การบริหารการเปลี่ยนแปลง

27 February 2012
Posted by Kasorn Sansuwan

จากการศึกษาวิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลง สรุปสาระดังนี้

การบริหารการเปลี่ยนแปลง เป็นการใช้เทคนิควิธีที่เป็นระบบ เพื่อประกันว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นไปตามทิศทางที่ได้วางแผนไว้ และก่อให้เกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ภายในระยะเวลาที่กำหนด

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายในองค์กรทำให้องค์กรดำเนินต่อไปได้ และมีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนผู้บริหารควรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องแรงผลักซึ่งจะต้องเอาชนะ แรงต้านที่เกิดจากตัวบุคลากร หน่วยงานและส่วนอื่นๆขององค์กร

การบริหารการเปลี่ยนแปลงอาจทำได้โดยคนในองค์กร หรือที่ปรึกษาจากภายนอกด้วยวิธีการและเทคนิคต่างๆ องค์กรจะต้องมีวัฒนธรรมที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้าราชการต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะได้รับผลกระทบไม่รุนแรงเท่ากับภาคเอกชน การได้เรียนรู้และพัฒนาตนให้ทันและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงจะช่วยให้สังคมไทยโดยรวมได้รับประโยชน์อย่างมาก

ประเภทของการเปลี่ยนแปลง แบ่งออกเป็น  4  ประเภท

1. การเปลี่ยนแปลงทางกลยุทธ์

2. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

3. การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง

4. การเปลี่ยนแปลงทางบุคลากร

การสร้างวัฒนธรรมที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทำได้ดังนี้

1. การกระตุ้นให้มีวัฒนธรรมส่งเสริมนวัตกรรมเช่น การใช้ Internet การใช้เครื่องแสกน  คีย์การ์ด บาร์โค๊ด

2. การสร้างให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

2.1 Single Loop องค์กรที่พัฒนาศักยภาพอย่างสม่ำเสมอ พร้อมที่จะปรับตัวและเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้

2.2 Double Loop ความผิดพลาดจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องโดยใช้วิธีปฏิบัติเดิมๆ ที่เคยใช้อยู่

คุณสมบัติผู้นำที่ควรนำมาบริหารการเปลี่ยนแปลง

–  ผู้นำอาจเป็นผู้กระตุ้น หรือผู้สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

– ผู้นำมีส่วนกำหนดวัฒนธรรมที่ส่งเสริมนวัตกรรมและองค์กรแห่งการเรียนรู้

– ปรับตัวให้เข้ากับผู้ที่เกี่ยวข้อง

–  ปรับโครงสร้าง

ผู้นำระดับสูง ต้องตัดสินใจทั้ง ทางด้านกลยุทธ์  ทางด้านเทคโนโลยี  ทางด้านโครงสร้าง และทางด้านบุคลากร

ผู้นำระดับกลาง ต้องมีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูล เหตุการณ์จริงป้อนกลับให้ระดับสูง และทำความเข้าใจกับวิสัยทัศน์  นโยบายและการขยายงาน เพื่อการประสานงานที่ดี

ผู้นำระดับต้น จะใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและบุคลากรที่ต้องการการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก

–  จากข้อมูลที่ได้รับเราสามารถวิเคราะห์และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หรือบทบาทที่เป็นผู้กระตุ้น หรือเป็นผู้ต้านการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดีเพื่อให้วัตถุประสงค์ของหน่วยงานได้รับการตอบสนองอย่างสัมฤทธิผล

– นวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 ประเภท ขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด  และนโยบาย การดำเนินงาน ผลลัพธ์และผลตามมาของการเปลี่ยนแปลงประเภทต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้มองภาพออกและทำให้สอดคล้องและเกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานได้เป็นอย่างดี

–  เราจะบริหารการเปลี่ยนแปลงได้โดยวิธีหลากหลาย ซึ่งผู้นำการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นคนในหรือคนนอกองค์กร ต่างก็ต้องสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงและให้ข้อมูลที่เพียงพอเพื่อให้ผู้ร่วมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความร่วมมือกับการเปลี่ยนแปลงและยังเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงด้วย เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องและมีทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

–  เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงดำเนินต่อไปอย่างยั่งยืนไม่พลิกกลับไปอยู่ในสภาพเดิมซึ่งผู้นำและ

ผู้บริหารจะต้องสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนให้องค์กร

ให้อยู่ในสภาพที่มีการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

สรุปแล้วในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่จะดำเนินการไปตาม วิสัยทัศน์ และวัตถุประสงค์ขององค์กร จะต้องเป็นผู้นำที่ร่วมสร้างวัฒนธรรมที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและสร้างองค์กรการเรียนรู้เพื่อที่องค์กรจะได้พัฒนาทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถก้าวต่อไปได้อย่างยั่งยืน

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร