M-Libraries
M-Libraries หรือ อาจกระชับพื้นเป็น M-Lib
ย่อมาจาก mobile libraries
หรือ จะเก๋ได้อีก ก็ประมาณ Library@Mobile
กระแสนี้มาหรือยัง??
ห้องสมุดบนโทรศัพท์มือถือตอบโจทย์อะไร?
ทำไมต้อง App ผอ.??
เรื่องของเรื่องก็มีว่า
อิฉันบังเอินผลัดหลงไปอยู่ในคณะกรรมการชื่อยาว
แต่อิฉันเรียกเอาแบบง่ายสั้นเข้า…ว่า คกก.IT & PR ของสำนักฯ
ที่แม้จะเข้าไปตามหลังเพื่อนๆ ก็ได้การบ้านกันมาเลยทีเดียว
กับงานข้อมูลบอกเล่าประวัติความเป็นมาของห้องสมุดในเครือ SU ของอิฉัน
ซึ่งบัดเด๋วนี้ กิจของอิฉันก็พ้นอกไปแระ ต่ะนี้ก็ไปหนักที่น้องปู สุนิสาต่อปายยย
และกาลก็ให้มาถึงกิจในลำดับถัดมา คือ
ท่านผู้อำนวยการสำนักหอสมุดฯ ของอิฉัน
มอบหมายให้ คกก. ศึกษาความเป็นไปได้…หาก…
สำนักหอสมุดฯ จะสร้างห้องสมุดพกพาเคลื่อนที่
ดังชื่อเรื่องที่อิฉันเกริ่นไว้ข้างต้น
นั้นจึงเป็นเหตุให้
อิฉันมีเรื่องมาเมาท์ เอ้ยยย เล่าสู่กันฟัง
แบบว่าจะลอกมาก็ไม่ใช่ แปลมาก็ไม่เชิง
เอาเป็นว่าด้วยปัญญา งูๆ ปลาๆ อิฉันได้กระทำการ
เก็บ “สาระ” แต่พองาม มาบรรจง “ปรุงแต่ง” จากบทความ
“What are mobile friendly library sites offering? A survey.”
ของ Aaron Tay ที่พี่ท่านแนะนำตัวว่า…
I’m a Senior Librarian at National University of Singapore.
ณ กาลบัด now
มือถือเปรียบเสมือนหนึ่งอากาศที่ต้องใช้หายใจ ของใครๆ หลายๆ จำนวนมากคน
ใครจะปฏิเสธก็ช่วยเรียงหน้ากระดานชูจุ๊กกะแร้ฟูฟ่อง ให้อิฉันยลจั๊กน้อย
ว่าใน 10 คน จะนานๆ สักกี่คน ที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือเป็นของตนเอง
ไม่ว่าจะรุ่นอากง R-ma แปด-เก้าร้อยกว่า ที่มีปุ่มกด+ตัวเลขขนาดมหึมาแถมวิทยุ AM FM ไว้แก้เหงา
หรือ จะเป็น high end สมาร์ทโฟน รูดปรื๊ดดดด รูดปรื๊ดดดดดดดด ก็ตาม
และกระแส…(ไม่ใช่กระสือ)ที่มาแรงเกี่ยวกับมือถือซึ่งน่าสนใจ คือ
ห้องสมุดในต่างประเทศอย่างน้อย มากกว่า 40 แห่งที่กำลังช่วงชิง
ในการสร้าง Website ห้องสมุดให้เป็นพันธมิตรกับโทรศัพท์มือถือ
ทำไม?
บทความของคุณพี่ Aaron Tay ที่จะเล่านี้
พี่ท่านได้ช่วยทำทางลัดนำพาให้ได้พบ แถมจัดกลุ่มก้อน
ตามคุณลักษณะรูปโฉมอะไรๆ ที่เป็น common services
ของห้องสมุดที่จะให้บริการ M-Libraries หรือ เรียกแบบขยายความ
ให้ชัดเจนได้ว่า libraries with mobile sites
Aaron Tay เปรียบเทียบแต่ละ site
ให้เราได้เกิด Ideas ต่อยอดจากที่คนอื่นทำมาแล้ว
ไม่ต้องเสียเวลา “ลอง” ให้ “ผิด” หรือ “ถูก” จนหงุดหงิดหัวใจ
แต่ต้องบอกก่อนนะเจ้าคะว่า สิ่งที่จะเห็นจากตัวอย่างที่จะว่าต่อไป
เป็นหน้าตาจากการทดลองใช้กับ iPhone ซึ่งแน่นอนว่า Web browser คือ Safari
พี่ท่านจึงแนะให้ลองใช้กับโทรศัพท์ต่างตระกูล
ที่ใช้ Web browser อื่นๆ เช่น Opera Mini ดูบ้าง เพื่อดูผลต่าง
พี่ท่านสรุปว่าเว็บไซต์ห้องสมุดบนมือถือมี 3 รูปแบบหลัก
ในที่นี้ อิฉันจะสรรมาให้ยลกันแต่พองาม ตามที่อิฉันพึงใจละกัน
แบบแรกที่ดูจะเดิร์นสุดๆ ยามบัดเดี๋ยวนี้ น่าจะเป็นลักษณะ iPhone App
ที่ประมาณว่าออกมาเพื่อกลุ่ม smart phones โดยเฉพาะ
ส่วนอีกรูปแบบที่ตรงข้ามกันสุดขั้วดูแล้ว เบๆ กระเดียดไปค่อนเชยยย
คือ รูปแบบที่มีข้อความเป็นหลัก และบางครั้งมีตัวเลขร่วมด้วย
M-Libraries ส่วนใหญ่ มีรูปแบบ 2 ลักษณะนี้
บางแห่งอาจจะใช้ Icon ประกอบในบรรทัดด้วย
- College of DuPage Library
และรูปแบบสุดท้าย
ที่ดูเหมือนจะเป็นรูปแบบพื้นๆ และพบบ่อย ก็คือ
รูปแบบที่มีช่องค้นหา(search) บนหน้าโฮมเพจ
บางแห่งก็เพิ่มทางเลือกที่น่าสนใจ
สามารถที่จะเลือกขยาย หรือย่อรายการในแต่ละเมนูได้
อีรูปแบบนี้อิฉัน ว่าหน้าตาคุ้นๆ นะ
แต่บริการบน M-Libraries บางเรื่อง
ก็ไม่น่าสนใจ ตามความเห็นของ Aaron Tay
อาทิ การแจ้งเวลาเปิด-ปิด
การติดต่อกับห้องสมุด รวมทั้งเจ้าหน้าที่
เนื่องจากมีช่องทางอื่นๆ ที่เอื้อต่อการบริการเช่นนั้นได้อยู่แล้ว
เช่น มี “Ask us” เชื่อมต่อกับ email, SMS, IM และโทรศัพท์ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังเห็นว่า
การมีช่องสำหรับแชทกับผู้ใช้ บางครั้งเป็นเรื่องยุ่งยาก
เพราะโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนแฟลช
บางแห่งจึงตอบปัญหาที่ผู้ใช้ถามจากเว็บทาง SMS แทน
นอกจากการติดต่อกับห้องสมุดและเวลาเปิดทำการแล้ว
บริการแจ้งเส้นทางไปยังห้องสมุด คือสิ่งที่พบมากที่สุด
เป็นอันดับ 3 บนเว็บไซต์มือถือ โดยมักจะใช้วิธีเชื่อมโยงด้วยแผนที่ Google
กรณีนี้ เขาเห็นว่าหากจะได้มีทางเลือกวิธีการทำงานร่วมกันให้หลากหลาย
เช่น ข้อความบอกเส้นทาง กับแผนที่ Google แผนที่ PDF/GIF ก็น่าจะสะดวกมากกว่า
นอกจากนี้ห้องสมุดบางแห่งยังบริการแผนผังพื้นที่ของชั้นบริการ
และบางแห่งก็สร้างความน่าสนใจด้วยการพาทัวร์ห้องสมุดบนมือถือ
และสิ่งที่บริการ M-Libraries ไม่ควรพลาด คือ
การค้นหา และการยืม-คืนหนังสือห้องสมุด
ซึ่งจำเป็นจะต้องมีระบบที่เป็นมิตรกับโทรศัพท์มือถือด้วย
เพราะอะไร…หลายท่านอาจยังข้องจิต
ก็เห็นว่าใครๆ ที่มีทอสับรูดมั่ง ไม่รูดมั่ง แต่ท่องเน็ตได้
ก็ดู web นู้นนี้นั้น เล่นฟ๊งเฟซ กันกระจาย
แล้วทำไมต้องทำให้มัน “ยุ่ง” “ยาก” (วะ)
จากที่อิฉันได้พอสัมผัสบ้าง ก็เดาๆ เหตุที่เป็นผลเล็กน้อยที่สุด
น่าจะเป็นเรื่องการแสดงผลที่เหมาะกับหน้าจอโทรศัพท์
บางหลายคน อาจคิดต่ออีก
แม๋…ก็เห็นอี(ไอ้)พวกรูดปรื๊ด มันก็กรีดดดนิ้ว ยืดๆ ย่อๆ หน้าจอ
เวลาอยากดูอัลลายย เล็กๆ ใหญ่ๆ อยู่แล้ว ต้องทำ…มัย?? อีก (ฟระ)
อันเน้ก้อเอิ่มมมมมม…บลา บลา บลา
ดูภาพปลากรอบบ ละกัน
ภาพแรก คือ ผลที่อิฉัน capture หน้าจอ แบบเข้าWebปกติ
ด้วยหน้าจอทอสับ ซัมซวงงงง ปามาน 3 x 5 นิ้ว
และส่งภาพมาสำแดงในเบื้องนี้ แบบ Full size
ภาพ 2 คือผลต่างการcapture หน้าจอ ผ่าน App KKULibrary
และส่งภาพมาสำแดงในเบื้องนี้ แบบ Medium size
ไม่ต้องบอกก็เดาได้นะเจ้าคะว่าเป็น Free app
มิเช่นนั้น อิฉันคงไม่โหลดมา อิอิ
App นี้เป็นตระกูล Android สร้างโดยศูนย์คอมฯ มข.
หนึ่งตัวอย่างของบ้านเราที่สร้างความเป็นมิตร
แต่สำหรับในบทความของคุณพี่ Aaron Tay
พี่ท่านได้ยกตัวอย่างระบบที่ Friendly 4 Mobile
เช่น บริษัท Innovative Interfaces ซึ่งอิฉันเดาๆ ก็น่าจะเป็น
Sierra Platform ที่หลายๆ ห้องสมุดกะลังเล็งๆ
นอกจากนี้เขายังชี้ถึงทางเลือกที่อาจจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาในอนาคต
นั่นคือ เว็บไซต์ชั้นหนังสือออนไลน์อย่าง Librarything และอื่นๆ
อย่างเช่นที่คุณสม นำมาเป็นตัวอย่างบนหน้าบ้านของพวกเรา คือ Shelfari
ที่สามารถจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ให้เก็บและค้นหาหนังสือได้เป็นส่วนตัว
แล้วก็ยังมี Goodreads ซึ่งอิฉันเองก็มิแซบบเว่อ
เผลอไปสมัครอะไรไว้ หรือไม่ ประการใด หรือเป็นของแถมจากเมล์
เพราะอิฉันได้รับแจ้งเตือนใน Gmail บ่อยมว๊ากกกก แต่บ่ ได้อ่าน เพราะเป็นปาสาปะกิต อิอิ
สำหรับคุณๆ ที่สนใจมีชั้นหนังสือออนไลน์เป็นของตัวเอง
ลองดูข้อมูลเปรียบเทียบชั้นของแต่ละค่ายเบื้องต้นได้ตามนี้จ้ะ
http://www.libraryhub.in.th/2010/01/26/my-library-in-google-vs-librarything-vs-shelfari-vs-goodreads/)
ในทัศนะของ Aaron Tay เขาคิดว่า M-Libraries
จะเอื้อประโยชน์มว๊ากกก ก็ในเรื่องของการยืม-คืนหนังสือห้องสมุด
เช่น ตรวจสอบการยืม สำรองหนังสือ และอื่นๆ
ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับระบบอัตโนมัติที่ใช้อยู่นั้นเอื้อให้ด้วยหรือไม่
แต่ก็มิได้หมายฟามแว่…ห้องสมุดที่ไม่มีระบบ M-Libraries
จะมิสามารถใช้ระบบบนมือถือได้เลย เพราะห้องสมุดบางแห่งเค้าใจดีทำไว้ให้
อาทิเช่น ห้องสมุดที่เป็นสมาชิกของ WorldCat
ก็สามารถเชื่อมต่อ WorldCat mobile มองเห็นบ้านตัวเองผ่านช่องทางนี้ได้
นอกจากนี้ กระแส Social Network
ก็เป็นอะไรที่ห้องสมุดที่จัดบริการ M-Libraries ส่วนใหญ่
มักจะไม่ลืมเชื่อมโยงกับเว็บเครือข่ายสังคม เป็นต้นและใบ อาทิ
Twitter, Blogs, YouTube, Flickr, Facebook, MySpace
ขณะเดียวกันก็มีการเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลต่างๆ
ที่รองรับการใช้งานบนมือถือทั้งการเข้าใช้โดยตรง หรือผ่านจากห้องสมุด
เช่น EBSCOhost, PubMed, IEEExplore และ Naxos
นอกจากนี้ยังมีบริการอื่นๆ ทั้งที่เกี่ยวกับทรัพยากรของห้องสมุดเอง
และเครือข่ายสังคมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น e-book Google books Google Scholar
search engines ที่รองรับการใช้งานบนมือถือ หรือแม้แต่เชื่อมโยงไปห้องสมุดมือถืออื่นๆ
และห้องสมุดบางแห่งก็เริ่มนำเสนอบริการพิเศษเพิ่มขึ้น
เช่น การจองคอมพิวเตอร์ จองห้องประชุมกลุ่มในห้องสมุด
แต่ประเด็นที่พี่ท่านข้องใจ คือ ทำไมห้องสมุดจำนวนมาก
ไม่ดำเนินการกับคำถามที่พบบ่อย
ให้เป็นมิตรกับโทรศัพท์มือถือ
เพราะจะช่วยให้การดำเนินการต่างๆ ง่ายขึ้นมาก
อันนี้ อิฉันช่วยตอบให้…ก็เค้าคงไม่ได้รวบรวมถาม-ตอบไว้อ่ะจิ
แต่บ้านอิฉันป้าแมว บ่น…เอ้ยยยย บ๊อกกก บอกๆๆ
ให้(พยายาม)รวบรวมถาม-ตอบ ข้อข้องใจของผู้ใช้เก็บไว้
ขยับต่อไปอีกนิดด้วยการทำกรุ๊บปิ้ง(หรือจะ ย่าง ด้วย ก็คงได้ ฮาาาาา)
ให้กับ FAQ (Frequently asked questions) ให้เป็นหมวดหมู่
จับโยนใส่ M-Lib จะจัดวางใน Ask us หรือ FAQ ก็สุดแท้แต่แปลเจตนา
จิได้มิต้องมานั่งตอบกันปากแฉะ เป็นรายคน รายวัน จริงมะ ^^
สรุปสุดท้าย
พี่ท่านตบด้วยคุณสมบัติหลักที่หลายๆ แห่งจัดให้ในบริการ M-Libraries คือ
• แคตตาล็อกห้องสมุด
เรียกแบบอิฉันก็คือหน้าตาของ OPAC น่ะ
อันนี้ อิฉันขอเน้นด้วยคนว่า ควรต้องเป็นหน้าตาแบบ Mobile library catalogue
• บริการที่เกี่ยวกับการยืม-คืน
• เวลาเปิด-ปิด
• เส้นทางไปยังห้องสมุด
• การติดต่อห้องสมุด (Chat/SMS/โทรศัพท์/Email…และอื่นๆ ถ้ามี)
• เชื่อมโยงฐานข้อมูลที่เปิดใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ
• เชื่อมโยง web2.0 เช่น Twitter/Flickr/YouTube/Facebook
• แผนผังชั้นบริการ
ความเห็นส่วนตัวอิฉัน ยังไม่เห็นว่าจำเป็นเท่าไร
อย่างบ้านอิฉัน อาจไม่เอารูปผังมาแสดง แต่บอกบริการในแต่ละตึก/ชั้น น่าจะโอกว่า…รึเปล่า
• ตรวจสอบการจองคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ
• ตรวจสอบการจองห้องประชุมกลุ่ม
บ้านอิฉันอาจเพิ่มจอง โถงนิทรรศการ ห้องฉาย ห้องอัด ห้องคาราโอเกะ
• เว็บแคมตรวจสอบความแออัดในห้องสมุด
(จะได้ตั้งหลักถูกว่าจะมา…งีบ…เอ้ยยย…นั่ง มุมไหนดี ^Q^)
• ข่าวเหตุการณ์ ข่าวกิจกรรม ของห้องสมุด พร้อมทั้งมีเนื้อหา เช่น วิดีโอที่ให้ download ได้
• ทางเลือกสลับการดู mobile mode กับ normal mode
สำหรับอิฉัน ไหนๆ มีอะไรๆ ให้ตั้งเยอะแระ
ถ้าจะมี M-Libraries ที่หวังให้เป็น anywhere anytime learning แล้ว
อิฉัน อยากเห็นการ Survey Anyplace ขอหลายๆ issue ตามวาระโอกาสนะฮ๊าาาา
ไม่เอาแค่…แบบว่า…แสงสว่างพอมั้ย แอร์เย็นไปหรือเปล่า นะ นะ นะจ๊ะ ^^
everything จิงกาเบลทั้งหลายอันว่ามาทั้งสิ้น
ก็ใช่ว่าในทุยแลนด์ เอ้ยยย ไทยแลนด์ ของอิฉัน
จะไม่มีผู้นำวงการลุกขึ้นทำ เท่าที่อิฉันค้นหาได้มีพอประมาณ
และคาดว่า ที่กำลังคิด กำลังซุ่มทำ ก็มีอีกไม่น้อย
ซึ่งของพี่ไทยนั้น อิฉันก็มิสันทัดชัดเจนนัก
ระหว่าง libraries App หรือ libraries with mobile sites ดั่งตัวอย่าง
- Library@Mobile ของ มจพ.
อ่าน & ดู แต่ยังมิได้ Do มาตั้งยืดยาวววว เยอะแยะ ยืดย้วยยย
ทั้งแบบเทศ แบบไทย หลายๆ ท่าน คงพอเติมคำในช่องว่างได้ว่า
ทำไมต้อง App ผอ.??
จำเป็นหรือยังกับ M-Libraries??
ห้องสมุดบนโทรศัพท์มือถือตอบโจทย์อะไร??
ก็ในเมื่อทุกวันนี้ เหลียวซ้าย มองขวา
จะรอรถ รอเรือ ไม่เกี่ยวกับลอลิง
หันไปทางไหน ทางไหน ก็เห็นแต่ผู้คนก้มหน้าก้มตาอยู่ในโลก
“สังคมทาถู” อย่างที่น้องปุ๊ระเบิดขวดของอิฉัน ว่าไว้ในบทความ “สถิติดิจิตอล”
เยี่ยงนี้แล้ว
ทำไมต้อง App ผอ.?? จำเป็นหรือยังกับ M-Libraries?? ห้องสมุดบนโทรศัพท์มือถือตอบโจทย์อะไร??
บลา บลา บลา บลา บลา
ส่วนว่าจะทำแบบเก็บเล็กผสม Apps รอความพร้อม
หรือ จัดเต็มแบบ libraries with mobile sites กันเลยทีเดียว
ก็ให้ “ผู้มีหน้าที่” อันนี้ก็คง…ขว้างงูมาฉกคอ อ่ะนะ
เพราะอิฉันก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น อิอิ
ซึ่งก็นะ…โดยส่วนตัว อิฉันมองว่า
ไม่ทำวันนี้ ก็ใช่ว่าจะไม่มีวันมาถึง
เพราะ life style แบบ KRUNGSRI First Choice
ฟิ้วววววว ฟึ่บบบบบบบ ปิ๊บๆ ง่าย เร็ว ทันใจ เขามาแรงจ้ะ ^^
ข้อมูลต้นทาง
http://goo.gl/ARq8Y
http://connect.typlive.com/
https://play.google.com/store/apps/details?id=p.s.t&hl=th
http://library.kmutnb.ac.th/lam.php
http://software.thaiware.com/2260-TK-App.html
http://www.varee.ac.th/th/knowledge-article.php?head=319
http://goo.gl/3pklD