วันเวลาบน Google ภาค 7 : Gregor Mendel's 189th Birthday

Gregor Mendel's 189th Birthday

ห่างกันไปนาน ถึงนานที่สุด กับ Doodle บนอากู๋

ใช่ว่าเขาไม่เปลี่ยนแปลง และก็ใช่ว่าอิฉันจะลืมดู

ก๊อปๆๆๆๆๆ มากมาย แต่ยังมิสา-มา-รด กลั่นบท(ไม่ได้) ความ ซะที

เอานะ เอานะ ของเก่าวางไว้ ของใหม่ก่อนนะ

วันนี้ 20 กรกฏาคม 2011

อากู๋บอกว่า เป็น “Gregor Mendel’s 189th Birthday”

ยุคของความหลากหลายทางเทคโนโลยีในบัดเดี๋ยวนี้

เราๆ ท่านๆ ที่ล่วงผ่านยุคหินมาน๊านนน นานคงต้องเคย(…บ้างน่ะ…)
ที่จะผ่านหูผ่านตาคำว่า
เทคโนโลยีชีวภาพ

และหากจะย้อนความกลับไปสู่อาดูด…(อันนี้เป็น Past perfect ของอดีต อิอิ)

หากจะเอ่ยอ้างชื่อบุคคลสำคัญท่านหนึ่งก็เชื่อว่าหลายคน
หรือแม้กระทั่งทุกคนคงจะคุ้นเคยชื่อนี้เป็นอย่างดี
Gregor Johann Mendel ชื่อฝาหรั่งมังค่า อาจจะดูยาวๆ อีก

เอาๆๆ เอาที่คุ้นๆ ละกัน เมนเดล พอได้นะ

เรามักจะคุ้นการเอ่ยอ้างถึงกฎ ของเมนเดล (Rules of Heredity)

จะว่าไปหากบอกว่าเจ้ากฎนี้เป็นจุดเริ่มของการขับเคลื่อน

วงการเทคโนโลยีชีวภาพให้ก้าวไกลมาถึงเวลาปัจจุบันก็ไม่น่าจะไกลจริง

เกอร์ โยฮัน เมนเดล หรือ เมนเดล ที่เราเคยคุ้น

เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2365 ที่เมือง Heinzendorf

ซึ่งขณะนั้น อยู่ในประเทศออสเตรีย

ปัจจุบันเป็นเมือง Brno ของประเทศเชกโกสโลวะเกีย

วัยเด็กเขาเรียนหนังสือเก่ง เมื่ออายุ 21 ปี เขาได้บวชเป็นพระในนิกาย Augustine

ขณะเดียวกันเขาก็ได้สอบเพื่อรับประกาศนียบัตรวิชาชีพครูด้วย

แต่เขาได้คะแนนวิชาชีววิทยาต่ำจึงสอบตก

แต่เพราะรักวิชาวิทยาศาสตร์เขาได้ไปสมัครเรียน

วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ต่อ ที่มหาวิทยาลัยเวียนนา

การที่เขามีพ่อมีอาชีพทำไร่ มีส่วนทำให้เขาชอบศึกษาการแพร่พันธุ์ของพืช

เมื่อเขามีอายุ 34 ปี เขาได้นำถั่วมาทดลองผสมพันธุ์

และได้วิเคราะห์เอกลักษณ์ที่สำคัญของถั่วถึง 7 ประการ

การบันทึกข้อสังเกตต่างๆ ที่ได้จากการทดลอง จึงทำให้เขาพบกฎพันธุกรรม

ในปี พ.ศ. 2411 เมนเดล ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าอาวาสประจำโบสถ์

ที่ Alt Brünn ภาระงานบริหารทำให้เขาไม่มีเวลาทำการทดลองเรื่องการผสมพันธุ์พืชอีกเลย

เขาเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2427 ขณะมีอายุ 61 ปี ด้วยโรคหัวใจวาย

ภายหลังการเสียชีวิตของเมนเดล วงการวิชาการเพิ่งให้ความสำคัญของการค้นพบของเขา

โดยในปี พ.ศ. 2453 เมื่อ ฮูโก เดฟรีส์ (Hugo de Vries) ชาวเนเธอร์แลนด์ คาร์ล คอเรนส์ (Carl Correns) ชาวเยอรมัน และ เอริช ฟอน แชร์มาค (Erich von Tschermak) ชาวออสเตรีย

ได้อ่านบทความวิจัยเรื่องถั่วของเมนเดล และได้ทดลองตาม

และพบว่า กฎพันธุกรรมที่เมนเดลแถลงไว้นั้น คือ ความจริง

และเมื่อ William Bateson นักชีววิทยาผู้มีชื่อเสียง ชาวอังกฤษ

ได้ยืนยันสนับสนุนถ้อยแถลงของเมนเดล

ชื่อของเขาจึงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ในฐานะผู้ค้นพบ กฎพันธุกรรม นั้น

การทดลองของเมนเดล คือ การผสมถั่วที่มีเอกลักษณ์ต่างๆ กันเช่น

ถั่วที่มีลำต้นสูงกับลำต้นเตี้ย ผลการทดลองทำให้ ได้ถั่วรุ่นลูกทั้งหมดเป็นถั่วที่มีละต้นสูง

เมนเดลเรียกความสูงว่า เป็นเอกลักษณ์เด่น(Dominant)

และความเตี้ยเป็นเอกลักษณ์ด้อย(Recessive)

ดังนั้น เมื่อถั่วรุ่นลูกเอาเอกลักษณ์จากถั่วที่สูง มารวมกับเอกลักษณ์จากถั่วเตี้ย

เอกลักษณ์สูงที่เด่นก็จะบดบังเอกลักษณ์เตี้ยที่ด้อยหมด

ทำให้ถั่วรุ่นลูกมีแต่ถั่วพันธุ์สูงแต่เพียงอย่างเดียว

จากนั้นเขาก็นำถั่วรุ่นลูกมาผสมพันธุ์กันเองใหม่ และพบว่า

ถั่วรุ่นหลาน มีทั้งพวกที่มีลำต้นสูงกับลำต้นเตี้ย โดยมีจำนวนพันธุ์สูง : พันธุ์เตี้ย =3:1

สิ่งที่เมนเดล เรียกเอกลักษณ์ ปัจจุบันก็ คือ ยีน (gene) ที่เรารู้จักดีนั่นเอง

เอานะ เอานะ ใครๆ ที่ยังแสวงหาต้นแบบยีนพันธุกรรมอยู่
ก็พยายามหน่อยน๊าาาา เอาแบบสเปคที่เป็นยีน เด่นๆ น่ะ

เด๋ว พันธุกรรม แตกหน่อมืดมิด แคระแกน จะหาว่าเดี๊ยนม่ะเตือน อิอิอิ

ปรับปรุงข้อมูลจาก

http://variety.teenee.com/world/1705.html

http://www.vcharkarn.com/vcafe/127685

One thought on “วันเวลาบน Google ภาค 7 : Gregor Mendel's 189th Birthday

  • ภาพแต่ละภาพที่กูเกิ้ลนำเสนอเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ของวันนั้นๆ สวยและน่าสนใจมากแต่ไม่ค่อยมีเวลาค้นหาข้อมูลเพิ่ม รอนู๋เล็กนี่แหละ ขอบคุณนะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร