ข้อมูลภาคตะวันตก
ศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตก หรือ ศต. เป็นคอลลเ็คชั่นที่พิเศษ ที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ทางด้านข้อมูลของหอสมุดฯ เรา
หนังสือที่จะเก็บอยู่ในศูนย์ข้อมูลฯ จึงเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาตรงกับ 8 จังหวัดที่กำหนด แบบเด๊ะๆ ไม่ค่อยมีปัญหา ส่วนการให้หัวเรื่องนั้นมีการตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ส่วนหนังสืออีกประเภทหนึ่งคือ หนังสือที่มีเนื้อหาบางส่วนเี่กี่ยวกับ 8 จังหวัด แต่ตัวเล่มไว้ที่ชั้นนหังสือทั่วไป แต่ต้องทำหัวเรื่อง ศต. เพิ่มให้ด้วย แต่อาจมีการหลงลืมหรือไม่รู้
เนื่องจากตอนนี้หนังสือใหม่ลงมาอยู่ใกล้ๆ ตัว จึงไปหยิบมาลองสุ่มดู พบว่าบางเล่มมีและบางไม่มีหัวเรื่องเพิ่มให้ ศต.
จึงมีคนถามว่าหนังสือตั้ง 1 คันรถ ทำไมจึงรู้ได้ ว่าควรตรวจสุ่มจากเล่มไหน?
แหม! อันนี้เป็น Tacit Knowledge เชียวนา จึงอยากนำมาขยายความต่อว่า ทั้งหมดทำไปตามสัญชาติญาณ แต่สัญชาติญาณนั้นก็ได้มาจากประสบการณ์
เริ่มจากหากเราดูบริบทของ 8 จังหวัด คือ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ที่กำหนดให้อยู่ใน ศต.และเราต้องรวบรวมสารสนเทศให้ครบถ้วนมากที่สุดนั้นแล้วไซร้จะพบลักษณะเด่นที่เชื่อมโยงกับชื่อหนังสือ ได้เช่น….
เที่ยว กิน ผืนป่า ป่าไม้ น้ำตก ทะเล ภาคตะวันตก สายน้ำ เรือ ตลาด พื้นบ้าน พื้นเมือง ชุมชน ปราชญ์ชุมชน หนังใหญ่ มอญ เพลงลูกทุ่ง นา สวน …… หยิบมาเต๊อะไม่ผิดหวัง มีข้อมูลแอบๆ อยู่แน่นอน
ข้อต่อไปคือ จำชื่อคนดังใ้ห้ได้ แต่เรามักจำคนดังที่มาทางสายการเมือง จึงควรต้องหาชื่อคนดังที่ในเฉพาะสาขาให้ได้… อันนี้อาศัยความจำและการอ่านเยอะๆ
ข้อต่อไปคือ นอกจากจำว่ามี 8 จังหวัดให้ได้แล้ว ควรจะต้องจำชื่ออำเภอให้ได้ ยิ่งท้องถิ่นไหนมีลักษณะพิเศษก็ต้องจำ เช่น ชุมชนมอญอยู่ที่ไหน เทคนิคคือไปนั่งดูแผนที่ แล้วดูว่าตรงนี้เราเคยไป เราไม่เคยไป แต่มีเพื่อนไป บ้านเพื่อนอยู่ตรงนี้ บ้านแฟนอยู่ตรงนั้น บ้านคนนั้นอยู่ตรงโน้น บ้านคนโน้นอยู่ตรงนี้ … เป็นต้น พวกเราเกือบทั้งหมดเป็นคนในพื้นที่ ญาติ โยมเพื่อนฝูงมักจะอย่ในละแวกนี้เช่นกัน
ข้อต่อไปคือ อ่านกฤตภาค ของศต. ชนิดจะไปนั่งอ่าน หรืออ่านแบบออนไลน์ก็ได้ จะทำให้เรารู้จัก Collection ของเรามากขึ้น การรู้จักจะทำให้เรา “อิน” กับงาน
และข้อสุดท้ายที่นึกออกคือ เวลาห้องสมุดเราจัดสัมมนานอกจากที่ชะแว๊บแอบไปดูเว็บไซต์แล้ว ให้ชะแว๊บไปที่อื่นๆ ที่ใกล้เคียงด้วยจะได้รู้จักพื้นที่ด้วย
สัญชาติญาณและประสบการณ์ที่มีนี้ เมื่อนำมาพินิจพิเคราะห์แล้วได้จากเมื่อสมัยมาทำงานใหม่ๆ ตอนเช้่าๆ ชอบมานั่งอ่านหนังสือพิมพ์ ท่านผู้บริหารสมัยนั้นท่านเห็น จึงมอบหมายให้อ่านแล้วหาข่าว ศต.ด้วย ทั้งนี้ต้องอ่านให้เสร็จก่อน 8.30 น
ไม่คิดว่าเป็นภาระแต่อย่างใด วันใดตรวจข่าวพลาด ท่านเห็น ท่านก็จะดุ (ดุมาก-แค่ไหน ให้ลองถามคนเก่าๆ) ก็จะจำไว้เป็นบทเรียนว่าทำไมเราจึงไม่เห็น ท่านถึงเห็น และพยายามไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดซ้ำอีก …… ทำหน้าที่นี้มานานทีเดียว
น้องๆ ลองอ่านหนังสือทุกๆ เช้า จะพบว่ามีเรื่องราวมากมายที่ไม่ไ้ด้นำมาเล้่าในรายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ….
ลองดูนะ
การช่วยกันตรวจสอบและช่วยกันบอกกล่าว Collection ของเราจะได้สมบูรณ์ พร้อมเป็นแหล่งอ้างอิงให้กับชาวโลก…. นะมาช่วยกัน