ติดขัดกับการเดินทาง

ตั้งแต่ที่หัวหน้าได้หยิบยื่นโอกาสในการเข้าประชุมกลุ่มวิเคราะห์ฯ ซึ่งเป็นตัวแทนของหอสมุดฯ ในการเดินทางไปราชการแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางแบบมีรถบริการและการเดินทางไปด้วยตนเองก็ตาม ในระหว่างการเดินทางเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับหนทางข้างหน้า  ทั้งการจราจรติดขัด อุบัติเหตุ หรือเหตุบ้านการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของคนที่ใช้ชีวิตในเมืองหลวงไปแล้ว แต่เราคนต่างจังหวัดที่ไม่ค่อยได้สัมผัสกับสิ่งนี้ (นฐ.เดี๋ยวนี้เริ่มมีรถติดแล้วเหมือนกัน) จึงทำให้รู้สึกว่าอื้อหือ อะไรมันจะขนาดนี้ ยิ่งเป็นการเดินทางในคราบของการทำงานด้วยแล้วรู้สึกรีบร้อนทุกครา เมื่อใกล้ถึงเวลานัดหมาย อย่างครั้งนี้ที่ฟังบรรยาย RDA วันแรกออกเดินทางแบบเผื่อเวลาเหมือนทุกครั้ง แต่กว่าจะเดินทางไปถึงเล่นเอาแย่ เพราะการบรรยายเริ่มขึ้นแล้ว ณ ตอนนั้นดิฉันยังอยู่บน “รถไฟฟ้า” อยู่เลย… แต่ก็ทำให้ดิฉันเห็นวิถีชีวิตของคนเมืองหลวงในช่วงเวลาที่ทุกคนต่างเร่งรีบ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปทำงาน ส่งลูกส่งหลานไปโรงเรียน ซึ่งที่เห็นเหมือนๆ กัน ก็คือ กินข้าวเช้า อ่านหนังสือพิมพ์ แต่งหน้าบนรถ เป็นต้น ทั้งรถส่วนตัวหรือรถประจำทาง ขนาดนั่งมอเตอร์ไซด์ยังไม่วายต้องกินข้าวระหว่างการเดินทางเพื่อให้ทันเข้าโรงเรียน ซึ่งไม่แปลกใจเลยว่าคนกรุงเทพ เริ่มเข้าทำงานค่อนข้างช้ากว่าจังหวัดอื่นๆ เพราะการเดินทางมันจำกัดเรื่องของเวลา บางครั้งใช้เวลาการเดินทางมากกว่าการทำกิจกรรมที่ต้องทำเสียอีก
การใช้ชีวิตของคนเมืองหลวงเห็นแล้วรู้สึกเหนื่อยแทน ขนาดนี่แค่ 2 วัน ยังเพลียเลย แล้วคนที่อยู่ประจำ ใช้ชีวิตอย่างนี้ตลอดคงเหนื่อยล้า แล้วความเคยชินก็มาแทรกซึมไปเอง ถ้าประเทศไทยทำระบบการขนส่งสาธารณะดีๆ สนับสนุน ประชาสัมพันธ์การใช้รถประจำทาง หรือรถไฟฟ้า และมีระบบการขนส่งสาธารณะที่เข้าถึงทั่วทุกแห่ง เชื่อได้ว่าระบบการจราจรของประเทศไทยน่าจะดีขึ้น เดินทางได้สะดวกขึ้น ดิฉันเชื่อว่าคนไทยจะได้หันมาใช้บริการรถสาธารณะกันมากขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดในเมืองหลวงของประเทศไทยที่ครองแชมป์มาอย่างยาวนาน
การฟังบรรยายเรื่อง RDA มีกำหนดการเข้าฟัง คือวันที่ 14 -15 พ.ย. 2556 บ่ายวันที่ 15 พ.ย.56 เป็นการประชุมคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
RDA (Resource Description and Access) เป็นมาตรฐานการลงรายการรูปแบบใหม่สำหรับการใช้งานที่เป็นสื่อดิจิทัล โมเดลสำคัญของการลงรายการบรรณานุกรม คือโมเดลการลงรายการบรรณานุกรมข้อมูลที่เรียกว่า FRBR (Functional Requirements for Bibliographic Records) สำหรับรองรับการลงรายการข้อมูลได้ทุกรูปแบบทั้งเอกสารสิ่งพิมพ์และไฟล์ดิจิทัล และโมเดลการลงรายการบรรณานุกรมข้อมูล FRAD (Functional Requirements of Authority Data) ประกอบด้วย Bibliographic entities, Name and/or Identifier และ Controlled access points นอกจากนั้น RDA สามารถใช้ร่วมกับมาตรฐานการลงรายการ MARC ได้ และมีการเพิ่มบาง Tag เพื่อให้การลงรายการสอดคล้องกับการสืบค้นข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต
ช่วงบ่ายประชุมคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ฯ มีเรื่องแจ้งให้ทราบ คือ 1. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 30 ภายใต้หัวข้อ “ความท้าทายของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษายุคใหม่”  2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดการประชุม IUG วันที่ 2-4 ธันวาคม 2556  3. มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นเจ้าภาพจัดพูลิเน็ต ครั้งที่ 4 วันที่ 23-24 มกราคม 2557  4. ประชุมครั้งต่อไป วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 จากนั้นนำหัวเรื่องที่ให้ห้องสมุดแต่ละมหาวิทยาลัยไปตรวจสอบมาอธิบายและสรุป เพื่อใช้ในการทำงาน

One thought on “ติดขัดกับการเดินทาง

  • ใครในหอสมุดที่ควรทราบเรื่องนี้บ้าง เพื่อประโยชน์ต่อการทำงาน เห็นควรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร