Open..Space..Plearning…TimeLine

10 June 2009
Posted by Somkieat Chatchuenyod

เคยได้นำเสนอแนวคิดและได้มีการทำออกมาเป็นรูปร่างในระดับหนึ่ง คื่อ Open Learning Space ที่อยู่ตรงข้ามกับ 7/11 ซึ่งเป็นรูปร่างที่ไม่ได้คิดมาถึงขนาดนี้ในตอนเริ่มแรก คิดถึงแต่พื้นที่เปิดขนาดหนึ่งที่ไม่ไม่รั้วกรอบขอบเขตกั้นความคิดส้รางสรรค์ที่จะเกิดขึ้น แล้วก็คิดแต่เพียงว่าเมื่อไปเห็นอะไรที่คิดว่าดีจากที่อื่นก็อยากเอามาปรับประยุกต์ใช้ในมหาวิทยาลัยของเราบ้าง เนื่องจากประมาณช่วงสองสามปีที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสทำงานกับศูนย์ไทยกริดแห่งชาติ และก็ได้มีโอกาศเดินทางไปประชุม สัมมนาทั้งในและนอกประเทศบ่อยพอสมควร สิ่งที่ได้ติดหัวติดหูติดความคิดกลับมาเรื่องหนึ่งก็คือการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์ ทั้งบนดิน บนอากาศ (Wireless) บนผนัง หรือมุมต่างๆ ในการให้บริการกับผู้คนทั้วไปโดยเฉพาะนักศึกษาของเรา เพื่อให้มีที่ทำงาน ที่อ่านหนังสือ ที่พักผ่อนและทำกิจกรรมต่างๆ เป็นที่รวมกลุ่มก้อนหรืออาจจะเป็นพบปะของชุมชนเล็กหรือใหญ่ที่จะนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ และคงจะดีถ้าเป็นที่ที่ได้เป็นสัญลักษณ์ให้กับมหาวิทยาลัยที่จะเปิดพื้นที่ทางวิชาการแบบเปิด ให้บริการตั้งแต่การจัดบอร์ดอย่างเป็๋นระบบเป็นวิชาการ มีไกด์ในเรื่องทางวิชาการด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยมาแสดงบนบอร์ดเพื่อให้นักศึกษาได้เห็นภาพ รู้ทิศทางความเป็นไปก็แต่ละคณะ ภาค หรือแม้แต่ ระบบงานต่างๆของฝ่ายต่างๆของมหาวิทยาลัยที่จะมีการพัฒนา ควบคู่ไปกับบรรยากาศของการทำกิจกรรมนักศึกษาที่คลุกคลีตีโม่งกันเพื่อให้เกิดสิ่งสร้างสรรค์ และเป็นสถานที่ที่จะเป็นที่ทดลองสร้างบรรยากาศทางวิชาการแบบเปิดอย่างเปิดกว้าง และพร้อมที่จะรับแนวคิดหรืองานวิชาการและวิจัยหรือความรู้จากบริษัทห้างร้านอื่นๆเข้ามาผสมผสานอย่างตระหนักและรู้เท่าทันด้วยพื้นทางวิชาการ
เคยมีพี่คนหนึ่งได้ให้ข้อคิดและแนะนำว่าถ้าทำได้เหมือนในมหาวิทยาลัยต่างประเทศก็ดี คือเป็นสถานที่ที่เมื่อมีอะไรๆสำคัญมีงาน มีการคิดค้นอะไรใหม่ๆจากนักศีึกษาหรือบุคคลต่างๆทั้งของมหาวิทยาลัยเองและจากภายนอก หรือความร่วมมือต่างๆ  มีสิ่งอะไรที่ค้นพบแล้วต้องการประกาศให้สาธารณะชนได้รับรู้่ ทำไหมต้องไปโรงแรมแพงๆ ทำไหมต้องไปหาสถานที่ที่หรูหรา ความเรียบง่ายและเปิดให้กับชุมชนที่อยู่ใกล้ตัวได้รับรู้เป็นคนแรกนั่นแหล่ะเป็นความคลาสิก สวยงามตามครรลองและสาธารณชนข้างนอกจะได้เข้ามาเห็นส่ิงที่เกิดตามความเป็นจริง บรรยากาศที่ไม่ต้องปั้นเสริมเติมแต่ง น่าจะทำให้เกิดบรรยากาศของความรักและศรัทธาในมหาวิทยาลัยเพราะทุกคนได้เห็นและมีส่วนร่วมและเป็นการมีส่วนร่วมที่ค่อยๆเกิดขึ้นเองตามครรลองธรรมชาติ ตามความสามารถ ตามการสร้างสรรค์ความคิดของแต่ละคน  เรามีผลงานของเด็กมากมายของมหาวิทยาลัยทั้งฝั่ง เด็กศิลป์ และฝั่ง ICT มีผลงานวิจัยอีกบานตะเกียง มีผลงานทั้งศิลป์และวิทยาศาสตร์ ความรู้มากมาย ใครจะช่วยกันนำเสนอให้เห็นภาพรวม ใ้ห้เห็นการนำไปใช้ได้จริงของผลงานนั้น ๆ ให้เห็นการเดินทางและสิ้นสุดของผลงานเหล่านั้น และใครจะเป็นผู้มาช่วยกันกำหนดทิศทางหรือไกด์โครงการต่างๆ ให้เห็นภาพรวมและทิศทางของแหล่งความรู้และแหล่งปัญญาของมหาาวิทยาลัย แล้วนักศึกษา อาจารย์ และสมาชิกของมหาวิทยาลัยจะรู้ได้อย่างไร หรือจะเข้ามามีส่วนร่วมในทางความคิดหรือการทำงาน การทำงานทางวิชาการและวิจัยได้จากตรงไหน หรือจะเริ่มต้นหรือเริ่มจากจุดไหน ที่จะรู้ว่าคนอื่นๆทำอะไรไว้แล้วบ้าง หรือทำถึงตรงไหน หรือยังไม่ได้ทำอะไร หรือจะคิดอะไรต่อไป
ผมคิดว่าบรรยากาศการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้นจากการใช้พื้นที่เปิดให้มีความสนุกผสมผสานของบรรยากาศวิชาการและกิจกรรมที่หลากหลายและเป็นช่วงเวลาอย่างเป็นระบบธรรมชาติ ต้องมีการตระเตรียมจากคน จากสิ่งที่มี สิ่งที่ทำและสิ่งที่อยากจะถามคำถามกับสังคมทั้งภายในและภายนอกว่าความต้องการ ความเป็นไปของสังคมส่วนรวมเป็นอย่้างไร ทำอย่างไรให้กิจกรรมที่เกิดขึ้นมีครบทุกรสชาติและที่ขาดไม่ได้คือการกระตุกเตือนหรือช่วยกันสรุบความคิด ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ให้กับสังคมโดยรวมเพื่อผู้คนให้คิดและมีอะไีรติดหัวกลับบ้านก่อนนอน การแลกเปลี่ยนและการนำเสนอในรูปแบบต่างๆเพื่อให้สอดคล้องการนำเสนอกิจกรรมในองค์รวม ไม่ว่าจะเป็นด้านดนตรีและสันทนาการที่แฝงนัยความหมายกับสิ่งที่จะนำเสนอไม่ว่าจะเป็นปัญหาสังคม การเข้าใจภาษาดนตรีกับคลื่นในกระแสน้ำที่ไหลผ่านชุนชนต่างๆ เช่นตลาดริมแม่น้ำต่้างๆ มีความสัมพันธ์อย่างไรกับความเป็นมาและเป็นไปของเศรษฐกิจทั้งของตลาดเองและกระทบอย่างไรกับการค้าและเศรษฐกิจระบบประเทศหรือระดับโลก คลื่นน้ำและคลื่นดนตรีและการคิดทางเศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์ในทางสมการทางคณิตศาสตร์กันอย่างไหรที่จะอธิบายได้อย่างง่ายและให้ทุกคนเข้าใจ  มีเหตุการณ์อะไรไหมที่เพลงและดนตรีเป็นตัวนำในการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม วัฒนธรรมและปากท้องแล้วมันกระทบอะไรกับเราและสังคมรอบตัวหรือสังคมโลก เสียงเด็กร้องก็กระเทือนถึงเต้านมแม่และเงินในกระเป๋าได้ใช่ไหมพี่ปอง หรือเราจะเพลินกันไปเรื่อยๆตามวันเวลา 8.30 – 16.30
เคยได้ทดลองคุยกับอาจารย์วรพจน์ ท่านรองวิชาการของศูนย์แล้วลองตั้งคำถามกันว่า ถ้าตลาดแห่งหนึ่งมีถนน ขนาบด้านหลัง มีแม่น้ำอยู่่ด้านหน้า ตอนนี้ตลาดกำลังจะตาย ถ้าเราเอาถนนออกเหมือนยกออกจากแผนที่ใน GIS จะเกิดผลกระทบอะไรกับเศรษบกิจขณะนั้น แล้วจะมีตัวอย่างหรือแนวคิดอะไรที่จะนำเสนอและบอกเล่าได้ว่าเศรษฐกิจแบบอาศัยแม่น้ำจะต้องปรับตัวอย่างไร ถ้าไม่มีถนนหรือไม่ใช้ถนนเป็๋นเส้นทางหลัก ถนนก่อให้เกิดปัญหาและความเสียหายมากกว่าทางน้ำแค่ไหนในแต่ละระยะเวลาหรือที่ผ่านมา หรือเราจะจัดการระบบ Logistic การขนส่งอย่างไร ให้ประสานและสัมพันธ์กับระบบคมนาคมที่เรามีอยู่ หรือเราลืมไปแล้วว่าแม่น้ำก็เป็นเส้นทางคมนาคมอย่างหนึ่งที่มีชิวิตและวัฒนธรรมลอยล่องอยู่ด้วย ไม่ใช้เเป็นเส้นทางการเดินทางเหมือนถนนที่เราวิ่งผ่านไปอย่างรวดเร็วแต่ไม่ได้รับกลิ่นไอของน้ำและดินที่ช่วยเสริมชีวิตและวิญญาณของตัวตนและสมการทางเศรษฐกิจที่มีวิถีขีวิตและจิตใจเป็นค่าคงที่สำคัญและไม่แปรเปลี่ยนเพียงแต่ถูกละเลยและทิ้งขว้างอย่างไม่ใยดีแม้ผู้ที่อยู่ติดแม่น้ำนั้นก็ตาม  ในขณะที่พี่ปองกำลังคิดถึง Timeline ในเรื่องการเรียบเรียงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เพื่อหาหรืออยากรู้เพื่อจะตอบคำถามข้อสงสัยที่มี การที่ทุกคนจะลุกขึ้นมาช่วยกันต่อเติม สิ่งที่รู้หรืออยากรู้ สิ่งที่เห็น สิ่งที่มีอยู่ในตัว สิ่งที่ทำและคิดค้นให้มาปะติดปะต่อกันแล้วนำเสนออย่างเพลิด Plearn ซึ่งจะได้เรียนรู้ไปด้วยกันในบรรยากศแบบเปิดๆนั้น น่าจะช่วยต่อเติมเสริมสร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศในการทำงานแบบศิลปากร The Space@SU เป็นโครงการหนึ่งที่น่าจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างและทั้งพี่ปองและพี่แมวก็ช่วยกันเต็มที่ในการผลักดัน โครงการนี้ในส่วนของผมที่ได้นำเสนอมีความต่อเชื่อมกับโครงการ Open Learning Space ที่ได้นำเสนอไป โดยได้คิดภาพรวมถึงลานกิจกรรมแแบบเปิด ให้ขยายพื้นที่ให้เกิดบรรยากาศของการทำงาน ทำกิจกรรมของนักศึกษาและบุคลากร ที่จะมีพื้นที่และเวลาแบบเปิดค่อยเป็นค่อยไป พร้อมทั้งค่อยๆให้ facilities ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และอื่นๆ ในระหว่างรอผลตอบรับและวิถีปฏิบัติของผู้มาใช้งานไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาหรือบุคลากร  The Space@SU อาจจะมีรูปแบบต่างๆ พื้นที่เปิดอาจจะเป็นห้อง เป็นพื้นที่ส่วนใดรอบๆหรือภายในห้องสมุด รอบหรือในศูนย์คอมๆและอาจจะรวมถึงสถาบันวิจัยและพัฒนาถ้าท่านจะเห็นด้วย แต่ส่วนสำคัญคือการเปิดการต่อเชื่อมของความรู้ ความคิด และปัญญาที่จะเป็นตัวช่วยหนุนเสริมสังคมโดยรวม เพราะความรู้ต่างๆ เมื่อนำมาต่อกันใน Timeline แล้วอาจจะได้ระบบ KM ตามธรรมชาติที่มาจากการปฏิบัติจริง คิดต่อและไม่หยุดอยู่นิ่งเฉยของประชาคมโดยรวม เพราะทุกคนน่าจะได้รู้ได้เห็นทิศทางที่จะเดินต่อไปทั้งตนเองและมหาวิทยาลัย
TaKiatShi ไปฝันต่อล่ะ

3 thoughts on “Open..Space..Plearning…TimeLine

  • อยากให้มีคนอย่าง สมเกียรติ ดร.วรพจน์ สมปอง มากๆๆๆ ซึ่งคิดๆๆๆๆ แชร์ความคิด แล้วลงมือทำทันที แม้จะไม่ได้มาก ก็ขอให้ตั้งต้นไว้ก็ยังดี ( เผื่อสำหรับคนสานต่อ) ชุมชนนั้นเจริญขึ้นและยั่งยืนแน่นอน ยิ่งได้ผู้นำ ในที่นี้หมายถึง ผู้นำทุกระดับ มีวิสัยทัศน์ เห็นชอบจากใจจริง สนับสนุนอย่างเต็มความสามารถ เมื่อมีหลายชุมชนที่ทำแล้วทั้งประเทศ ประเทศไทยอยู่ได้ อย่างยั่งยืนและมั่นคงเช่นกัน ไชโย

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร