอะไรเปลี่ยนแปลง มีอะไรใหม่ อย่าทำงานเฉพาะตรงหน้า หาความรู้ใหม่ๆ มาเพิ่มเติม เช่น RDA ที่กำลังมาแรง เป็นต้น 🙄
สุดท้ายขอยกคำพูดของน้องนักศึกษาท่านหนึ่งที่เขียนแล้วประทับมาก “งาน Catalog ไม่ใช่งานที่ต้องมีเพียงหลักเกณฑ์ แต่เป็นงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจในหลักเกณฑ์ แล้วนำหลักเกณฑ์เหล่านั้นมาใช้ให้ถูกต้อง จงอย่ามองว่างาน Catalog เป็นงานปราบเซียนที่ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ เนื่องจากการทำงานใดๆก็ตาม ต่างก็ต้องอยู่กับกฏเกณฑ์เหมือนกันทั้งนั้น…”  😯
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร