ห้องสมุดกับอาเซียน

เมื่อสองสามปีก่อนมีโอกาสไปฟังการบรรยายจากท่านผู้บริหารของมหาวิทยาลัยท่านหนึ่ง ท่านเล่าว่ามหาวิทยาลัยที่ท่านบริหารอยู่นั้นวางแผนไปสู่มหาวิทยาลัยอาเซียน จึงต้องวางรากฐานทั้งบุคลากร แนวคิด และการสร้าง content เราฟังแล้วทึ่งเพราะท่านพูดถึงการวางแผนแล้ว ส่วนเรากลับได้ยินเห็นครั้งแรก
เลยกลับๆ มาหาอ่านเพื่อประดับความรู้ เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเห็นป้ายผ้าใบที่หน้ามหาวิทยาลัย แบบแว๊บๆว่าคณะศึกษาศาสตร์ของเรา มีการสัมมนาเรื่อง การศึกษาไทยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ตั้งใจว่าจะไปฟัง แต่ก็พลาดโอกาสไปจนได้ ถามๆ ก็ไม่มีใครไปฟัง จนรู้สึกว่าตนเองวุ่นวายเกินไป จึงขอเสาะหาแบบเงียบๆ รอเวลา…. แล้วกัน
ว่าจะเขียนเรื่องนี้ แต่คิดว่าไม่ดีกว่า รอเวลาสักนิด พักหลังเมื่อเร็วๆ นี้ ของเราก็มีการพูดแบบประโยคสองประโยคเหมือนกันนะ ….
ช่วงเดือนกรกฎาคมมีหนังสือเชิญจากชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยว่าจะมีการจัดประชุมวิชาการ/สัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง เปิดประตูห้องสมุดสู่ประชาคมอาเซียน
สองสามวันก่อนมีข่าวเป็นที่ฮือฮาแบบตกลงกันไม่เสร็จว่า การปรับเวลาเปิด-ปิดเทอมมหาวิทยาลัยเปิดเทอมใหม่นี้จะเป็นอย่างไร จะโอละพ่อหรือโอละแม่ แต่ที่แน่ๆ พวกเราในฐานะที่ทำงานในสถาบันอุดมศึกษาคงหนีไม่พ้น
ยอดตองต้องเข้ามหาวิทยาลัยในปีนี้ มาหารือว่าหากเปิดแบบอย่างที่เป็นข่าวจริงคือ ภาคเรียนที่ 1 เดือน ก.ย. – ธ.ค. เท่ากับต้องว่างถึง 6 เดือน จำทำอย่างไรดี จึงบอกลูกว่ามีผลจากอาเซียน ดังนั้นคงต้องไปฝึกฝนภาษาอังกฤษ ให้มากขึ้นด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และอ่านหนังสือ และไปร่ำเรียนภาษาจีนเพิ่มเติม เพราะคงไม่สามารถฝึกฝนได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าไม่เป็นอย่างที่เป็นข่าว ยังไงๆ ก็ต้องทำแบบนั้นเช่นกัน เออนะ ทำตัวเป็นคุณแม่อาเซียน
เคยคุยกับน้องอ้อสรุปกันว่า ภาษาพม่า เป็นภาษาที่น่าสนใจ เพราะชาวพม่าอยู่รอบๆ ตัวเรา พูดภาษาไทย แบบที่เราฟังออก แม้จะ (แอบ) หัวเราะเขาว่าพูดไม่ชัด แต่ที่เราไม่ทราบคือบางทีเขาอาจ (แอบ) หัวเราะเราบ้างก็เป็นไปได้นะว่า พวกข้าพเจ้ามาอยู่กันตั้งเยอะ มีลูกมีหลานให้ท่านเลี้ยงดูตั้งแยะ แต่ท่านพูดภาษาพม่ากันไม่ได้เลยแม้แต่คำเดียว!  …….

asianรูปภาพจาก http://education.kapook.com/view28849.html


ในหลักการและเหตุผลของการสัมมนาข้างต้น บอกความเป็นมาและความคิดที่น่าจะเป็นไปไว้ว่า นับหลังจากมีการลงนามในปฏิญญา “สมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (Declaration of ASEAN Concord) หรือ ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) โดยรัฐมนตรีจาก 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ ประเทศไทย  เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510  กล่าวได้ว่า ประชาคมอาเซียนได้มีการเจริญเติบโตก้าวหน้ามาโดยตลอด เป้าหมายการเตรียมพร้อม พัฒนาประชาคมอาเซียนของประเทศไทยในปี 2558 จะประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียนทำให้ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมในทุก ๆ ด้าน
การเตรียมความพร้อมที่สำคัญประการหนี่ง คือ แนวทางการเสริมสร้างความพร้อมในการพัฒนาบุคลากรสู่ประชาคมอาเซียน  และภาคการบริการสารสนเทศ โดยเฉพาะห้องสมุด หรือศูนย์สารสนเทศต่างๆ สามารถพิจารณาเพื่อกำหนดแผนกิจกรรมสร้างความพร้อมของบริการห้องสมุดสำหรับปี 2554-2558 ให้สอดคล้องกับแผนงานระดับประเทศได้   จึงเป็นเหตุผลหลักที่สำคัญ  ดังนั้นชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ และหอสมุดวิทยาศาสตร์ ดร.ตั้ว ลพานุกรม  กรมวิทยาศาสตร์บริการ ตระหนักในความสำคัญนี้  ในฐานะเป็นแหล่งรวมขุมทรัพย์ทางปัญญาที่สำคัญของชาติ ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของภูมิปัญญาประชากรในประเทศไทย ด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Cultural Community) จึงจำเป็นอย่างยิ่ง  ที่ต้องหันมามองและวิเคราะห์บทบาทของตนในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลไก แห่งการเตรียมพร้อม โดยเฉพาะเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคลากรห้องสมุด และพัฒนาการบริการสารสนเทศ ให้เป็นกระบวนการที่มีระบบ และใช้เครื่องมือทางการบริหาร (Management tools) มาประยุกต์เพื่อตอบสนองนโยบายการพัฒนามิติทางด้านสังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของประเทศ อันจะนำไปสู่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนไทย มีช่องทางการเข้าถึงโอกาสการพัฒนาได้อย่างทัดเทียมกัน…..
อะไรๆ ดูเหมือนจะมารุมล้อมชีวิตการทำงานของเรามากขึ้น แต่สิ่งที่เชื่อมั่นอยู่ตลอดเวลาคือหากเราเปิดใจยอมรับความเปลี่ยนแปลง ทำความเข้าใจ มองเห็นความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งก็จะทำให้เราพร้อมที่จะเดินไปข้างหน้าไปพร้อมกัน
ความพยายามให้ทุกคนไม่กลัวเรื่องภาษา ไม่กลัวเรื่องเทคโนโลยี ไม่กลัวเรื่องการเปลี่ยนแปลง เข้าใจความแตกต่างของ generation ความคิดสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฯลฯ ที่สะสมทีละเล็กทีละน้อย อาจเป็นคลังทางสติปัญญา ที่สักวันหนึ่งเราอาจดึงมาใช้ อย่างน้อยก็เพื่อตัวเอง ลูกหลาน ชีวิตประจำวัน และนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน…
จะไปอาเซียน จะเปลี่ยนระบบประกันคุณภาพสักกี่ระบบ … เราก็อยู่ได้จ้า
คณะอักษรศาสตร์ มีการเรียนการสอน สาขาเอเซียศึกษา ซึ่งอาจจะเป็น reference ที่ดีของมหาวิทยาลัยศิลปากร เท่าๆ กับความเป็น creative ที่โซคดีที่เรามีคณะมัณฑนศิลป์และสายศิลปะอื่นๆ ที่ช่างคิด
ส่วนหน่วยงานสนับสนุนอย่างห้องสมุด ข้ออ้างที่สำคัญที่สุดคือเรื่อง content แต่แค่ไหนและอย่างไรล่ะ ถึงจะมีทั้งความเป็น Creative ที่พร้อมจะก้าวไปสู่ Asian
เชื่อถือประเดี๋ยว KPI หรือเหตุผลในการขอโครงการต่างๆ จะต้องตามมา!

Enhanced by Zemanta

3 thoughts on “ห้องสมุดกับอาเซียน

  • เมื่อสัปดาห์ที่แล้วไปอบรมผู้บริหารระดับกลางของPULINETที่จ.ชลบุรี วิทยากร(อ.ธนิตสรณ์)ได้พูดถึงเรื่องอาเีซียนเหมือนกัน ฟังแล้วคาดว่าคงต้งอเตรียมตัวอย่างพี่ปองว่าทั้งตัวเราและลูกๆหลานๆ โดยเฉพาะทักษะด้านภาษาเคยคุยกับพี่ปองนานแล้วว่าคุณสามีอยากให้ลูกเรียนภาษาจีนเป็นภาษาที่สามหลังจากได้ข่าวเรื่องประชาคมอาเซียน ภาษาพม่าก็น่าสนใจและหลังจากไปอบรมมี่ชลบุรีพบว่าภาษาที่น่าสนใจนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ(ที่เป็นภาษาธุรกิจ) ภาษาจีน แล้วคือภาษาบาฮาสาเป็นภาษาในกลุ่มประเทศอินโดนีเซีย บรูไน มาเลเซีย
    พอไปดูงานที่สิงคโปร์ (เค้ามีภาษาใช้4ภาษาคือ จีน มาเลเซีย ทมิฬ และอักฤษ) คุณไกด์บอกว่าประเทศนี้เค้าสนับสนุนประชากรรุ่นใหม่ให้สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ยิ่งใครมีทักษะด้านภาษาหลายภาษาเงินเดือนก็จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนภาษาที่เรารู้

  • ได้ข่าวจากลูกสาวว่าตอนนี้ภาษาเขมรมาแรงเพราะสามารถหาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของเขามาอ่านและให้ข้อมูลแก่รัฐบาลประเทศเราได้ ช่วงระหว่างที่มีความขัดแย้งกันหรือปะทะกันตามชายแดนนั้นข้อมูลข่าวสำคัญมาก

  • ตอนไปลาวหนูซื้อแบบเรียนภาษาลาวมาด้วยแหละ กะเอาดีทางนี้ แต่ตอนนี้เปลี่ยนใจใหม่แล้วคิดว่าภาษาภูฏานน่าสนใจ มีนักศึกษามาเรียนที่คณะเภสัชศาสตร์แทบทุกปี เค้าพูดภาษาเคาได้ พูดภาษาอังกฤษได้ และก้พูดภาษาไทยด้วยอีกด้วย ส่วนเราเฮ้อออ….

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร