กิน กิน กิน ในอาเซียน

:mrgreen: ตอนนี้ใครก็พูดหรือเขียนถึงเรื่องอาเซียน ก็เลยต้องอินเทรนด์กับเขาบ้าง จำได้ว่า เมื่อตอนจัดบูธงานองค์พระฯ ครั้งที่ผ่านมาในเดือนพฤศจิกายน 2555 ได้นำรูปอาหารประจำชาติของแต่ละประเทศในอาเซียนไปติด ได้รับความสนใจจากคนที่เข้ามาในบูธพอสมควร
รายการโทรทัศน์หลายรายการก็ต่างพูดถึงเรื่องอาซียน โดยเฉพาะเรื่องอาหาร
เรื่องของอาหาร เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวคนเรา คนเราทุกคนต้องกิน แต่ละประเทศก็มีอาหารที่ประชากรต่างๆ กินกันมาตั้งแต่นมนานมาแล้ว อาหารบางชนิดก็มีเฉพาะถิ่น อาหารบ้างชนิดก็มีลักษณะที่คล้ายหรือใกล้เคียงกัน ล้วนมาจากการหลั่งไหลและผสมผสานกันของวัฒนธรรม
วันนี้ก็เลยขอยกเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมการกินค่ะ เป็นวัฒนธรรมการกินของชนชาติในอาเซียนค่ะ
ก่อนอื่นเลยเราต้องรู้ก่อนว่า จริงๆ แล้วกลุ่มประเทศอาเซียนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม นั่นคือ 1) กลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ ประเทศพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม 2) กลุ่มโซนทางใต้ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ 3) กลุ่มสุดท้ายเป็น ประเทศฟิลิปปินส์
ซึ่งวัฒนธรรมการกินจะมีความเหมือนและแตกต่างกัน เช่น ลุ่มแม่น้ำโขงจะมีการบริโภคอาหารที่ใกล้เคียงกันเห็นได้จากส่วนผสมหรือเครื่องปรุง เครื่องเทศ รวมถึงสมุนไพรจะเห็นได้ชัดคือ ประเทศลาวและภาคอีสานของประเทศไทย แต่ในความคล้ายก็มีความแตกต่างกันบ้างนะค่ะ นั่นก็คือ อย่างแรกประเทศที่ทานข้าวเป็นหลักนั้นได้แก่ ประเทศไทย พม่า เวียดนาม กัมพูชา  ส่วนประเทศลาวจะทานข้าวเหนียวเป็นหลัก
ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งจะเป็นโซนทางใต้จะมีอาหารใกล้เคียงกัน เช่น อาหารประเภทสะเต๊ะ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการกินของกลุ่มมุสลิม
ส่วนฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีความแตกต่างจากกลุ่มอื่น เพราะเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และวัฒนธรรมต่างจากประเทศอื่นๆ
อาจารย์ ดร.ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ หัวหน้ากลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า วัฒนธรรมในกลุ่มอาเซียน มีทั้งเหมือนและต่างกัน โดยอาเซียนจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังกล่าวข้างต้นนั้น โดยแต่ละกลุ่มจะมีความเหมือนทางด้านศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมการกินคล้ายกัน
ประเทศที่ติดกับทะเลนั่นต้องย่อมมีอาหารทะเลให้ได้ทาน ส่วนมากก็นำมาถนอมอาหารเพื่อให้เก็บไว้ทานได้นานๆ นั่นก็คือ ประเทศเวียดนาม ประเทศพม่า ภาคกลางของประเทศเวียดนามทานอาหารมังสวิรัสเป็นส่วนใหญ่  เพราะชาวพุทธส่วนใหญ่ของที่นั่นไม่บริโภคเนื้อสัตว์กัน
อาหารในประเทศไทยกับประเทศลาวที่หาทานกันได้ง่ายนั่น  ให้เห็นอยู่ประจำนั่นคือ แกงเห็ด กับส้มตำ
อาหารนอกจากรสชาติที่มีความไม่ต่างกันมากแล้วนั่น วัตถุดิบ ส่วนผสมก็มีความไม่ต่างกัน เช่น กัมพูชาทานผักส่วนใหญ่คล้ายๆกับคนไทย เช่น ทองหลาง สะระแหน่ โหระพา แตงกวา ผักกาดเขียว  แต่กัมพูชาจะใช้น้ำตาลโตนดมากกว่าน้ำตาลทราย เพราะว่าปลูกต้นตาลมากกว่าต้นอ้อย
โซนทางใต้  ถ้าพูดถึงการทานอาหารในกลุ่มประเทศโซนทางใต้นี้ จะเหมือนอาหารทางใต้ของไทย
ประเทศที่เห็นความหลากหลายในอาหารนั่นที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดคือ ประเทศสิงคโปร์เพราะเป็นประเทศที่มีคนอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ คนจีน คนอินเดีย และคนมาเลเซีย  เพราะฉะนั้นการทางอาหารของประเทศสิงคโปร์จะมีความหลากลายทางเชื้อชาติ  อาหารส่วนใหญ่จะประกอบด้วยงา หรือ น้ำมันงา
นอกนั้น ประเทศบรูไนนับถือศาสนาอิสลามซึ่งทานปลาและข้าวเป็นอาหารหลัก  รสชาติของอาหารจะมีรสเผ็ด ไม่ทานเนื้อหมูและไม่ดื่มแอลกอฮอล์
ส่วนมาเลเซียทานข้าวเหมือนคนไทยและยังทานแกงกระหรี่
และอินโดนีเซีย มักจะมีข้าวเสิร์ฟพร้อมกับปลา หรือเนื้อสัตว์ต่างๆ
สรุปความจาก
http://www.oknation.net/blog/journeyoflife/2012/09/19/entry-1
จากการที่ 10 ประเทศในอาเซียนจะรวมกันเป็นประชาคม แน่นอนว่า ย่อมต้องมีเอกลักษณ์ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องอาหารการกิน ประเทศที่อยู่ใกล้เคียงกันก็จะมีวัฒนธรรมในการกินคล้ายคลึงกันไปด้วย ซึ่งชาวอาเซียนเราก็มีวัฒนธรรมเรื่องการกินโดยเฉพาะเครื่องปรุงรสที่จะคล้ายกัน เช่นเรื่องของ “น้ำปลา” และ “ปลาร้า” ที่เป็นวัฒนธรรมการกินร่วมกัน มีให้กินคล้ายๆ กันในหลายประเทศในอาเซียน
เริ่มต้นที่ “น้ำปลา” ที่เป็นส่วนผสมของปลา เกลือ และน้ำเกลือเข้มข้น ผ่านการหมักบ่ม ก็จะได้หัวน้ำปลาอย่างดี จากนั้นก็นำกากปลาที่เหลือมาผสมกับน้ำเกลือเข้มข้นแล้วหมัก ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็จะได้น้ำปลาเกรดสอง, สาม, สี่,… ไปจนกระทั่งกากปลาย่อยสลายไปหมด
น้ำปลานั้นเป็นสิ่งที่ช่วยชูรสชาติให้จัดจ้านกลมกล่อมขึ้น จากที่เป็นอาหารจืดๆ ใส่น้ำปลาลงไปก็เพิ่มความอร่อย อย่างที่ประเทศไทย เรียกว่า น้ำปลา เพื่อนบ้านเราก็กินน้ำปลาแต่มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาษา อย่างเช่น เวียดนาม เรียกว่า “Nuoc Mam” ฟิลิปปินส์ เรียกว่า “Patis” ลาว เรียกว่า “น้ำปา” พม่า เรียกว่า “Ngan Bya Yay”
ส่วน “ปลาร้า” นั้นก็ไม่ได้มีเพียงเฉพาะที่ภาคอีสานของไทย แต่เกิดขึ้นได้ทั่วทุกมุมโลก จากการที่ต้องเก็บถนอมปลาเอาไว้กินในยามขาดแคลน และใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว คือ ปลา เกลือ และข้าว
ในประเทศไทย เรียกว่า “ปลาร้า” ส่วนบ้านพี่เมืองน้องของเรา ลาว เรียกว่า “ปลาแดก” ปลาร้าเขมร คือ “ปราฮ็อก” ฟิลิปปินส์ เรียกว่า “บากุง” เวียดนาม เรียกว่า “มาม” มาเลเซีย เรียกว่า “เปกาซัม” อินโดนีเซีย เรียกว่า “บากาแซ็ง” พม่า เรียกว่า “งาปิ๊”
ชาวประชาคมอาเซียนนั้น ก็มีวัฒนธรรมในการกินที่คล้ายคลึงกัน เพราะมีวัตถุดิบจากธรรมชาติที่ใกล้เคียงกัน นั้นก็คือ ปลา เกลือ และข้าว ซึ่งแต่ละชาติจะประดิดประดอยออกมาได้รสชาติ หรือหน้าตาแบบไหน ก็ต้องไปลองหาชมหาชิมกันเอาเอง
แหล่งอ้างอิง
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000141192

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร