เรื่องของ ฎ และ ฏ

1 April 2013
Posted by Ekanong Duangjak

:mrgreen: หลังจากรับภาระหน้าที่การตรวจความถูกต้องของการลงรายการบรรณานุกรมมาครบ 3 รอบการประเมินแล้ว และด้วยสายตาที่เริ่มเป็นคนที่มองไกล การตรวจความถูกต้องจากหน้าจอคอมพิวเตอร์บางครั้งก็ต้องดูแล้วดูอีก หลายรอบ เพราะตัวอักษรที่ปรากฎในระบบห้องสมุดอัตโนมัติบางตัวก็ช่างคล้ายคลึงกัยเหลือเกิน เช่น ตัวอักษร กับ หรือ ตัวอัการ กับ และโดยเฉพาะตัวอักษร กับ ที่บางที่ก็มองผิด เอะ? หรือว่า คนพิมพ์เค้าพิมพ์ผิดกันแน่ 🙄
โดยเฉพาะ ตัวอักษร กับ เคยคุยกับพี่ๆ เพื่อนๆ บรรณารักษ์ ต่างสถาบันพบว่า เป็นเรื่องที่น่าปวดหัว ปวดใจ แก้ไขอย่างไรก็ไม่สะอาด ต้องหมั่นคอยตรวจสอบข้อมูลในฐานฯ อยู่เสมอ
ดังนั้นวันนี้เรามาหาความรู้เรื่องของ คำที่ใช้ตัว หรือ สะกด กันดีกว่า  😆
ตัว หรือ เป็นตัวสะกดที่อยู่ในแม่กด
คำ ที่อยู่ในเเม่กด หมายถึง คำที่มี เป็นตัวสะกด นอกจากนี้คำที่มี จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส เป็นตัวสะกด และอ่านออกเสียงเหมือนมี สะกดก็เป็นคำที่อยู่ในแม่ กด ด้วย เช่น สด นาฎ ทาส เกศ เดช อาจ บาท วัฒน์
ตัวอย่างคำที่อยู่ในแม่กด ในกาพย์ยานี 11
นักปราชญ์ฉลาดคิด พูดไม่ผิดซื่อสัตย์หมด
จะเกิดประเสริญยศ มิได้อดแต่สักนิด
บาทบทจดอย่าคลาด ในกระดาษวาดอย่าผิด
อย่าคิดขบถมิตร จะต้องติดโทษในคุก
แดดกล้าพระอาทิตย์ เดือดใจจิตไม่มีสุข
บุษบงเพชรเม็ดไข่มุก ศรีสดสุกโชติช่วงดี
ตกเบ็ดติดเกล็ดปลา วัดเบ็ดมาปลาโดดหนี
อัตคัดหมดลาดนี้ เมืองเทศมีแพงหนักหนา
ถือชุดจุดประหยัด ไม้ยุงปัดไม้ดัดถ้า
มะกรูดชะลูดป่า กฤษณาและชะมด ฯลฯ
ประถม ก กา
😮  ที่มาจาก : เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป.3. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2552.
และจากเว็บไซต์ของกระทรวงวัฒนธรรมได้ให้ความรู้เรื่องนี้ดังนี้
“..อักษร นี้ เป็นพยัญชนะตัวที่ ๑๔ ที่เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤต เช่น มงกุ และ เป็นต้น คำที่ขึ้นต้นด้วย มีคำว่า ฎีกา ซึ่งมีหลายความหมาย ได้แก่ หมายถึง คำอธิบายขยายความ
เช่น ฎีกาพาหุง เป็น ชื่อคัมภีร์หนังสือที่แก้หรืออธิบายคัมภีร์อรรถกถา หรือจะหมายถึง หนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อนิมนต์พระสงฆ์ก็ได้ ขณะเดียวกัน ฎีกา ยังหมายถึง ใบแจ้งการขอเบิกเงินจากคลัง ที่ผู้ทำราชการจะรู้จักกันดี และถ้าได้รับใบบอกบุญเรี่ยไร เราก็เรียก ใบฎีกา เช่นกัน
แต่ถ้าทางกฎหมายจะหมายถึง คำร้องทุกข์ที่ราษฎรทูลเกล้าฯถวายต่อพระมหากษัตริย์ ถ้าเป็น ศาลฎีกา หมายถึง ศาลยุติธรรมสูงสุดของประเทศไทย แต่ถ้าเป็นกริยา เช่น คดีนี้จะ ฎีกา หรือไม่ จะเป็นภาษาพูด หมายถึง ยื่นคำร้องขอหรือคำคัดค้านต่อศาลฎีกา
ส่วน ฎีกาจารย์ คือ อาจารย์ผู้แต่งฎีกาหรืออาจารย์ผู้สอน หรือ อธิบายอรรถ
พยัญชนะตัว เป็นพยัญชนะตัวที่ ๑๕ ที่เป็นอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดของคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเช่นกัน เช่น ปราก และ มกุ กษัตริยาราม เป็นต้น และเป็นพยัญชนะที่ไม่ปรากฏว่า เป็นตัวขึ้นต้นของคำใด” 😆
สำหรับการใช้คำ กฎ-กฏ
ศ.จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม เขียนในหนังสือเรื่อง ภาษาไทยไขขาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แพร่พิทยา. ๒๕๒๘.  (PL4169 จ63)  ดังนี้ 😆
กฎกฏ คำที่เป็นปัญหาในการเขียนของเราอีกคำหนึ่ง ซึ่งก็เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเช่นกัน
คำว่า “กฎ” กับ “กฏ” ว่าเมื่อใดจะใช้ สะกด เมื่อใดจะใช้ สะกด
คำว่า “กฎ” นั้น ในภาษาบาลีใช้ว่า “กต” (กะ-ตะ) ต เต่า ไม่ใช้ ฏ ปฏัก แปลว่า “กระทำแล้ว” หรือ “อันเขากระทำแล้ว” แต่ ต เต่า กับ ฏ ปฎักนั้น ในภาษาบาลี บางทีก็ใช้แทนกันได้ เช่น “ธัมมปทัฏฐกถา” กับ “ธัมมปทัตถกถา” ที่ “-ทัฏฐ-“ จะใช้ ฏ ซ้อน ฐ หรือ ต ซ้อน ถ ก็ได้ แต่ที่เรานำมาใช้ในภาษาไทยนั้น เรามักใช้ แทน เป็นส่วนมาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
“(โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส); ตรา …; ข้อกำหนด, ข้อบัญญัติ, เช่น กฎให้ไว้…”
นอก จากนั้นก็มีลูกคำอีก ๑๖ คำ คือ “กฎกระทรวง, กฎเกณฑ์, กฎข้อบังคับ, กฎทบวง, กฎธรรมชาติ, กฎธรรมดา, กฎบัตร, กฎบัตรกฎหมาย, กฎบัตรสหประชาชาติ, กฎมนเทียรบาล, กฎยุทธวินัย, กฎศีลธรรม, กฎเสนาบดี, กฎหมู่, กฎแห่งกรรม, และ กฎอัยการศึก” 😎

ส่วน “กฎหมาย” ซึ่งความจริงเดิมนั้นคำว่า “กฎ” กับ “หมาย” ต่างก็เป็นคำกริยา มีความหมายอย่างเดียวกัน “กฎไว้” กับ “หมายไว้” ก็มีความหมายเท่ากัน ต่อมาเราเอามารวมกันเป็น “กฎหมาย” และใช้เป็นคำนาม แต่เดิมใช้เป็นกริยาก็ได้ ..และมีลูกคำอยู่ ๗ คำ คือ “กฎหมายนานาประเทศ, กฎหมายปิดปาก, กฎหมายพาณิชย์, กฎหมายแพ่ง, กฎหมายระหว่างประเทศ, กฎหมายเหตุ, และ “กฎหมายอาญา” …. 😛

คำ ว่า “กฎ” หรือจะมีคำอะไรต่อท้าย “กฎ” อีกก็ตาม ใช้ สะกดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น กฎศีลธรรม กฎเกณฑ์ กฎกระทรวง กฎบัตร กฎหมาย หรือกฎอะไรก็ตาม คำว่า “กฎ” ในลักษณะเช่นนี้ ถ้าหากเขียนใช้ สะกด ก็ถือว่าผิด
ส่วน คำว่า “กฏ” ที่ใช้ สะกด จะใช้ในโอกาสใดนั้น ขอเรียนว่า ที่ใช้ตามลำพังหรือนำหน้าคำอื่น ๆ นั้นไม่มี มีเฉพาะคำว่า “ปรากฏ” เท่านั้น ที่ “กฏ” ต้องใช้ สะกด ถ้าใช้ สะกด ถือว่าผิด 😉

คำว่า “ปรากฏ” เขียนตามรูปสันสกฤต แต่ในภาษาสันสกฤตเป็น “ปฺรกฏ” (ปฺระ-กะ-ตะ); มีเสียงสั้น ส่วนบาลีจะเป็น “ปากฏ” (ปา-กะ-ตะ) เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เราใช้รูปสันสกฤต …
 สรุป….ถ้าหากเป็น “กฎ” ไม่ว่าจะเป็นกฎเกี่ยวกับอะไรก็ตาม ใช้ สะกดทั้งสิ้น แต่ถ้าหากเป็น “ปรากฏ” คือ “กฏ” อยู่ข้างหลัง “ปรา” ต้องใช้ สะกด ไม่ว่าจะใช้ตามลำพัง เช่น “ปรากฏว่า” หรือ เป็นศัพท์บัญญัติ เช่น “ปรากฏการณ์” (ปฺรา-กด-กาน) ก็ตาม 😯

//

//

2 thoughts on “เรื่องของ ฎ และ ฏ

  • โครงการ กขฮ พี่ยังเขียนไม่ถึง 55

  • ไม่เป็นไรช่วยเขียนเดี๋ยวไม่จบ หุหุๆๆๆๆๆ ยังมีอยู่ในครอบครองอีกหลายตัวอักษร

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร