สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ในมุมมองของอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
จากเข้าร่วมฟังการบรรยาย โดย ท่านอธิการบดี (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชาญชัย ถาวรเวช) มีเนื้อหาสาระสำคัญ ดังนี้
ท่านอธิการบดี มีความเห็นเกี่ยวกับหอสมุดฯว่า ห้องสมุดมีความเสมอต้นเสมอปลาย มีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีผู้อำนวยการที่มีแนวคิดสมัยใหม่ มีบุคลากรเก่าดี มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีสืบทอด/ปลูกฝังกันมาช้านาน จึงทำให้ห้องสมุดมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดมา
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยศิลปากรมีการบริหารงานบุคคลร่วมกันหลายระบบทั้ง ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งไม่ต้องเกรงกลัว/กังวลกับแนวทางการบริหารงานของมหาวิทยาลัยในอนาคตที่จะมีการบริหารงานหลายระบบเช่นกัน
สำนักหอสมุดกลาง ในมุมมองของอธิการบดี กล่าวคือ โลกและสังคมเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง ก็ตาม ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การปรับตัวจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รอด ตัวอย่าง เช่น บริษัทไปรษณีย์ไทย ได้รับผลกระทบเรื่องการส่งจดหมาย ก็คิดหาวิธีการต่างๆนานาที่จะหารายได้เพิ่มให้กับบริษัท ห้องสมุดฯ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะมีผู้เข้าใช้ห้องสมุดน้อยลง ทั้งนี้ เนื่องจากมีคู่แข่งขันที่สำคัญคือ โปรแกรม Search Engine ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Google จะเห็นได้ว่า Internet มีผลต่อการบริการของทุกห้องสมุด ห้องสมุดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัว เดิมเราเป็น 1 ใน 5 ของมหาวิทยาลัยไทย ปัจจุบันเราอยู่ในลำดับที่เท่าไร?
ความแตกต่างระหว่างองค์กรแบบเก่ากับแบบใหม่ มีลักษณะดังนี้
องค์กรเก่า |
องค์กรใหม่ |
1. รายได้ต่ำ | 1. รายได้สูง |
2. ระบบการบริหารแบบเก่า | 2. ระบบการบริหารแบบใหม่ |
3. วัฒนธรรมองค์กรแบบเก่า | 3. วัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ |
4. รัฐบาลเลี้ยงดู | 4. พึ่งพาตนเอง |
5. การจัดการศึกษาไม่คล่องตัว | 5. การจัดการศึกษาคล่องตัว |
กล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นนิจนิรันดร์ คือ ต้องไม่อยู่คงที่ เพราะในโลกของอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (โลก, อาเซียน, ประเทศไทย, มหาวิทยาลัยศิลปากร) ขึ้นอยู่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด ในปี 2558 ประเทศไทยจะมีการขยับและปรับตัวเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มหาวิทยาลัยศิลปากรต้องขยับตัวตามเพื่อความอยู่รอด ในปัจจุบัน วาแตล ของวิทยาลัยนานาชาติ ได้ขยับตัวไปเปิดที่ประเทศเวียดนามแล้ว ในปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยศิลปากรมีการรับนักศึกษาน้อยลง ในปีนี้มีเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องเฝ้าระวังการเบิก-จ่ายเงินเดือนตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆ เพราะเงินจะได้รับช้าลงตามกำหนดการลงทะเบียน เนื่องจากการเปิดภาคการศึกษามีการขยับเวลา ทุกหน่วยงานควรมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินขององค์กร ตลอดจนการวางแผนการดำเนินงานต่างๆ ให้ดี
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออนาคต มหาวิทยาลัยศิลปากร มีทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน ดังนี้
ปัจจัยภายนอก |
ปัจจัยภายใน |
1. ประชากรลดลง | 1. วัฒนธรรมองค์กรแบบเก่า |
2. การแข่งขันสูง | 2. มศก. เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งการสร้างสรรค์ |
3. งบประมาณคงที่ | 3. อัตลักษณ์ศิลปากร3.1 การบูรณาการข้ามศาสตร์3.2 ศิลปะเป็นรากฐานที่แข็งแรง |
4. ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น4.1 เงินเดือน4.2 ค่าเช่าพื้นที่พระราชวังสนามจันทร์4.3 ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ | 4. ประชาคมมีความต้องการ (Demand) สูง |
5. IT เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น | 5. บุคลากรต้องได้รับการพัฒนา |
6. พื้นที่การศึกษามีปัญเฉพาะที่แตกต่างกันไป |
พื้นที่การศึกษาวังท่าพระ (พื้นที่วงแหวนเกาะรัตนโกสินทร์)
ปัจจุบัน |
อนาคต |
เป็น Tourist Spot | เป็น Tourist Spot สำคัญที่สุด มีรถใต้ดินเข้าถึง |
มีความแออัดของประชากรสูง | มีการขยายพื้นที่ท่องเที่ยวแพร่กระจายในเกาะฯ |
พื้นที่มีจำกัด/มีความหนาแน่นมาก (ห้องน้ำไม่เคยแห้ง) | พื้นที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์มากขึ้น การใช้ดินต้องคุ้มค่า |
มีวัฒนธรรมองค์กรเดิมที่เข้มแข็ง | มีวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ |
ประชากรนักศึกษาลดลง |
พื้นที่การศึกษานครปฐม
ปัจจุบัน |
อนาคต |
ค่าเช่าที่ดินสนามจันทร์สูงจากเดิม | ค่าเช่าที่ดินสนามจันทร์จะสูงขึ้น |
พื้นที่เริ่มต้น | ต้นทุนในการจัดการศึกษาสูงขึ้น |
การใช้ที่ดินไม่คุ้มประโยน์ | ความสำคัญในการเป็นเมืองบริวารของ กทม. เพิ่มขึ้น |
ค่าบำรุงรักษาสภาพแวดล้อมสูง | การใช้ที่ดินต้องคุ้มค่า |
การหารายได้เชิงพาณิชย์จากพื้นที่มีน้อย | หารายได้เชิงพาณิชย์มากขึ้น |
พื้นที่การศึกษา วิทยาเขตเพชรบุรี ปัจจุบันมีโมเดลที่ประสบความสำเร็จมาก คือ
1. มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ใช้ร่วมกันมากที่สุดคือ มีน้อยแต่คล่องตัว มีน้อยแต่ไม่เพียงพอต่อการรองรับการทำงาน เช่น เจ้าหน้าที่ เช่น การใช้ห้องเรียนร่วมกัน เป็นต้น
– คณะเทคโนโลยีสารสนเทศฯ (คณะใหม่) มีนักศึกษา 1,800 คน มี เจ้าหน้าที่ประมาณ 10 คน
– คณะสถาปัตยกรรม (คณะเก่า) มีนักศึกษา 500 คน มี เจ้าหน้าที่ 20 คน
2. มีการพึ่งพาตนเอง ซึ่งเป็นอีกโมเดลหนึ่งที่สำคัญ โดยการมองหาข้อดีข้อเด่นของตนเอง แล้วใช้ข้อดีข้อเด่นของตนเองให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ห้องสมุด เป็นแหล่งบริการวิชาการ คลังข้อมูล คลังภาพ คลังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic data) ต่างๆ ดังนั้น ควรคิดแสวงหารายได้จากแหล่งทรัพยากรที่มีอยู่
นิสัยไทยๆ ที่ทำให้ไทยไม่พัฒนาตามความคิดของท่านอธิการบดีฯ มีดังนี้
- ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
- ชอบพึ่งพาคนอื่น
- ฟุ่มเฟือย
- ไม่ตรงต่อเวลา
- รักสบาย
ในอนาคต …เราจะต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ คือ
1. ต้องมีการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ทั้งบุคลากรเก่าและบุคลากรใหม่ (ลดจำนวนคน ลดงบประมาณ)
2. ต้องมีการวางแผนพัฒนาบุคลากรให้มี ความรู้ความสามารถพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ (จำเป็นมากในวิชาชีพบรรณารักษ์)
3. การวางแผนในการพัฒนาบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้หลายหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ทดแทนซึ่งกันและกันได้ มีการหมุนเวียนงาน
ไม่ว่าสิ่งใดๆ ในโลกนี้ ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงเป็นนิจนิรันดร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถตั้งรับได้โดยการ “ยอมรับและปรับตัว” เพื่อความอยู่รอดนั่นเอง และข้อสำคัญที่ท่านอธิการบดีได้เน้นย้ำ คือ “ต้องเปลี่ยนให้เร็วที่สุด” และไม่ว่าความเปลี่ยนแปลงจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด จะดีขึ้นหรือแย่ลง แต่ละความเปลี่ยนแปลงล้วนมีข้อดีและข้อเสียในตัวเอง เช่น บุคลากรยุคเก่า/ยุคใหม่ การบริหารงานองค์กรแบบเก่า/แบบใหม่ วัฒนธรรมองค์กรแบบเก่า/แบบใหม่ เป็นต้น ซึ่งไม่มีแบบใดที่จะมีความสมบูรณ์แบบในตัวเอง ฉะนั้น เราควร “เลือก” แล้วนำมา “ปรับใช้” ให้ “เหมาะสม” กับการดำเนินงาน/การดำเนินชีวิตของตนเอง
One thought on “สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ในมุมมองของอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
องค์การใดมีบุคลากรนิสัยไทยๆ มากๆๆ คนเป็นหัวหน้าต้องเหนื่อยและเหนื่อยยิ่งขึ้นเพื่อเข็นองค์กรให้ก้าวหน้า ทันต่อการเปลี่ยนแปลง