ป้าหมาก…ป้าหมาก บ
ในภาระกิจของฝ่าย / งานต่างๆ เมื่อเริ่มต้นปีการศึกษาขึ้นมา
เชื่อว่าบางคนอาจมีเมกะโปรเจคที่วางไว้ชิวๆ อยู่ในใจ ชนิดหลายร้อยเมกะไบต์
…เอิ่มมมมมม จาเยอะไปหนายอ่ะ ^^
และก็เชื่อว่าอีก “บาง” หรืออาจจะ “หลาย” คน
อาจยังไม่นึก ไม่คิด หรือ คิดไม่สะเด็ด ว่าจะทำโครงการอะไรดี
ทำโครงการใหม่เลยมั้ย
หรือ ทำโครงฯ เดิมๆ อยู่ดีฟ่า…(ดีฟ่ามั้ย?? อันเน้ก็ม่ายยยรุ๊ หุหุ)
สำหรับตัวอิฉันเองเป็นพวกที่ออกจะค่อนไปทางไฮเปอร์
วงเล็บโตๆ (เฉพาะด้านความคิด)
เพราะชอบคิดๆ ๆๆ ๆ ๆ ๆๆๆๆ (แต่ทำมั่ง ไม่ทำมั่ง ฮาาาาาาาา)
คิดจนเด็กๆ ที่บ้านค่อนขอดเอาเวลาจะทำอะไรมากเรื่องว่า…มันยากไปมั้ยแม่
แหมนะ…ก็ถ้ามันจะต้องยาก ก็ต้องยากน่ะ ทำง่ายไม่ถนัด น่ะ ^^
เรื่องของเรื่องก็คือว่า
ปีนี้ อิฉันตั้งอกตั้งใจที่จะเก็บข้อมูลเรื่องผ้าท้องถิ่น
แน่นอนที่ซู้ดดดดด ก็ต้องเป็นผ้าในภาคตะวันตก
เพราะเป็นงานที่อิฉันต้องทำมาหากิน
ทำไมต้องผ้า??
นั่นสิ…ทำไม
คำตอบง่ายๆ ก็อาจจะพอบอกได้ว่า “โหน” กระแสอาเซียน
คำตอบยากๆ ก็บอกได้เพียงว่า “อยากอนุรักษ์” ภูมิปัญญาพื้นถิ่นเอาไว้
จะไหวรื้อออออออ … นั่นน่ะสิ จะไหวมั้ย จะได้อะไรแค่ไหน
ไม่เริ่ม ไม่ลอง … ไม่รู้หรอก จริงมั้ย??
จึงมิพักชักใย ให้เรือล่ม
อ้าวววววววว เอ๊ะ ยังไงนี่ !!
เป็นว่าเมื่อตั้งเข็มไปแล้ว ก็จะต้องเริ่มคุ้ยเขี่ย เสาะสืบ หาข้อมูล
เบื้องต้นก็ปั่นหัว ปั่นก้อย เพื่อเลือกชัยภูมิใน ๘ จังหวัด
เพื่อตกลงปลงใจว่าอิฉันจะเริ่มโครงการระยะแรกที่พื้นที่ใด
เมียงๆ มองๆ เพื่อนๆ ใกล้ตัว พ้นจากเมืองยอดแหลมของอิฉันไป ก็ให้รู้สึกว่า
เมืองโอ่งพญาภุชคินทร์ เอ้ยยย เมืองโอ่งมังกรก็น่าสน
เมืองด่านเจดีย์ของพ่อแผนก็ไม่เลว
แต่ด้วยช่วงเวลาที่มีไม่มาก ผนวกกับข้อมูลพื้นฐานที่เผยแพร่พอจะค้นหาได้
ทำให้อิฉันต้องมุ่งหน้าสู่เมืองแคว้นโบราณ ด่านเจดีย์สามองค์
สิ่งที่มีติดมือไป มีเพียงรายชื่อกลุ่มทอผ้า ที่มีชื่อผู้ทอพร้อมเบอร์โทร
ซึ่งอิฉันเลือกที่จะไปทางบ้านหนองขาว ซึ่งเป็นถิ่นผ้าขาวม้าเลื่องชื่อ
ที่มีหลากสียิ่งกว่าลูกกวาดนับจำนวนเป็นร้อยๆ สี
เมื่อรถยนตร์เริ่มเข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย
อิฉันก็เริ่มภาระกิจตลุยโทร และโทร และโทร และโทร เพื่อให้ไปถูกที่ทาง
เป้าหมายแรกของอิฉันก็คือ “ป้าหมาก”
ด้วยความมั่นอกมั่นใจว่า(น่าจะ)มีการพิมพ์ชื่อผิด
จึงพูดคุยเอ่ยนามสอบถามเส้นทางไปเสร็จสรรพทางโทรศัพท์
ที่ฟังรู้เรื่องมั่งไม่รู้เรื่องมั่ง ทั้งการกวนจากคลื่นสัญญาณโทรศัพท์และคลื่นเสียงในหูตามวัย
เมื่อไปถึงที่ศูนย์จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง บริเวณด้านหน้าของวัดอินทาราม ซึ่งนับเป็นศูนย์กลางชุมชน
ปรากฎว่ามีคณะชาวบ้านเตรียมรอรับคณะถ่ายทำรายการ
ตะแรกก็เกรงว่า ลุงๆ ป้าๆ จะวิ่งมาต้อนรับขับไล่ จึงสงบเสงี่ยมเตรียมตัวลงไปพบ “ป้าหมาก” ของอิฉัน
รอจนพักใหญ่ราวครึ่งชั่วโมงเกิน “ป้าหมาก” ของอิฉันจึงปรากฎตัว
จึงได้พูดคุยสอบถามในเบื้องต้น ถึงข้อมูลต่างๆ รวมทั้งระยะเวลาที่จะลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล
“ป้าหมาก” เป็นคนคุยสนุก แกเล่าทั้งเรื่องงานของกลุ่มฯ ผสมกับเกล็ดเรื่องนั้นนี้รวมทั้งเรื่องส่วนตัว
และได้เล่าถึงที่มาของจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านทอผ้าหนองขาวขึ้น
ป้าเล่าว่าประมาณปี 2542 -2546 รัฐมีโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว
เพื่อพัฒนาอาชีพและกระจายรายได้ สู่หมู่บ้านอุตสาหกรรมในชนบท
โดยเป็นโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับ ททท. ที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนกู้ยืมจากรัฐบาลญี่ปุ่น
ให้ทุนเพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารศูนย์กลางชุมชน
เพื่อจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง ของที่ระลึก รวมทั้งจัดแสดงหัตถกรรมและวิธีการผลิต
ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว สือมวลชนต่างๆ ก็มักจะพากันลงพื้นที่
โดยไม่เว้นแม้คุณคำรณ หว่างหวังสี เมื่อครั้งที่ไปถ่ายทำรายการก็เป็นการจุดประกายแห่งที่มาของ “นาม” ผ้าขาวม้า
ด้วยเห็นว่าผ้าขาวม้าบ้านหนองขาว ซึ่งใช้วิธีซื้อวัตถุดิบ คือเส้นใยสำเร็จรูปหลากสีจากโรงงานมาทอนั้น มีสีสันที่หลายหลากมากมาย
จากการกระเซ้าเหย้าหยอกตามแบบฉบับของคุณคำรณที่ให้ฉายาผ้าขาวม้าหลากสีของบ้านหนองขาวว่า “ผ้าขาวม้าร้อยสี” นั้น
เป็นเหตุให้นับแต่นั้นมาผ้าขาวม้าบ้านหนองขาว ได้ถูกกล่าวขวัญรู้จักโด่งดังในนาม “ผ้าขาวม้าร้อยสี” มาจนปัจจุบัน
ระหว่างที่อิฉันพูดคุยอยู่นั้น “ป้าหมาก” ก็คงให้ขัดใจ และคาดว่าคงสักพักใหญ่ๆ แล้ว
ป้าจึงเอื้อนเอ่ยกับอิฉันขึ้นว่าว่า “อีหนู เรียกป้าว่า “หมา…กบ” ดีกว่า ชื่อที่เอ็งเรียกน่ะป้าไม่คุ้น”
อ้าววววววววววววววววววววว ไหงงั้น
ว่าแล้ว “ป้าหมากบ” ก็เฉลยให้ฟังว่า
คนในคุ้งหนองขาวรุ่นราวคราวป้าขึ้นไปน่ะ ทุกคนจะมีชื่อตัวที่ขึ้นต้นด้วย “หมา” ทุกคน
อิฉันก็ถึงกับเงิบบบบ และก็อดไม่ได้ที่จะต้องซัก
ป้าหมากบจึงเล่าให้ฟังว่าการตั้งชื่อหมานำนี้ เป็นเคล็ดของคนโบราณ
ที่ตั้งชื่อลูกให้น่าเกลียด น่าชัง เพื่อจะได้เลี้ยงง่าย และปลอดภัยผีไม่มาเอาตัวไป
ง่ะ!!! คนเมืองกาญฯ บ้านป้ามี “หมา” แล้วชื่อตาม
แต่ป้าข้างบ้านหนูที่ตลาดยอดแหลมแกชื่อ “หมา” ล้วนๆ เลยอ่ะป้า
ยั่งงี้จะโดนผีเกลียด หรือจะโดน “หมา” ตัวจริงฟัดเอามั้ยอ่ะ ^^
One thought on “ป้าหมาก…ป้าหมาก บ”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
หลายจังหวัดมีคนทำผ้าประจำท้องถิ่น ตอนนี้มีความรู้สึกอยากให้นครปฐมมีผ้าทอบ้าง หลังจากสืบสาวราวเรื่องจนพบว่ามีอาจารย์ที่โรงเรียนราชินีบูรณะทำผ้าลายทวาราวดี ยังเคยเอาลายมาให้พี่แมวดู ปีก่อนๆเห็นเคยนำมาจัดนิทรรศการที่หน้าพิพิธภัณฑ์ฯ ตอนงานองค์พระฯ น่ะ หากสนใจน่าจะย้อนลอยตามได้ไม่ยาก
ปล.อิฉันตั้งใจอ่านนะเนี่ย