คาราโอเกะ

เนื่องจากชาวหอสมุดจัดสัมมนาทีไร ต้องมีคาราโอเกะทุกครั้ง จึงค้นหาเรื่องเกี่ยวกับคาราโอเกะ (Karaoke) จากวิกิพีเดียและเว็บไซต์อื่นๆ มาฝากเพื่อนๆ
Karaoke มาจากภาษาญี่ปุ่น โดย Kara แปลว่า ว่างเปล่า และ Oke แปลว่า ออเคสต้า คำว่า Karaoke จึงหมายถึง ความบันเทิงชนิดหนึ่ง ที่มีแต่เสียงดนตรี ไม่มีเสียงขับร้องของศิลปิน แล้วให้เราร้องผ่านไมโครโฟน โดยเสียงของศิลปินตัวจริงจะถูกปิดเอาไว้ ลูกค้าที่มาเที่ยวจะร้องเพลง โดยมีเนื้อเพลงเขียนไว้ในกระดาษกางเอาไว้ ให้ดูและร้องตามไป ต่อมาจึงพัฒนาเป็นการเสนอเนื้อเพลงขึ้นมาแสดง บ้างครั้งยังมีการเปลี่ยนสีจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อทำให้เข้าจังหวะกับเพลงบนมิวสิกวีดิโอ ช่วยในการร้องเดี่ยว
อุตสาหกรรมคาราโอเกะเริ่มต้นในญี่ปุ่นเมื่อต้นทศวรรษ 1970 เมื่อนักร้องคนหนึ่ง ชื่อ ไดซุเกะ อินุอะเอะ ได้รับคำร้องขอจากแขกอยู่บ่อยๆ ในร้านอุตะโกะเอะ คิซซา ที่เขาไปแสดงดนตรีนั้น ให้ไปบันทึกการแสดง พวกเขาจึงร้องเพลงไปด้วยในช่วงวันหยุด เมื่อทราบความต้องการของตลาด เขาจึงทำเครื่องบันทึกเทปที่เล่นเพลงได้เมื่อหยอดเหรียญ 100 เยน นี่คือเครื่องคาราโอเกะเครื่องแรก โดยให้เช่าแทนการขายขาด ทำให้ร้านต่างๆ ไม่ต้องซื้อเพลงใหม่ๆ เป็นของตัวเอง
ดังนั้น “คาราโอเกะ” จึงมีจุดมุ่งหมายจัดทำขึ้นเพื่อให้นักร้องในสังกัดใช้ร้องเพลง ในกรณีที่ต้องไปเปิดการแสดง จะได้ไม่ต้องหอบหิ้วเครื่องดนตรี รวมถึงนักดนตรี ให้ยุ่งยาก สิ้นเปลือง ทั้งเป็นธุรกิจเพื่อความบันเทิงและผ่อนคลาย ปี พ.ศ.2520 จึงเริ่มแพร่หลายฮิตติดตลาดญี่ปุ่น เพราะถูกกับอุปนิสัยชาวญี่ปุ่นที่ชอบร้องเพลง
ธุรกิจคาราโอเกะเข้าสู่ประเทศไทยประมาณ พ.ศ. 2520 เริ่มต้นที่ย่าน “ธนิยะ” ในอดีตเป็นศูนย์กลางสำหรับนักธุรกิจนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น กลุ่มลูกค้ายุคแรกในไทยเป็นคนกลางคืนเสียส่วนใหญ่ คาราโอเกะจึงถูกมองในภาพลบ เพราะจะมีเหล้าสาเก เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ รวมถึงมีผู้หญิงไว้คอยบริการ
จากถนนธนิยะ ก็เริ่มแพร่หลายกลายเป็นรูปแบบความบันเทิงใหม่ยามราตรีทั่วกรุงเทพฯ และตามเมืองใหญ่ๆ และขยายสู่ระดับอื่นๆ อย่างกว้างขวางในปี 2539 จัดบริการในรูปตู้คาราโอเกะ โดยผู้ลงทุนจะเป็นเจ้าของตู้คาราโอเกะและนำไปวางตามร้านอาหารแบ่งเปอร์เซ็นต์กับเจ้าของร้าน
เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ค่ายเพลงเห็นว่าคาราโอเกะเริ่มได้รับความนิยมแพร่หลาย บวกกับพฤติกรรมของผู้บริโภคของคนไทยที่มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น งานสังคมการสังสรรค์ต่างๆ ก็นิยมใช้กิจกรรมคาราโอเกะเพื่อความบันเทิง ทำให้มุมมองของคาราโอเกะที่เป็นธุรกิจในรูปแบบของคนกลางคืนลดน้อยลง บริษัทเมเจอร์ ซินิเพล็ก จึงเริ่มธุรกิจคาราโอเกะยุคแรกที่สาขารัชโยธิน และพยายามสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้แก่คาราโอเกะโดยให้เป็นธุรกิจในตอนกลางวัน (Karaoke Clean) ทำให้ทัศนคติของคาราโอเกะเป็นไปในแง่บวก กอปรกับการสนับสนุนของค่ายเพลงต่างๆ ที่ผลิตแผ่นคาราโอเกะออกมามากขึ้นและเทคโนโลยีของอุปกรณ์เครื่องคาราโอเกะที่ทันสมัยมากขึ้น ทำให้ธุรกิจของคาราโอเกะเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นที่นิยม และเป็นเหตุนำไปสู่การเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์เผยแพร่และค่าทำซ้ำต่อสาธารณชน ในปี 2545
เหตุที่คาราโอเกะแพร่หลายอย่างรวดเร็วในทุกที่ เพราะมีผู้พบว่า คาราโอเกะมีประโยชน์ในหลายประการ เช่น การสร้างเสียงดนตรี (โดยการสังเคราะห์) ให้ความไพเราะเหมือนจริง คุณภาพเสียงขึ้นอยู่กับ wavetable ที่นำมาใช้ร่วมกับอุปกรณ์เสริม สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Note book ในการเล่นโปรแกรม karaoke ทำให้สะดวกในการขนย้าย หรือสามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สมรรถนะต่ำ ราคาถูก แต่ยังให้คุณภาพเสียงดนตรีไพเราะ
สำหรับผู้ทำหน้าที่นักร้อง จะได้ประโยชน์อย่างยิ่งคือ ทำให้เป็นคนกล้าแสดงออก คาราโอเกะทำให้ฝึกร้องเพลงได้ดี คาราโอเกะทำให้เกิดความรักแก่ครอบครัวมากขึ้น เพราะเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมได้ทุกคนในครอบครัว ทั้งช่วยให้คลายเครียดได้อย่างดี และขอเน้นว่า ยังฝึกการอ่านและความจำได้เป็นอย่างดีด้วย ทางการแพทย์ให้การยอมรับด้วยว่า คาราโอเกะบำบัดรักษาโรคได้

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร