ฟาย เอย ฟาย … ฟอกซ์ …. ฟล็อก

ฟายเอยฟาย แต่ไม่ใช่ฟายที่ไปตามเดินถือของให้น้องหมานะครับ ฟายนี้มีประโยชน์กว่าเยอะ ฟายที่ว่าคือ ฟายฟอกซ์ หรือ ไฟร์ฟอกซ์ (Firefox) บางคนเรียกว่า หมาไฟหรือจิ้งจอกไฟมีประวัติมานานพอสมควรในการต่อกรกับเว็บบราวเซอร์ตัวอื่นๆเช่น IE (Internet Explorer), Safari, Opera, Konqueror Firefox หรือชื่อเรียกเต็มๆว่า Mozilla Firefox เป็นเว็บบราวเซอร์ใช้สำหรับเล่น ทำงานและท่องโลกอินเตอร์เน็ต มีพี่น้องคลานตามกันมาหลายตัวจากพ่อแม่เดียวกันคือ Mozilla เช่น ฟล็อก (Flock) ซึ่งเป็นเว็บบราวเซอร์สำหรับชุมชนเครือข่ายออนไลน์ และเว็บบราวเซอร์ตัวอื่นๆอีกมากมายจาก Mozilla และนอกจากนี้ Firefox ยังมีชุมชนที่ได้สร้างและพัฒนาออปชันเพื่อช่วยในการเล่น ทำงานและท่องโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างสนุก จัดการข้อมูลที่ต้องการได้ดังใจ ตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ในหลายรูปแบบ ตั้งแต่การเปลี่ยนตีม (Theme) ของตัวเว็บบราวเซอร์เอง เช่น Eco-Edition เป็น Theme สำหรับเว็บบราวเซอร์ Flock ที่มาพร้อมกับจักรกลค้นหาข้อมูลหรือ Search Engine ที่มีคำหรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม โลกสีเขียวฝังมาด้วยทำให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลในเรื่องโลกและสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง
เว็บบราวเซอร์เป็นเครื่องมือสำคัญที่มีการใช้มากที่สุดบนโลกอินเตอร์เน็ต ทั้งที่ความจริงการทำงานและการจัดการข้อมูลบนโลกอินเตอร์เน็ตมีอีกหลายช่องทางแต่เว็บบราวเซอร์ก็นำหลายช่องทางนั้นมาทำงานผ่านตัวมันไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายไฟล์หรือข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรือข้ามโลก จนถึงการจัดการเล่นสื่อต่างๆ เช่นหนัง เพลง และอื่นๆ ผ่านเว็บบราวเซอร์ โดยที่ต้องมี Add-ons และ Plug-ins มาต่อเติมเชื่อมกับเว็บบราวเซอร์ เพื่อช่วยในการเล่นสื่อนั้นๆ เช่นผมชอบเพลง I’m yours เมื่อลองค้นหาผ่าน Google เราก็จะเจอเว็บไซต์ที่แสดงชื่อเพลงจากการค้นหาเป็นวีดีโอหรือเพลงจาก Youtube แต่เมื่อเราต้องการจะเล่นเพลงนั้นเราก็ต้องคลิกเข้าไปที่ Youtube หรือเลือกเว็บอื่นๆที่มีเพล ง I’m yours ไว้บริการ และเว็บไซต์นั้นๆอาจต้องใช้โปรแกรมในการเปิดเพลงที่แตกต่างกันไป ซึ่งต้องไปเสาะหาหรือเว็บไซต๋นั้นจะแนะนำโดยปะลิงค์ไว้ในหน้าเว็บไซต์หรือเว็บบราวเซอร์จะบอกและลิงค์ไปที่โปรแกรมที่จะใช้ในการเล่นเพลงอย่างอัตโนมัติ ส่วนใน Firefox นั้นมีการลิงค์ไปยังโปรแกรมที่ต้องใช้ในการเปิดหรือเล่นไฟล์นั้นและเพียงตามขั้นตอนการติดตั้งก็จะสามารถเปิดไฟล์นั้นที่ต้องการได้
plug-in และ add-on ที่ Firefox มีให้บริการเป็นพันเป็นหมื่นทั้งที่อยู่ที่เว็บไซต์ Firefox.com เอง และเว็บไซต์อื่นๆที่พัฒนาต่อเติมจากบนพื้นฐาน Firefox หรือจับมือร่วมกับ Firefox เช่น Google , YouTube และอื่นๆ เพื่อทำให้ Firefox สามารถเข้าถึงและทำงานกับข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และตรงกับข้อมูลที่ต้องการ และเรียกหาโปรแกรมที่จะจัดการข้อมูลนั้นได้อย่างถูกต้อง อย่างกรณี YouTube นั้น ก็มี add-on ที่ชื่อ GoogleTube ซึ่งเมื่อติดตั้งแล้วหลังจาก Restart (เปิดปิด) Firefox แล้วลองค้นหาเพลงหรือหนังจาก Google แล้วถ้าเพลงหรือหนังนั้นลิงค์ไปที่ YouTube เราก็จะเห็นสัญลักษณ์ YouTube ต่อจากที่ลิงค์ที่จะไปที่ YouTube และเราก็เพียงแต่คลิกบนสัญลักษณ์นั้นก็จะขึ้นหน้าต่างเล็กๆที่จะเล่นเพลงหรือหนัง ณ ตรงหน้าเว็บที่แสดงผลการค้นหาจาก Google นั้นเลยโดยไม่ต้องคลิกลิงค์ไปยังหน้าเว็บ YouTube เลย
Add-ons, Plug-ins และ Extension และอื่นๆของ Firefox มีให้เลือกมากมายแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ในหลายด้าน เช่น Social & Communication, Download Management , Web Development และอื่นๆ โดยเข้าดูได้จากลิงค์ https://addons.mozilla.org/en-US/firefox/ เมื่อเจอ add-ons ใดน่าสนใจก็คลิกที่ปุ่ม Add to Firefox รอจนมันขึ้นให้ Restart Firefox ก็เป็นอันเสร็จการติดตั้งซึ่งไม่น่ายากสำหรับผู้ใช้แต่อย่างไรเพียง ลองมาทดลองเล่นเพื่อช่วยกันค้นหาโปรแกรมเสริมการใช้อินเตอร์บน Firefox สำหรับหรือที่จะนำมาประยุกต์ปรับใช้กับระบบงานหรือการให้บริการของห้องสมุด เพื่อความเหมาะสมในการให้บริการหรือเป็นแนวทางในการสร้างและพัฒนา Services ต่างๆ ให้กับเครือข่ายห้องสมุดต่อไป อย่างเช่นบริการหรือ Service ที่เคยยกตัวอย่างคือ LibX ที่เป็น plug-in ที่จะเป็นรูปแบบช่องใส่ข้อมูลที่ต้องการค้นหา Search bar บน Firefox และมีเวอร์ชันสำหรับ IE ด้วย LibX ใช้สำหรับการค้นหาหนังสือโดยใส่ข้อมูลลงในช่องของ Plug-in แล้วสามารถกดปุ่มให้ค้นหาหนังสือโดยไม่ต้องไปที่หน้าเว็บไซต์ของห้องสมุดที่ให้บริการนั้นแต่อย่างใด ตัวอย่างห้องสมุดที่ให้บริการ LibX เช่น K-State Library , Duke Library , และ University of Michigan เป็นต้น งานบริการอื่นๆที่คิดว่าน่าจะใช้ตัวช่วยจากเว็บบราวเซอร์ไม่ว่าจะเป็น Firefox, IE หรือ บราวเซอร์ตัวอื่นๆก็ลองเสนอแนะ คิด บอกกันหน่อยนะครับ แล้วจะได้หามาทดลองดูกันเพื่อจะได้ช่วยกันดูทิศทางและแนวทางในการพัฒนาบริการของห้องสมุดต่อไป
TaKiatShi เอง

2 thoughts on “ฟาย เอย ฟาย … ฟอกซ์ …. ฟล็อก

  • เจ้าแม่ plug ins ยกให้คุณเอกอนงค์ เพราะของจะอลังการมากจริงๆ

  • อ่านแล้วลืม ต้องจดด้วย มันจำไม่ได้ ไอทีไอเกียรติ (ไม่ใช่ไอ้นะ ไอหรืออ้ายเกียรติแบบเจียงใหม่นะ) ป้าแมวพยายามอ่าน แล้วจำ สรุปจำไม่ได้ ต้องมีสมาธิขอเวลาหน่อยนะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร