ไคเซ็น

พักนี้เพื่อนๆ ในวงการทั้งเหนือ ใต้และอีสานบอกว่าต้องเข้าอบรมเรื่องไคเซ็น จนรู้สึกว่าตัวเราผิดปรกติไปรึป่าว
มีความรู้สึกว่าทำไมจึงฮิตนำกลับมาอีกครั้ง จำได้ว่าเคยอ่านหนังสือเรื่องนี้นานหลายปีทีเดียว สมัยที่ตัวเองฮิตอ่านเรื่องเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการพัฒนางาน
เป็นบรรณารักษ์ต้องอ่านมากหน่อย เพราะมักทำอะไรที่นอกเหนือจากวิชาชีพ น่าอิจฉาคนที่เรียนมา เพราะคงไม่ต้องอ่านอะไร พอได้ทำเรื่องแบบนี้ก็ดูว่าเฉลียวฉลาด ทำได้ คิดได้ วิจารณ์น่าฟัง ฟังจนเคลิ้ม ต่อจากไคเซน ก็มาเป็น ลีน เราอ่านจนตาโปนเช่นกันหนังสือที่สั่งจากค่ายวิศวกรรมศาสตร์มีพอสมควร
โลกในการทำงานมีศัพท์แสงทางทฤษฎีมาหมุนรอบตัวเราอย่างอื้ออึง จนต้องปลีกวิวเวกพออ่านไปอ่านมาก็พูดอยู่สองเรื่องคือคนกับการพัฒนางาน
หนังสือที่ฮิตที่คนที่สนใจเรื่องนี้ต้องอ่านคือเรื่อง ไคเซ็นตามวิถีโตโยต้า ซึ่งเค้าบอกกันว่าโตโยต้ามีสองเสาหลักคือ 1) การปรับปรุงอย่างต่เอนื่อง และ 2) การยอมรับนักถือซึ่งกันและกัน
อ่านไว้นานแล้ว พบว่ามีผู้รีวิวิเล่มนี้หลายท่าน แต่ชอบท่านนี้เลยไปคัดลอกและตัดตอนข้อมูลมาจาก http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=book4u&date=03-02-2011&group=9&gblog=17 ความว่า โตโยต้าให้ความสำคัญกับการลงมือทำ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร วิศวกร หรือพนักงานในบริษัทว่าเมื่อคิดอะไรได้หรือมีปัญหาเกิดขึ้น จะลงมือทำหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทันที
ไคเซ็นตามวิถีโตโยต้าเป็นการทำไคเซ็นอย่างผ่อนคลาย มีความสุข และไม่ได้พึ่งพาวีรบุรุษหรือดาวเด่นเพียงคนเดียว แต่เป็นการมุ่งระดมปัญญาความรู้จากพนักงานแต่ละคนมาผนึกรวมเข้าด้วยกันเพื่อการไคเซ็นอย่างต่อเนื่อง ในวิถีโตโยต้ามักมีคำกล่าวว่า “อย่าเป็นเพียงนักวิเคราะห์ปัญหา แต่มาเป็นนักแก้ไขปัญหากันเถอะ
เวลาที่พบปัญหา คนส่วนใหญ่มักเพ่งเล็งจุดอ่อนมากกว่าที่จะมองจุดแข็งที่เป็นผลดีต่อตัวเอง และองค์กร ทำให้มองเห็นแค่เพียงว่ามีจุดอ่อนอยู่กี่จุด และรับรู้ว่าเกิดปัญหาขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ได้ลงมือแก้ไข จึงทำให้ไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงจุดอ่อนดังกล่าวได้ สิ่งสำคัญคืออยากให้คิดว่า “ทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนแปลงได้” ซึ่งเป็นลักษณะที่แท้จริงของนักแก้ไขปัญหา
………………..
ย่อหน้าสุดท้ายเราแปลความตามประสาเราว่า หากมีปัญหา ในบางครั้งเราพยายามหาเหตุผลเพื่อปกป้องตัวเอง อาจทำให้เรามองไม่เห็นทางเล็กๆ ที่ไปถึงปลายทาง หรือ บางครั้งเราพยายามหาเหตุผลเพื่อปกป้องตัวเอง อาจทำให้เราคิดไปเองว่าคนนั้นมีขวากหนามมากมาย
การนำหลักเกณฑ์ของไคเซ็นมาใช้ในการทำงานมีด้วยกัน 3 ข้อ คือ
1. ลด หมายถึง ลดสิ่งที่ไม่จำเป็น สิ่งที่ซับซ้อน ทำให้เกิดความสูญเปล่า
2. เลิก หมายถึง เลิกในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อเป้าหมายของเรา
3. เปลี่ยน หมายถึงการเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตไปในทิศทางที่ดีขึ้น
ไคเซ็น หรือระบบอะไรก็แล้วแต่ หากนำเข้ามาในองค์กรมักจะมีข้อจำกัด อาจารย์ทองพันช่าง พงษ์วารินทร์ เขียนเรื่อง ปลดล๊อคไคเซ็นไว้น่าสนใจ ซึ่งสามารถนำมาเทียบเคียงกับชีวิตของพวกเราได้แม้ห้องสมุดเราจะไม่ทำเรื่องไคเซ็น http://www.bt-training.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539118981&Ntype=1
ลองอ่านดูนะคะ ส่วนในวงเล็บสีแดงเป็นความคิดเห็นของดิฉัน)
1. คิดเรื่องที่ทำไม่ได้ – ใช้ใบรายการตรวจสอบเพื่อค้นหาข้อเสนอแนะ  (ที่เราทำมีเพียบจ้า ถามได้จะบอกให้)
2. ไม่มีเวลา – หัวหน้าควรจัดเวลาและสถานที่ให้กับพนักงานได้คิดและเขียน (ใช้เวลาศึกษาเรียบรู้ด้วยตัวเองให้คุ้มค่า)
3. มองว่าเป็นเรื่องยาก – หัวหน้าควรทำความเข้าใจ และสร้างทัศนคติที่ดีต่อการดำเนินกิจกรรมข้อเสนอแนะ (ยังไม่ได้เริ่ม อย่าสร้างกำแพงให้ตัวเอง)
4. เขียนไม่เก่ง – หัวหน้างานควรให้ความช่วยเหลือ และแนะนำเพื่อการฝึกฝน (ฝึกค่ะฝึก ให้เพื่อนช่วยอ่าน อย่าคิดว่าเพื่อนเขียนใหม่ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ดี อย่าแม้เพียงแต่คิดว่าจะใช้มือปืนรับจ้างหรือใช้ ghost writer)
5. เกณฑ์การประเมินสูงเกินไป – ควรกำหนดเกณฑ์ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับความยากง่ายในแต่ละหัวเรื่องและทำความเข้าใจกับพนักงาน (นำเสนอได้ทุกปีอยู่แล้ว)
6. แรงจูงใจน้อย – ควรมีการให้รางวัล ที่เหมาะสม เช่น เงิน ใบประกาศ และเพิ่มไปยังหัวข้อการประเมินผลงานประจำปี (คิดบวก- หน่วยงานมีอยู่ อาจจะน้อยในความรู้สึกแต่ยังดีกว่าไม่มีเลย)
7. ไม่เข้าใจวิธีการเขียน – หัวหน้างานควรมีตัวอย่างการเขียนที่ดี และถูกต้องมอบให้กับพนักงานทุกคน และอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้พนักงานได้นำไปศึกษา (ทำตามข้อ 4)
8. คิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่น่าทำ – ทำความเข้าใจ กับพนักงานถึงการเขียนเรื่องที่สามารถเขียนได้พร้อม ยกตัวอย่างให้พนักงานเข้าใจ (สมมุติว่าฉันเป็นเขา)
9. คิดว่าเป็นการเพิ่มงาน – ทำความเข้าใจเรื่องการทำงาน และการปรับปรุงงาน เป็นของคู่กันคนที่ประสบความสำเร็จนั้นเขาก็จะทำงาน ไปพร้อมกับการปฏิบัติงานประจำด้วยเสมอ (พยายามทำงานทุกอย่างให้เนียนอย่าคิดเป็นต่อนๆ)
10. เขียนแล้วรู้สึกเหมือนเป็นหน้าที่ประจำ – ทำความเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำ และสมควรทำอย่างยิ่ง เพราะประโยชน์ที่ได้จากการทำไคเซ็นก็เพื่อตนเองและหน่วยงาน (ถ้าไม่เขียนก็ไม่มี ถ้าไม่มีก็เป็นปัญหา)
11. ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นปัญหาหรือไม่ – หัวหน้างานควรสอน และปลูกจิตสำนึกในเรื่องการมองสิ่งรอบตัวว่าคือเรื่องที่ควรปรับปรุง และอย่างมองว่าปัญหาคือเรื่องปกติ (ลางสังหรณ์คือประสบการณ์)
12. หัวหน้างานลืมทำ – หัวหน้างานควรบันทึกข้อมูลต่างๆ และกำหนดแผนงานเพื่อนำไปสู่การเขียนก่อนเริ่มงาน (จดสิคะ ใช้วิธีทบทวนงานตั้งแต่เช้าจนเราก้าวออกจากที่ทำงานว่าเราทำอะไรไปบ้าง)
13. การตั้งเป้าหมายเรื่องสูงเกินไป – กำหนดเรื่องให้เหมาะสมกับความสามารถของพนักงาน (เสนอตวามเห็นค่ะ)
14. กลัวไปซ้ำกับคนอื่น – ควรแสดงเรื่องต่างๆที่มีคนทำให้พนักงานได้ทราบ (อย่าทำเรื่องงานให้เป็นความลับ กระจุ๊กกระจิ๊กในกลุ่มคนอื่นเค้าไม่ทราบด้วย)
15. ไม่รู้ความหมายของไคเซ็น – ควรจัดอบรม หรือส่งเสริมกิจกรรมเพื่อให้ความรู้กับพนักงานทั้งเก่า และใหม่ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (หาอ่านเองดีก่า)
“ไคเซ็น” ยังไงไม่รู้ แต่ที่รู้ๆ  “ใครเซ็น” น่ะสำคัญ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร