ไปฟังเรื่องนี้มา การสร้างแผนดำเนินธุรกิจห้องสมุดได้อย่างต่อเนื่องหลังจากเกิดปัญหาวิกฤต (Business Continuity Plan /BCP)

เรื่องนี้ไปพร้อมคุณใหญ่ ซึ่งคุณใหญ่เขียน blog ไว้แล้วที่ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=26867
ส่วนเรางุ่มง่ามหากวันใด หน.หอสมุดฯ ถามก็จะมีข้ออ้างด้วยการใส่ร้ายว่างานบุ๊คแฟร์เป็นเหตุ ทำให้ทำงานอย่างอื่นๆไม่ได้ ซึ่งพิจารณาด้วยสติแล้ว คิดว่าไม่ใช่เหตุผลน่าจะเป็นคำแก้ตัวมากกว่า เดชะบุญที่ได้เขียนรายงานการไปราชการแล้ว จึงคิดว่าน่าจะขยายต่อในอีกมุมหนึ่งที่คุณใหญ่ไม่ได้เขียน
เพราะอ่านสองฉบับแล้ว งงว่าเราไปงานเดียวกันหรือปล่าวนี้ เรื่องนี้เป็นเหตุผลหนึ่งของมนุษย์ที่เราจะสนใจในส่วนที่เราสนใจ เราอยากให้คนอื่นรู้ในส่วนที่คนอื่นรู้ ดังนั้นโลกนี้จึงมีคนคิดว่าเราควรต้องมาแชร์ข้อมูลกัน จะได้เติมเต็มกันและกัน
งานที่ว่าจัดเมื่อวันที่ 13-14 ธันวาคม 2556 เจ้าภาพคือเครือข่ายห้องสมุดเพื่อการจัดการภัยพิบัติ 5 สถาบัน ได้แก่ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)และสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ในประเทศของเรามีเครือข่ายในห้องสมุดมากมาย ไม่ใช่มีแค่ Thailinet หรือ PULINET เรื่องเครือข่ายเป็นหัวข้อของการสัมมนาความร่วมมือที่ผ่านมาหมาด เมือปลายเดือนมกราคมนี่เอง
วิทยากรประกอบไปด้วยนักวิชาการและนักธุรกิจมาพูดให้ฟังในเชิงวิชาการและประสบการณ์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิวดา กมลเวชช คณะรัฐศาสตร์ มธ. ส่วนนายวิเชียร จึงวิโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ บ.CP ALL และ ดร.บรรจง หะรังสี จาก บ.ทีเน็ต ขอสรุปๆ ที่พจะจับใจความได้ คือ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิวดา กมลเวชช: เทคโนโลยีกับการจัดการภัยพิบัติ
จุดเริ่มต้นขององค์กรที่จะทำแผนดังกล่าวฯ คือ
– ภารกิจหลักขององค์กร  ทำความรู้จักตัวเองให้ชัดเจนก่อนว่าเรามีหน้าที่อะไร ไม่ใช่ “อยาก” “ชอบ” “สนุก”
ไปเสียทุกเรื่อง เข้าใจคำว่า emergency กับ disaster ลำดับความเร่งด่วนได้ คาดการณ์ผลกระทบที่จะตามมา กำหนดหน้าที่ของทุกส่วนที่เกี่ยวข้องได้ มีการ backup ข้อมูล
– รู้จักการทำ Scenario ในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อเตรียมการให้ถูกตามสถานการณ์ทั้งในเรื่อง hardware software สถานที่ทำงาน และบุคลากร รวมทั้งกำหนดระยะเวลาในการเข้าสู่สถานการณ์ปรกติ
นายวิเชียร จึงวิโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ บ.CP ALL: กรณีของเซเว่น อีเลฟเว่น
Business Continuity Management (BCM) หรือ การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ประกอบด้วย Risk Management Crisis Management และ Recovery Plan ผู้รับผิดชอบต้องรุ้จัก Alert Analysis และ Alarm จากนั้นเล่าประสบการณ์ของเซเว่น อีเลฟเว่น กับผลกระทบของน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2554 โดยได้รับผลกระทบ 830 สาขา ได้รับความเสียหายแตกต่างกันไป สามารถปรับปรุงและซ่อมแซมร้านในระยะเวลาราว 1-2 สัปดาห์ ก่อนเปิดให้บริการลูกค้าได้ตามปกติ และจากบทเรียนดังกล่าวทำให้คิด “ร้านสู้น้ำ” ขึ้น หากเกิดกรณีน้ำท่วมอีกครั้ง โดยยกขอบสูง 80 เซนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำ และจัดวางปลั๊กให้อยู่บนที่สูง เพื่อป้องกันปัญหาระบบไฟฟ้า
ดร.บรรจง หะรังสี จาก บ.ทีเน็ต : BCM and BCP for Library System
โจทย์ที่ให้คิดคือ หากห้องสมุดไม่สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้? ให้นำคำว่า ไม่สามารถ หรือ เหตุหยุดชะงัก ไปทำแผนเพื่อสร้างความต่อเนื่อง กลไกของของ BCM คือ
1. BCM Program Management มีนโยบายชัดเจน ต่อเนื่อง และดำเนินการอย่สงจริงจัง
2. Understanding Organization รู้ว่าองค์กรของเรามีหน้าที่ภารกิจหลักอะไร
3. Determining BCM Strategy คิดล่วงหน้า รู้จักจับคน สิ่งของ สถานที ว่าจะทำอย่างไรเมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่างๆ
4. Developing and Implementing BCM Response รูจักพัฒนา/ปรับปรุงแผนให้ ครอบคลุม และปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับเวลา
5. Exercising, Maintaining and Reviewing ฝึกฝน ทบทวน ปรับปรุง
6. Embedding BCM in the Organization’s Culture ปลูกฝังให้เข้าไปถึงจิตสำนึกขงอบุคลากรและสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กรแบบไม่นิ่งดูดาย
วิทยากรยกตัวอย่างกิจกรรมห้องสมุดที่สำคัญ คือ บริการยืม คืน ซึ่งมีความเสี่ยงในด้านต่างๆ เช่น ไฟฟ้าดับ พนักงานที่ทำหน้าที่บริการหยุดงาน ภัยพิบัติต่างๆ ฯลฯ จากนั้นให้ผู้เข้าสัมมนาทำ workshop ระดมสมองเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ของธุรกิจ Business Strategy ร่วมกัน เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจเบื้องต้นก่อน ได้จัดทำทางเลือก ไว้ให้ 4 ทางเลือก คือ สถานที่ บุคลากร ระบบงานคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง และข้อมูล
สิ่งที่วิทยากรทั้ง 3 ท่าน พูดเหมือนกันคือ ความต่อเนื่อง ความจริงจัง การรู้จักองค์กรต้องรู้จักว่าอะไรคือภารกิจหลักของเรา คำว่าองค์กรก็ไม่ได้ถึงหน่วยงาน หากหมายถึงกิจกรรม โครงการ หรืองานที่รับผิดชอบ หากเราชัดเจนกับสิ่งที่เรารับผิดชอบ เราจะสามารถจัดลำดับว่าอะไรมาก่อนหลัง รู้จักพินิจพิจารณาว่าอะไรมาก่อนและอะไรควรอยู่ในลำดับถัดไปๆ อะไรใช่ หรืออะไรไม่ใช่ และไม่มีอะไรถูกใจทุกคน วัฏจักรของการทำงานจะหนีไม่พ้นเรื่องเหล่านี้
น้องๆ หลายคนที่ทำงานด้วยจะได้รับบทเรียนเรื่องนี้ไป เพราะความคิดแตกกระจายซ่านเซ็น ผลที่ได้คือ “เยอะ” จนตัวเองนั่นแหละเวียนหัว ปวดขมอง
พอข้าพเจ้าขึ้นต้นว่า… อ้าววว เด็กๆ ฟัง มองหน้าแล้ว แหม! อยากจะจ้ำอ้าว ฮ่าฮ่า  รักจ้าถึงบอกและบ่น…

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร