Human Resource Development for Asian Community

จากการฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ประชาคมอาเซียน โดยท่าน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2555 ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งมีสาระสำคัญ คือการก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 นั้น คุณสมบัติที่สำคัญของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ควรจะมีคือ มีความทันสมัย คือ ทันต่อเหตุการณ์ สถานการณ์
สิ่งจำเป็นที่นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องพัฒนา คือ ตรงประเด็น หมายถึง ตรงกับเนื้อหาหรือประเด็นที่เกิดขึ้นทั้งปัจจุบันและอนาคต แต่สิ่งสำคัญตอนนี้คือ การยกระดับทรัพยากรมนุษย์ ให้ล้ำและนำคนอื่นเสมอ แต่ในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประเทศไทยยังไม่ค่อยให้ความสำคัญมากพอ การที่เราจะอยู่อย่างมีความสุขเข้ากับคนอื่นได้นั้นเราต้องมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์โลกได้ คือ ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ทุกประเทศเห็นภาพว่าเป็นสิ่งสวยงาม เพราะว่ามองเห็นผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ทุกคนต้องการแสวงหาผลประโยชน์ แต่การจะเข้าไปนั้นต้องมีความพร้อม มีความสามารถในการแข่งขัน
ฉะนั้นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรมีส่วนร่วมในการทำหน้าที่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อไป คือ การเตรียมคน การสร้างผู้นำ สร้างความพร้อม ด้วยการวางแผน ออกแบบ และพัฒนา เพื่อให้เกิด ทักษะ ความรู้ ความสามารถ และทัศนคติที่ดี ซึ่งชีวิตในโลกยุคโลกาภิวัตน์ เป็นชีวิตที่ไม่หยุดนิ่งเต็มไปด้วย โอกาส ความท้าทาย การทดสอบ ดังพระราชปรารถของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ กล่าวไว้ว่า ” พัฒนาคนเป็นกำลังของประเทศที่มีประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่ควรทำ วิธีการสร้างคนให้ดีที่สุดก็คือ การให้การศึกษา” ซึ่งวิธีการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 วิธี คือ 1) ต้องการเรียนรู้อะไร 2) ต้องการนำความรู้มาใช้ประโยชน์อะไร 3) การเรียนรู้ที่จะเป็นอะไร คือทำอย่างไรจะอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ซึ่งปัจจุบันนี้มีทางเลือกมากขึ้น ทุกช่วงของชีวิต 4) เรียนรู้เพื่ออะไร คือ การเรียนรู้ที่จะเป็นฐานตลอดชีวิต ซึ่งเป็นการเรียนที่เราอยากจะเรียนอยากจะรู้ แต่ประเด็นปัญหา คือ เราพร้อมหรือไม่ คนที่มีความพร้อมจะมีลักษณะชอบสิ่งท้าทาย ต้องการสิ่งแปลกใหม่ มีความอยากรู้อยากเห็น มีความใฝ่รู้ตลอดชีวิต
ดังนั้นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเป็นผู้ที่มีลักษณะ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ที่ คิดใหม่ เริ่มใหม่ สร้างสิ่งใหม่ ๆ หาทางออกใหม่ๆ เพื่อตอบปัญหาที่เกิดขั้นในสังคม ในขณะที่สังคมปัจจุบันมีคำตอบที่มีลักษณะเป็น Dynamic คือมีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา ดังนั้นอาเซียนต้องการคนแบบ เป็นผู้ที่ชอบแสวงหาความรู้ ใฝ่เรียนรู้ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางที่ดี ดังนั้นสถาบันการศึกษาหรือ องค์กรต่าง ๆควรสร้าง Social equality คือการสร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้นในสังคมได้แก่ 1) ต้องสร้างและกระจายโอกาสความเสมอภาคให้คนอื่น 2)สร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้วยตัวเอง
จากการฟังบรรยายทำให้เราคิดว่าในเมื่อเราเป็นผู้ที่เดินทางมาในสายวิชาชีพ นัก HRD ซึ่งเป็นสาขาที่มีความสำคัญในการช่วยพัฒนาคน ให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และความเข้า และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาการใช้ชีวิตประจำวันได้ ทำให้เรามีความมุ่งมั่น และทุ่มเท ที่จะศึกษาหาความรู้ทั้งจากตำราและประสบการณ์ผู้อื่น หรือแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เพื่อที่จะนำความรู้ความสามารถมาถ่ายทอด รับใช้สังคม อย่างเต็มภาคภูมิในโอกาสต่อไป

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร