คนยุคดิจิตอล…อยากได้อะไรจากห้องสมุด

ความท้าทายของโจทย์นี้
มาพร้อมๆ กับ ความ Hottest ของ Mobile technology
ซึ่งมิได้หมายเพียงโทรศัพท์ หากเป็นอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Device) ทุกชนิด
ที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายไร้สาย (Wi-Fi) ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone)
โทรศัพท์แบบชาญฉลาด (Smartphone) ไอพอด (iPods) ไอแพด (iPad)
คินเด็ล (Kindle) เน็ตบุ๊ค (Netbook) แท็บเล็ต (Tablet) ฯลฯ (…ละไว้ในฐานที่…ไม่รู้มีอีกมั้ย หุหุ ^^)
ศตวรรษวันนี้ เค้าใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ ทำอะไรกัน ??
ถ่ายรูป เล่นเน็ต พูดคุย ส่งเมล์ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม
สั่งงาน หาข้อมูล ทำการบ้าน ทำรายงาน อ่านหนังสือ เช็คหุ้น
ทำธุรกรรมการเงินกับธนาคาร สำรองที่พัก ซื้อสินค้า ตั๋วรถ ตั๋วหนัง ฯลฯ
whatever อะไรก็ได้ ที่ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ต้องเดินทาง ประหยัดค่าใช้จ่าย
พฤติกรรมในการทำงาน การเรียน การรับข่าวสาร การใช้ชีวิต ล้วนเปลี่ยนไป
มีผลสำรวจการใช้โทรศัพท์มือถือในการเสพสื่อของคนไทย
เทียบกับช่องทางอื่นๆ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ มายืนยัน นั่งยันว่า
คนไทยนิยมเสพผ่านมือถือมากกว่าทางอื่นๆ ที่สุด และใช้ถึงประมาณ 6.6 ชม./วัน
สถิตินี้ไม่ต้องพูดถึงกลุ่ม Gen Y ที่มีอายุ 18-30 ปี เพราะ 60% ใช้ชีวิตออนไลน์ตลอดเวลา
ทำไม
คำตอบคือ ใช้งานง่าย 63% มีความเป็นส่วนตัวสูง 28% ใกล้ตัวใช้เมื่อไหร่ก็ได้ 33%
ความสะดวก สบาย รวดเร็ว ทันใจ ทันสมัย เป็นส่วนตัวสูง
มีความหลากหลายของกิจกรรมเป็นทางเลือก
คือสิ่งที่ผู้คน…ส่วนใหญ่ในยุคดิจิตอลต้องการ ใช่ หรือ ไม่

การตอบทุกโจทย์ของ Mobile Device ต่อกิจกรรมชีวิตประจำวันเหล่านี้
จึงเลี่ยงไม่ได้เลยที่ “อุปกรณ์” เหล่านั้น จะ “มีบท” กับวงการห้องสมุด
เพราะเรากำลังก้าวเข้าสู่โลกยุคหลัง PC ที่มี Mobile Device เป็นตัวขับเคลื่อน
ถึงกับมีคนบอกว่า ปี 2014 mobile internet จะแทนที่ PC
ท่านที่สนใจเพิ่มความกระจ่างมากขึ้น ว่าทำไม
อะร๊ายยย อะรายย ต้องย่อส่วนลงสู่ mobile sites
ไปดู Clip สั้นๆ 10 เหตุผลของ Why Go Mobile?

หาก 10 เหตุผลยังดูไม่หนักแน่น
อิฉัน แถมด้วยวลีเก๋ๆ จาก Library Ireland Week 2011
“Smart People Use Smart Libraries”
ขอบอกClip นี้ นอกจากวลีเด็ดแล้ว
Book Dominoes ที่เป็นพระเอกของเรื่อง
ถ่ายทอดความพ้นยุคของหนังสือเล่มภายใต้การเดินเรื่องที่เรียบง่ายแต่ชัดเจน
ไม่ตามไปดูก็…พลาด…แล้วล่ะ ^^

ถ้าเช่นนั้นแล้ว
ห้องสมุดควรจะต้องเคลื่อนเข้าหา Mobile Device ใช่หรือไม่??
อะไรคือความต้องการ ด้านบริการห้องสมุดที่ตอบกระแส Mobile technology
จาก M-Libraries ที่อิฉันเก็บความได้มั่ง ไม่ได้มั่งมาขวากกันไปแล้ว
คุณ Aaron Tay สรุปห้องสมุดที่เขาสำรวจซึ่งได้เคลื่อนตัวเข้าสู่กระแสดังกล่าว
และจัดให้มี Mobile library websites ที่มีคุณภาพเป็นมิตรกับมือถือ
ให้บริการข้อมูลด้านต่างๆ แล้ว อาทิ

  • แคตตาล็อกห้องสมุด (Mobile library catalogue)
  • บริการเกี่ยวกับการยืม-คืน
  • เวลาเปิด-ปิด
  • เส้นทางไปยังห้องสมุด
  • การติดต่อห้องสมุด (Chat/SMS/โทรศัพท์/Email)
  • เชื่อมโยงฐานข้อมูลที่เปิดใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ
  • เชื่อมโยง web2.0
  • แผนผังชั้นบริการ
  • ตรวจสอบการจองคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ
  • ตรวจสอบการจองห้องประชุมกลุ่ม
  • เว็บแคมตรวจสอบความแออัดในห้องสมุด
  • ข่าวเหตุการณ์ ข่าวกิจกรรม ของห้องสมุด
  • ทางเลือกสลับการดู mobile mode กับ normal mode

แล้วความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด ใน “สังคมทาถู” อยากได้อะไรตามนั้นจริงหรือ ??
อิฉัน นำตัวอย่างการสำรวจมาให้ชมพอเป็นสังเขป

ข้อมูลจาก บทความแปล เรื่อง “ห้องสมุดมือถือ M-Library” ของ สุนันทา วงศ์ชาลี และสุรดา สุวรรณปักษ์
ตีพิมพ์ในวารสารบรรณศาสตร์ มศว. ปีที่ 5 ฉ.2 ก.ค. – ธ.ค. 2555
ในข้อมูลเดียวกัน ดูกันชัดๆ กับข้อมูลเปรียบเทียบด้วยภาพอีกครั้ง
ระหว่างคนมี app – ไม่มี app เห็นได้ว่าประเด็นส่วนใหญ่ มีความแตกต่างเกินครึ่ง

เราได้รู้ความต้องการในภาพรวมของผู้ใช้ต่อ App ห้องสมุด โดยประมาณแล้ว
ส่วนความต้องการเชิงลึก อันนั้นก็คงต้องไปหาเอาจริงจัง บ้านใครก็บ้านนั้น กระมัง??
เพราะภาวะปัจจัย ทั้งที่เอื้อ ทั้งที่บั่นทอนในแต่ละพื้นที่ต่างกันนะ อิฉันว่า

นอกจากข้อมูลตัวเลขซึ่งเป็นผลจากการสำรวจ
ยุวชนรุ่นจิ๋ว ก็นับเป็นตัวแทนสำคัญของคนยุคดิจิตอลที่ไม่อาจปฏิเสธเช่นกัน
เพราะอีหนู ไอ่หนู สมัยนี้ แทบจะคาบ Tablet ออกมาจากท้องแม่ตั้งแต่เกิดกันเลยทีเดียว
ลองไปฟัง คลิป What digital natives want from their library

คลิปนี้ ถูกเปิดในงาน VALA 2010 ของแม่สาวน้อย Abbey (อายุ 3 ขวบ)
ได้ยินแล้วใช่มั้ยคะ ว่าน้องหนูบอกว่าเธอต้องการอะไรบ้างจากห้องสมุดของเธอ
แม้เราจะทราบความต้องการของผู้ใช้ ต่อ App ห้องสมุด
เราก็ต้องเตรียมการ และวางแผนก่อนจะดำเนินการ
ที่สำคัญต้องไม่ลืมประชาสัมพันธ์ให้เกิดการใช้ด้วย
มิเช่นนั้นแล้วก็ จิเกิดผลการใช้งาน เยี่ยงนี้
กิจกรรมที่ผู้ใช้บริการห้องสมุด MIT ต้องการทำบนโทรศัพท์มือถือ 3 อันดับแรก
1 ต้องการขอใช้หนังสือหรือบทความ 64.7% มีการใช้จริงในปัจจุบัน 13%
2 ต้องการต่ออายุการยืมหนังสือ 64.4% มีการใช้จริงในปัจจุบัน 14.5%
3 ต้องการสืบค้นหนังสือและวารสาร.3% มีการใช้จริงในปัจจุบัน 17.5%
กิจกรรมอื่นๆ ที่ผู้ใช้ต้องการ

  • ต้องการฟังหรือดูการบรรยายย้อนหลัง 54.3% มีการใช้จริงในปัจจุบัน 15.6%
  • ต้องการอธิบายเอกสารหรือหนังสือ 51.8% มีการใช้จริงในปัจจุบัน 10.1%
  • ต้องการอ่านบทความวิชาการ 44.4% มีการใช้จริงในปัจจุบัน 24.7%
  • ต้องการจดหรือบันทึก 44.3% มีการใช้จริงในปัจจุบัน 17%

และกิจกรรมที่ผู้ใช้ห้องสมุดแห่งนี้ทำบนระบบออนไลน์มากที่สุด คือ การอ่าน e-book 29.5%
ทั้งหมดทั้งมวลดังว่ามา
ล้วนแต่สะท้อนถึงกระแสที่เปลี่ยนไปในยุคคอนเวอร์เจนไลฟ์สไตล์
ที่ทุกอย่างต้องแกะกล่องพร้อม…ดก
ที่สำคัญ คือ ต้องมาอยู่ตรงหน้าโดยทันที และมิต้องเหนื่อยแรง
ความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุดที่มีบางคนเปรียบเปรย
พฤติกรรมการมาใช้ห้องสมุดว่าประหนึ่ง “ซอมบี้”
คือ นิยมรับทานแต่ “สมอง” เมื่อใช้ก็อยากได้แต่ “เนื้อๆ” “เน้นๆ” อย่างอื่นม่ะอาวดั๊นรีบบ
การตอบสนองความต้องการต่างๆ นี้
เป็นความท้าทายของผู้ให้บริการ คือ ห้องสมุด
สำหรับอิฉัน การเป็นผู้นำ บางครั้งก็ต้องเจ็บตัวบ้าง
แต่ถ้าเราลุกขึ้นจับหอก ดาบ แล้วคนข้างหลังวิ่งตาม
ก็โอนะ…จริงป๊ะล่ะ ^^
——————————————————
ข้อมูลอ้างอิง
http://nstda.or.th/blog/?p=9298
http://goo.gl/amtAE
http://goo.gl/ltjRf
http://goo.gl/daKnf
http://goo.gl/LxjPw
http://goo.gl/Shw2b
http://goo.gl/3pklD
http://goo.gl/UWPdT

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร