ภาษาคาราโอเกะ

สิ่งสำคัญของคาราโอเกะ คือ การแสดงเนื้อเพลงปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์เพื่อให้นักร้องสามารถร้องตามได้และสอดคล้องกับเสียงดนตรีในแต่ละช่วงตอน ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็นว่าที่หน้าจอคาราโอเกะมักจะมีการแสดงภาษาเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาโรมัน เป็นเพราะเจ้าของค่ายเพลงต้องการเอาใจชาวต่างชาติในไทยที่ชอบร้องคาราโอเกะมากขึ้นเช่นกันเพื่อฝึกภาษาและเพื่อความบันเทิง เฉพาะอย่างยิ่งเพลงที่ดังๆ คำถามที่น่าสนใจก็คือ ภาษาโรมันนั้นเขาเขียนกันอย่างไร
คำตอบเกี่ยวกับวิธีเขียนภาษาคาราโอเกะ คือการใช้หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนดขึ้นและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๒ หลักเกณฑ์นี้ใช้วิธีถ่ายเสียง (tran scription) เพื่อให้อ่านคำภาษาไทยที่เขียนด้วยอักษรโรมันให้ได้เสียงใกล้เคียง โดยไม่คำนึงถึงการสะกดการันต์และวรรณยุกต์

ตัวอย่างการเทียบเสียงพยัญชนะ เช่น
ป = p เมื่อเป็นทั้งตัวต้นและตัวสะกด
ฏ, ต = t เมื่อเป็นทั้งตัวต้นและตัวสะกด
ก = k เมื่อเป็นทั้งตัวต้นและตัวสะกด
ผ, พ, ภ = ph เมื่อเป็นตัวต้น และเป็น p เมื่อเป็นตัวสะกด
ฐ, ฑ, ฒ, ถ, ท, ธ = th เมื่อเป็นตัวต้น และเป็น t เมื่อเป็นตัวสะกด
ข, ฃ, ค, ฅ, ฆ = kh เมื่อเป็นตัวต้น และเป็น k เมื่อเป็นตัวสะกด
บ = b เมื่อเป็นตัวต้นและเป็น p เมื่อเป็นตัวสะกด
ฎ, ฑ (เสียง ด) ด = d เมื่อเป็นตัวต้น และเป็น t เมื่อเป็นตัวสะกด

ตัวอย่างการเทียบเสียงสระ เช่น
สระอะ, -ั (อะลดรูป), รร (มีตัวสะกด), อา = a
สระอิ, อี = i
สระอุ, อู = u
สระโอะ, – (โอะ ลดรูป), โอ, เอาะ, ออ = o
ภาษาคาราโอเกะของเนื้อเพลงดังท่อนหนึ่ง เมื่อเขียนตามหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถาน จะเป็นดังนี้
“นับเป็นช่วงชีวิตที่ดีที่สุด
แม้เป็นแค่เพียงเวลาสั้น ๆ
แต่ก็เคยเกิดขึ้นกับฉัน เพราะเธอ”

เขียนเป็นภาษาคาราโอเกะแล้วก็จะเป็นแบบนี้
“Nap pen chuang chiwit thi di thi sut
mae pen khae phiang wela san san
tae ko khoei koet khuen kap chan phro thoe”.

ข้อที่ต้องสังเกตคือ ภาษาเขียนหรือภาษาที่ผ่านการถอดออกมานั้น ต้องเป็นตัวใหม่เสมอ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีโปรแกรมที่ช่วยการแปลงเสียงจากภาษาไทยเป็นภาษาโรมันเกิดขึ้นแล้ว เช่น โปรแกรม Thai Romanization เป็นต้น
อ้างอิง :  แสงจันทร์ แสนสุภา. “ภาษาคาราโอเกะ”. เดลินิวส์ (๑๐ กันยายน ๒๕๕๑).

One thought on “ภาษาคาราโอเกะ

  • วันก่อนได้บอกน้องๆ กลุ่ม young gen. เรื่องนี้เหมือนกัน คิดว่าน้องๆ อ่านเรื่องนี้แล้ว คงจินตนาการออก แล้วคงเข้าใจดีขึ้นว่าการถอดตัวอักษรจากภาษาไทยเป็นภาษาโรมัน นั้นมีหลักการอย่างไร หรือลองอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ “ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง” (in Thai). ราชกิจจานุเบกษา 116 (ฉบับที่ 37 ง): 11. 1999-05-11. ้http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/D/037/11.PDF

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร