เรื่องของล่าม

19 April 2013
Posted by Pong

เมื่อตอนไปฟังเรื่องลิขสิทธิ์กำพร้า มีล่ามแปลให้ฟัง ที่เราฟังก็ยังไม่รู้เรื่อง เพราะเป็นการแปลคำต่อคำ คนที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อนจะฟังแล้วนึกไม่ออก จึงไม่แปลกใจเลยว่ามีหลายคนบ่นเรื่องกรณีเขาพระวิหาร ที่ล่ามแปลให้ฟังแล้วไม่เข้าใจ ภาษากฏหมายเป็นภาษาที่เข้าใจยาก ยิ่งเป็นการต่อสู่กันในศาล ที่เต็มไปด้วยชั้นเชิงบวกข้อมูลบวกกฎหมาย ขอบอกว่ามึนจุงเบย
เรื่องนี้เคยเล่าให้ฟังแบบผ่านๆ ว่า ล่ามนั้นมีหลายประเภท อ่านประวัติคุณหนูดี วนิษา เรซ บอกว่ามีประสบการณ์ในการอบรม ล่ามตู้ ล่ามต่อเนื่อง และล่ามกระซิบ
ล่ามตู้ ทำให้มองเห็นภาพ เพราะวันที่ไปฟังเรื่องลิขสิทธิ์กำพร้า ล่ามก็นั่งในตู้เล็กๆ ขนาดเมตรกว่าๆ ทำหน้าที่แปลผ่านวิทยุ ส่วนเราก็มาเสียบหูฟัง งานแบบนี้เป้นการแปลแบบสดและทันทีที่ผู้บรรยาย/ผู้พูดดำเนินการบนเวที คนฟังจึงรู้สึก “ดิบ” เพราะยังไม่ผ่านการเรียบเรียนออกมาเป็นภาษาที่สวยงาม
ในเว็บไซต์ของ ศูนย์การแปลและจัดส่งล่ามทีไอเอส ได้จำแนกล่ามออกเป็น 6 ประเภท (http://www.tisprinting.com/type-of-interpreter.php) คือ
1. ล่ามฉับพลัน Simultaneous interpreting ในการทำหน้าที่ในลักษณะล่ามฉับพลัน(Simultaneous interpretation)นั้น ผู้ทำหน้าที่ล่ามฉับพลัน (Simultaneous interpreter:SI) ต้องทำการแปลหรือถ่ายทอดสื่อสารความหมายจากภาษาต้นทาง (Source language) ไปเป็นภาษาปลายทาง (Target language) อย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยที่ผู้พูดภาษาต้นทาง (Speaker) จะพูดต่อเนื่องไปเรื่อยๆโดยไม่มีจังหวะหยุด ซึ่งล่ามจะทำหน้าที่แปลหรือถ่ายทอดภาษาต้นทางจากที่ ผู้พูดภาษาต้นทางในทันที ล่ามฉับพลันในลักษณะเช่นนี้จะต้องนั่งอยู่ในบูธที่จัดไว้เฉพาะล่ามซึ่งมีคุณสมบัติป้องกัน เสียงรบกวนจากภายนอก ล่ามฉับพลันนั้นจะพูดผ่านไมโครโฟนในทันที่ที่ผู้พูดภาษาต้นทางพูดออกมาโดยล่ามได้ยินเสียงผู้พูดผ่านทางหูฟัง ทั้งนี้ผู้ฟังจะได้ยินเสียงที่ล่ามแปลออกมาผ่านทางหูฟัง ล่ามฉับพลันจะต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความเชี่ยวชาญทั้งด้านการฟังและการพูดในภาษาต้นทางและภาษาปลายทางเป็นอย่างสูง รวมถึงมีความรู้ความเชี่ยวชาญในหัวข้อนั้นๆอย่างลึกซึ่งและจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นดีโดยทำการศึกษาหัวข้อที่ทางผู้พูดจะถ่ายทอดออกมาอย่างละเอียดถี่ถ้วนจึงจะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งตรงกับลักษณะของ ล่ามตู้ ข้างต้น
2. ล่ามต่อเนื่อง (Consecutive Interpreting) ผู้ทำหน้าที่เป็นล่ามแบบต่อเนื่องนั้นจะต้องทำหน้าที่แปลหรือสื่อสารเมื่อผู้พูดภาษาต้นทางพูดจบลง โดยทางผู้พูดจะพูดไปประมาณ 3-10 ประโยคและมีจังหวะหยุดให้ทางล่ามต่อเนื่องได้แปลสื่อสารออกมาให้ผู้ฟังได้เข้าใจ ในกรณีที่ผู้พูดภาษาต้นทางพูดยาวหลายประโยคก่อนที่จะหยุดให้ล่ามต่อเนื่องได้แปลนั้น ล่ามต่อเนื่องสามารถที่จะจดบันทึกย่อในสิ่งที่ผู้พูดพูดออกมาเพื่อเก็บรายละเอียดให้ครบถ้วนพร้อมที่จะแปลเนื้อหาทั้งหมดเป็นภาษาปลายทางให้ถูกต้องสมบูรณ์ทันทีที่ผู้พูดพูดจบลง ล่ามต่อเนื่องมักถูกใช้ในงานฝึกอบรมสัมมนา งานติดตั้งเครื่องจักร งานแถลงข่าว งานประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
3. ล่ามกระซิบ (Whispering Interpreting) ล่ามกระซิบจะทำหน้าที่คล้ายกับล่ามฉับพลันแต่ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์อาทิ บูธล่าม ชุดหูฟัง หรือไมโครโฟนแต่อย่างใด เนื่องจากล่ามกระซิบจะนั่งหรือยืนใกล้กับผู้ฟังกลุ่มขนาดเล็ก อาทิ กลุ่มผู้ฟังจำนวน 2-3 คนโดยทำหน้าที่แปลหรือถ่ายทอดภาษาต้นทางเป็นภาษาปลายทางให้ผู้ฟังได้เข้าใจ ล่ามกระซิบมักใช้สำหรับงานประชุมหรืองานสัมมนาที่มีผู้ฟังส่วนใหญ่เข้าใจภาษาต้นทางที่ผู้พูดพูด แต่มีผู้ฟังกลุ่มเล็กที่ต้องการล่ามกระซิบช่วยสื่อสารที่ผู้พูดกล่าวออกมาเป็นภาษาปลายทางที่ตนเองเข้าใจ อันนี้นึกภาพตอนดูข่าวของทางราชการตอน 2 ทุ่มได้
4. ล่ามทางการแพทย์ (Medical Interpreting) ล่ามทางการแพทย์มีหน้าที่ในการสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับคนไข้หรือญาติของคนไข้ให้เข้าใจได้ตรงกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วล่ามทางการแพทย์ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการขั้นตอนทางการแพทย์,ความรู้เกี่ยวกับยา, การสัมภาษณคนไข้, และการทำงานต่างๆในคลินิคหรือโรงพยาบาลที่ตนทำหน้าที่เป็นล่ามทางการแพทย์อยู่เพื่อทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งล่ามทางการแพทย์มักมีหน้าที่โดยส่วนใหญ่ในการประสานงานด้านต่างๆให้กับบุคลากรทางการแพทย์และคนไข้เป็นสำคัญ อาทิ การสอบถามอาการเจ็บป่วย การแนะนำวิธีการรับประทานยา หรือนัดหมายผ่าตัด เป็นต้น
4. ล่ามติดตามตัว (Escort Interpreting) ล่ามติดตามตัวมีหน้าที่ในการติดตามบุคคล คณะบุคคล หรือกลุ่มบุคคลขนาดเล็กเพื่อการเยี่ยมชม หรือการจัดประชุมหรือการสัมภาษณ์เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดสื่อสารให้กับผู้พูดกับผู้ฟังมีความเข้าใจตรงกันหรือทำหน้าที่ประสานงานในด้านต่างๆระหว่างกลุ่มบุคคลต่างๆ
จรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบอาชีพล่าม (http://www.michibee.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=353994)
1. รักษาต้นฉบับ คือต้องแปลให้ตรงกับที่ผู้นำเสนอพูด ไม่มีสิทธิสอดแทรก โดยเฉพาะไม่เพิ่มเติมจนเป็นการอวดรู้กว่าผู้นำเสนอซึ่งเป็นการทำเกินหน้าลูกค้า
2. ไม่เปลี่ยนความหมายของต้นฉบับ ไม่ใส่อารมณ์ หรือการวินิจฉัยส่วนตัวลงไป แต่สามารถตกแต่งภาษาต้นฉบับได้บ้างถ้าบกพร่อง ทั้งนี้ต้องดูว่าผู้ฟังคือใครด้วย
3. รักษาความลับของลูกค้า
4. เคารพคนฟัง เช่น ใช้ภาษาให้เหมาะสมแก่สถานภาพของผู้ฟัง
5. ต้องตรงต่อเวลา ควรไปถึงงานอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง หรือไม่น้อยกว่า 30 นาที เพื่อตรวจสอบเครื่องมือต่างๆ เช่น ไมโครโฟน หูฟัง และมีเวลาอ่านต้นฉบับซึ่งอาจได้รับก่อนเวลาเล็กน้อยได้
6. รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาในการเจรจา ถ้าแปลผิดต้องขอโทษได้
7. ไม่บิดเบือนข้อความที่ต้องแปลเพื่อประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งล่ามการค้าและล่ามในศาล
ทุกอาชีพล้วนน่าสนใจ …

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร