อ่านหนังสือวันละเล่ม "50 ปี 50 ประเด็น ถาม – ตอบกรณีปราสาทพระวิหาร"

ได้อ่านหนังสือคู่มือฉบับกระเป๋าที่่กระทรวงการต่างประเทศได้รวบรวมคำถามจากประชาชนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จัดพิมพ์เพื่อมุ่งหวังที่จะคลี่คลายความสงสัยและทำความเข้าใจในทิศทางเดียวกันก่อนที่คณะต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารของไทย นำทีมโดยนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชฑูต ณ กรุงเฮก ในฐานะผู้แทนไทย จะเดินทางไปให้ข้อมูลทางวาจาต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตามที่กัมพูชาได้ยื่นขอตีความอาณาบริเวณพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 15-19 เมษายน 2556 ที่ประเทศเนเธอรแลนด์
คู่มือเล่มนี้มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ     ขอคัดเลือกคำถามที่สงสัย
คำถาม ทำไมไทยต้องไปต่อสู้คดีการยื่นตีความดังกล่าวในศาลโลก คำตอบคือ การยื่นคำขอต่อศาลโลกของกัมพูชาในครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีใหม่ แต่เป็นการขอให้ศาลตีความคดีเก่า ที่ศาลได้ตัดสินไปแล้วเมื่อปี 2505
ถ้าไทยปฏิเสธที่จะต่อสู้คดีในศาลโลก กัมพูชาสามารถเรียกร้องให้ศาลตัดสิน บนพื้นฐานของคำขอ คำให้การและเอกสารประกอบของฝ่ายกัมพูชาฝ่ายเดียวได้ ซึ่งเมื่อศาลมีคำตัดสินออกมาก็จะมีผลผูกพันไทยด้วย
ถามต่อ “ข้อต่อสู้ของไทยมีอย่างไร” คำตอบ คือ มี 2 ส่วน คือ การคัดค้านคำขอให้มีมาตรการชั่วคราว และข้อต่อสู้ในคดีตีความซึ่งเป็นคดีหลัก
การคัดค้านคำขอให้มีมาตรการชั่วคราว
1.  ศาลโลกไม่มีอำนาจเบื้องต้น (Prima facie jurisdiction) เนื่องจากไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกครบถ้วนแล้วรวมทั้งไม่มีข้อพิพาทในประเด็นที่กัมพูชายกขึ้น นอกจากนี้ คำขอของกัมพูชาไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับประเด็นในสาระสำคัญของข้อพิพาท
2.  ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะทำให้ศาลโลก ต้องมีคำสั่งออกมาตรการชั่วคราว เนื่องจาก
–  ขณะนี้กลไกคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา (JBC) คณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย – กัมพูชา (GBC) และการระงับข้อพิพาทโดยกลไกภาคีโดยมีอาเซียน (ASEAN) สนับสนุน มีความคืบหน้าดี และ
–  เหตุปะทะตามแนวชายแดนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือน เมษายน 2554 ซึ่งกัมพูชากล่าวอ้าง เกิดขึ้นที่บริเวณปราสาทตาเมือนและปราสาทตาควาย ซึ่งอยู่ห่างจากปราสาทพระวิหาร 158 กิโลเมตร และ  147 กิโลเมตร ตามลำดับ
3.  คำขอของกัมพูชาเป็นด่วนสรุป กล่าวคือ เป็นการตัดสินเรื่องสารัตถะของคดี ทั้งๆ ที่ศาลยังไม่ได้ตีความ (คดีหลัก)
การคัดค้านคำขอให้พิจารณาคดีตีความ
ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาและกัมพูชาไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากคำฟ้องของกัมพูชาไม่ใช่คำขอตีความคำพิพากษาเก่าตามที่กัมพูชาอ้าง แต่เป็นการฟ้องคดีใหม่ที่เกี่ยวกับข้อพิพาทใหม่ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อ 5-6 ปี มานี้ เพราะกัมพูชาต้องการขึ้นทะเบียนปราสาทเป็นมรดกโลก จึงเกิดข้อพิพาทใหม่เรื่องเส้นเขตแดนซึ่งอยู่นอกขอบเขตของคดีเก่าเมื่อปี 2505 และเป็นเรื่องที่จะต้องเจรจากันในกรอบของ เจบีซีตามบันทึกความเข้าใจปี 2543 ซึ่งการฟ้องคดีใหม่ไม่อาจทำได้เพราะไทยไม่ได้รับอำนาจศาลแล้ว ดังนั้น คำฟ้องของกัมพูชาจึงเป็นการใช้กระบวนวิธีพิจารณาความไปในทางมิชอบ (deournement de procedure)
ไทยและกัมพูชาไม่มีข้อพิพาทในเรื่องการตีความคำพิพากษาในคดีเดิม คำฟ้องปัจจุบันของกัมพูชาเป็นการเปลี่ยนท่าทีรื้อฟื้นเรื่องที่จบไปตั้งแต่ปี 2505 แล้ว เพราะกัมพูชาได้ยอมรับอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปีนั้นว่าไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้ว โดยไทยได้ถอนกำลังและเจ้าหน้าที่ออกจากปราสาทพระวิหารและบริเวณใกล้เคียง ปราสาทตามขอบเขตที่กำหนดโดยมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 กรกฎาคม 2505 ซึ่งสอดคล้องกับขอบเขตของพื้นที่ในคดีเดิมตามความเข้าใจทั้งของคู่ความและของศาล
คำฟ้องของกัมพูชาเป็นเสมือนการอุทธรณ์ที่ซ่อนมาในรูปคำขอตีความ ซึ่งขัดธรรมนูญศาลและแนวคำพิพากษของศาลเรื่องการตีความ เนื่องจากกัมพูชาขอตีความคำพิพากษาส่วนที่เป็นเหตุผล ไม่ใช่ส่วนที่เป็นคำตัดสิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขอให้ศาลตัดสินสิ่งที่ศาลได้เคยปฏิเสธที่จะตัดสินให้แล้วอย่างชัดแจ้งเมื่อปี 2505 เนื่องจากอยู่นอกขอบเขตของคดี คือ หนึ่ง เส้นเขตแดนอยู่ที่ไหน และสอง แผนที่ผนวกคำฟ้องของกัมพูชาที่กัมพูชาเรียกว่า “แผนที่ผนวก 1′ นั้นมีสถานะทางกฏหมายอย่างไร
ดังนั้น ไทยจึงเห็นว่าศาลไม่มีอำนาจพิจารณาและไม่อาจรับคำของกัมพูชาได้ หรือหากศาลเห็นว่ามีอำนาจและรับคำ ก็ไม่มีเรื่องที่จะต้องตีความ หรือหากศาลเห็นว่ามีอำนาจและรับคำขอให้ตีความ ก็ควรตัดสินว่าคำพิพากษาศาลในปี 2505 มิได้ตัดสินว่าเส้นเขตแดนเป็นไปตาม “แผนที่ภาคผนวก 1”
คำถามต่อ ถ้าไทยหรือกัมพูชาไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินของศาล ศาลจะมีมาตรการบังคับอย่างไรและจะมีผลทางกฎหมายตามาอย่างไรบ้าง
คำตอบ ศาลโลกไม่มีอำนาจหน้าที่บังคับคดี แต่ไทยและกัมพูชาต่างสามารถขอให้คณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาออกมาตรการใดๆที่เห็นสมควรและไม่ขัดกฎบัตรสหประชาชาติ เพื่อบังคับคดีได้
ผู้อ่านหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อมีการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน  ในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ระดับผู้นำประเทศ ตกลงกันได้  เพียงแต่ขอให้เรามีความอดทน
เรื่อง 50 ปี 50 ประเด็นถาม-ตอบ กรณีปราสาทพระวิหารยังมีอีกหลายประเด็นที่ได้อธิบายไว้    ผู้ที่สนใจสามารถ Download เอกสารได้ที่
http://www.mfa.go.th/main/th/news
 
 
 
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร