ว่าแล้วก็บรรเลง…เพลง ฟายฟอกซ์

ฟายฟอกซ์เว็บบราวเซอร์แบบ Open Source พัฒนามาจากเบราเซอร์ตระกูล Mozilla …สามารถไป download ได้ที่ http://www.mozilla.com แล้วก็ทำการติดตั้งซึ่งง่ายมาก ไม่กี่คลิก เวอร์ชันปัจจุบันคือ 3.0.11 for Window ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น เวอร์ชัยภาษาไทยไปที่ http://www.firefoxthai.com/ ที่อาจจะเ็ป็นเวอร์ชันต่ำกว่าภาษาอังกฤษ
โปรแกรมเสริมของฟายฟอกซ์ หรือ add-ons มีด้วยกันสามชนิดหลัก คือ Extensions, Theme และ Plug-ins เด็วภาคเวอร์ชันภาษาไทยจะเขียนมาอีกที โดย Extensions เป็นโปรแกรมเสริมที่ทำงานโดยการติดตั้งฝังอยู่ในตัวของเว็บบราวเซอร์ส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยเมื่อติดตั้งแล้วจะมีปุ่ม ไอคอนที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือเมนูเพิ่มที่เมนูใดเมนูหนึ่ง Theme เป็นการปรับแต่งสีสัน สไตล์ เมนู หน้ากากของเว็บบราวเซอร์โดยมีลักษณะให้เลือกหลากหลายซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มความน่าสนใจและน่าใช้งานให้กับผู้ใช้ ส่วน Plug-ins เป็นโปรแกรมเสริมที่ติดตั้งบนระบบปฏิบัติการแต่เบราเซอร์สามารถไปเรียกมาใช้งานได้เมื่อมีไฟล์ชนิดต่างๆต้องการโปรแกรมที่จะมาเปิดเพื่อทำงาน ซึ่ง Extensions บางตัวก็สามารถทำได้อย่าง Plug-ins
การติดตั้งโปรแกรมเสริมหรือ add-on ของ Firefox อย่างง่ายๆคือ ไปที่ เมนู Tools –> Add-ons คลิกที่ Get Add-ons จะเห็น link ที่มุมขวา Browse All Add-ons ให้คลิกที่ลิงค์นี้หนึ่งครั้ง หน้า add-ons ของ Mozilla Firefox จะเปิืดออกมา ทางซ้ายมือจะแสดง Add-ons จัดแบ่งตามกลุ่ม เช่น Alerts & Updates, Appearance, Bookmark and Download Management, Feed News and Blogging , Language Support, Photos Music & Videos, Plug-ins, Privacy and Security, Social and Communication, Tabs, Toolbars, Web Development และ Others และ Search Tools และ Themes โดย Add-ons แต่ละตัวจะมี ปุ่มสีเขียว มีเครื่องหมาย + Add to Firefox หรือ Download  Now ให้คลิกที่ปุ่มของ Add-ons ตัวนั้นแล้วทำตามติดตั้ง ปุ่มการกา่รติดตั้งจะต้องรอประมาณ 3-5 วินาทีก็จะสามารถคลิกได้โดยจะเห็นเวลาเป็นวินาทีนับถอยหลังบนปุ่ม เมื่อปุ่มติดตั้งหรือ Install ปรากฎให้คลิกก็ทำการติดตั้งได้ เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วก็คลิก Done หรือเสร็จ แล้ว Firefox จะให้ Restart หรือ เริ่ม Firefox ใหม่ในเวอร์ชันภาษาไทย ซึ่ง Firefox ก็จะ Restart แล้วก็เปิดขึ้นมาใหม่ซึ่งเราก็อาจจะต้องใส่ user และ password ของ proxy ใหม่้อีกครั้ง แล้วก็ตามล่าหา add-on ตัวที่ติดตั้ง เช่นที่มุมขวาล่างสุด ที่บาร์ต่างๆ ใต้เมนูบาร์ หรือแทรกในเมนูต่างๆ แต่บางตัวก็ทำงานบนหน้าเว็บบราวเซอร์เลย เช่น GooglePedia หรือ GoogleTube เป็นต้น
ว่าแล้วก็จะกล่างถึง GooglePedia ซะหน่อย GooglePedia เป็น add-on ที่แสดงผลการค้นหาข้อมูลที่ได้จาก Wikipedia แล้วนำมาแสดงพร้อมกันบนหน้าผลการค้นหาจาก Google โดยเมื่อค้นหาคำหรือข้อมูลใดลงในช่องการค้นหาของ Google ตามปกติ แล้วคำนั้นหรือข้อมูลนั้นมีอยู่ใน Wikipedia แล้ว GooglePedia ก็จะนำข้อมูลจาก Wikipedia มาแสดงพร้อมกันโดยแสดงครึ่งหนึ่งทางขวาของหน้า Web Browser โดยจะมีคำสั่งที่ลักษณะคล้ายลิงค์ิอยู่เหนือส่วนแสดงข้อมูลWikipedia มีคำสั่ง Expand ถ้าต้องการแสดง Wikipedia เต็มหน้าจอ แล้วก็จะเปลี่ยนเป็น Shrink เมื่อต้องการให้แสดงแค่ครึ่งจอก็ให้คลิก Shrink คำว่า Expand ก็จะปรากฏกลับมา และทางขวามือสุดจำมีคำว่า Hide เมื่อคลิกก็จะดึงหน้า Wiki หลบไป แล้วเปลี่ยนเป็น Show เมื่อคลิก Show หน้า Wiki ก็จะกลับมา
เมื่อมีการติดตั้ง Add-ons ถ้าต้องการจัดการ add-ons แต่ละตัวก็ให้เข้าไปที่ Tools –> Add-ons แล้วคลิกที่ Extension หรือ Themes หรือ Plug-ins แล้วคลิกเลือกไปที่ add-ons ที่ต้องการก็จะปรากฏปุ่ม Options  Disable และ Uninstall เมื่อไม่ต้องการให้ add-ons ตัวใดทำงานก็กดปุ่ม Disable ถ้ากดปุ่ม Uninstall ก็จะเป็นการถอนการติดตั้ง Add-ons ตัวนั้นๆ ส่วน Options เป็นปุ่มที่ใช้สำหรับการตั้งค่าการทำงานของ Add-ons นั้นๆ ควรติดตั้ง Add-ons เท่าที่จำเป็นเพราะจะมีผลต่อการทำงานของ Browser ก็เหมือนเราเพิ่มขนาดโปรแกรมขึ้นเรื่อยๆ  เพราะฉะนั้นถ้าเราช่วยกันเล่น ทดลองแล้วนำมาแบ่งปันกัน ก็จำได้ไม่ต้องติดตั้ง Add-ons เกินความจำเป็น แล้วก็สามารถนำมาจัดการงานต่างๆ เมื่อได้พูดคุย ออกแบบ กระบวนการทำงานต่างๆกัน
ตอนหน้าจะพูดเรื่อง GoogleTube และ Video Search Downloader ที่จะมาช่วยในการเล่นคลิป VDO จาก YouTube และจัดการ Download มาใส่เครื่องเพื่อเก็บไว้ดูหรือนำไปดูหรือใช้ที่อื่นๆ
TaKiatShi ขอลาไปก่อน

One thought on “ว่าแล้วก็บรรเลง…เพลง ฟายฟอกซ์

  • อ้ายฟายนี่… ฤทธิ์เยอะจริงๆ ป้าตามไม่ทัน

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร