Blog + Book = Blook ปรากฎการณ์ใหม่ของหนังสือวันนี้

การเขียน Blog เป็นที่รู้จักมาสักระยะหนึ่งแล้ว ในโลกของ Social network และกำลังเป็นที่นิยมในวงกว้างมากขึ้น โดยไม่จำกัดวัย เพศ หรืออาชีพ ซึ่งในตอนแรกๆ ผู้ที่ชื่นชอบการเขียน Blog คือกลุ่มของผู้ที่ชื่นชอบเทคโนโลยี Blog มาจากคำว่า web log ซึ่งหมายถึง การบันทึกสิ่งต่างๆ ลงในเว็บ อาทิ เรื่องราวเกี่ยวกับสังคม การบ้านการเมือง ข่าวสารท้องถิ่น ที่ผู้เขียน หรือ Blogger  รู้สึกสนใจ ซึ่งก็รวมถึงเรื่องราวส่วนตัวและความรู้สึกในใจของแต่ละคน โดยภายในแต่ละ Blog ก็จะประกอบไปด้วยบทความ รูปภาพต่างๆ ที่สามารถลิงก์ไปยัง Blog, เว็บเพจ และสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ด้วย ทุกวันนี้ Blog ได้กลายเป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลต่อความคิดคนไม่แพ้สื่อใดเลย นักเขียนชื่อดังหลายคนนิยมที่จะบันทึกเรื่องราว ความคิดเห็น ความรู้สึกของตนลงใน Blog ซึ่งทำให้แฟนหนังสือยิ่งรู้สึกใกล้ชิดและเข้าถึงนักเขียนมากกว่าเดิม ไม่เพียงแค่นั้น Blog ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้าง Blogger ให้กลายเป็นนักเขียนหน้าใหม่ไฟแรงอีกด้วย และทั้งหมดนี้ก็ได้นำมาสู่ก้าวสำคัญของการก่อเกิดเทรนด์ใหม่ ที่ช่วยเชื่อมโยงระหว่างโลกออนไลน์และโลกหนังสืออย่าง “Blook”
Blook เป็นหนังสือลูกผสม ที่เกิดจากการรวบรวมเนื้อหาใน Blog มาตีพิมพ์เป็นหนังสือ คือ Book จึงกลายเป็นศัพท์ใหม่ ว่า Blook ซึ่งเกาะกระแสอินเทรนด์ของโลกออนไลน์ ในวิกิพีเดีย  ให้ความหมายของลูกผสมอย่าง Blook ไว้ว่า หมายถึง การตีพิมพ์หนังสือที่รวมเล่มมาจาก Blog
blookBlook เล่มแรกของโลกคือผลงานของ Tony Pierce โดยเขาได้รวบรวมและคัดสรรเรื่องราวมาจาก http://tonypierce.com/blog/2002_12_21.html#blogarc.htm ซึ่งเป็น Blog ของเขาเองและหลังจากนั้นเป็นต้นมา Blook ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากโลกไซเบอร์และสำนักพิมพ์ พิสูจน์ได้จากการที่เว็บไซต์ดังอย่าง Amazon ได้จัดหมวดหมู่ให้ Blook โดยเฉพาะ และมีอีกหลายรางวัลในโลกวรรณกรรมไซเบอร์ ที่ตั้งขึ้นเพื่อ Blook อีกด้วย
โดยรางวัลที่ขึ้นชื่อมากที่สุด น่าจะเป็น Lulu Blooker Prize ของสำนักพิมพ์หนังสือออนไลน์ Lulu ซึ่งเป็นการประกวดวรรณกรรม ที่อยู่บน blog หรือเว็บไซต์ โดยแบ่งออกเป็นสามประเภท ได้แก่ นวนิยาย สารคดี และการ์ตูน ผู้ชนะเลิศในแต่ละประเภทจะได้รับเงินสดมูลค่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ และมีรางวัล grand total สำหรับงานเขียนที่ดีที่สุดอีกหนึ่งรางวัลด้วย เช่น เรื่อง Julie and Julia ผลงานของ  Julie Powell เลขาสาววัยสามสิบปี ผู้เป็น winner of the first annual Lulu Blooker Prize จากหมวด Non-Fictions เป็นการเขียนถึงการทำอาหารจากตำราของJulia Child’s Mastering the Art of French Cookingjulia
Blook ส่วนใหญ่จะรวมเล่มจาก Blog ดังที่มีคนเข้าไปอ่านและแสดงความคิดเห็นเยอะๆ เพราะนั่นคือ คำยืนยันอย่างหนึ่งว่า พิมพ์แล้วหนทางขาดทุนไม่ค่อยมี เพราะอย่างไรซะแฟนๆ บล็อกนั้นก็จะตามไปซื้ออ่านแน่ๆ
สำหรับตลาดหนังสือใน ประเทศไทยนั้น Blook ก็เริ่มที่จะติดหูติดตาคนอ่านขึ้นเรื่อยๆ โดยมีหนังสือที่ดีทั้งยอดขายและคุณภาพหลายเล่มที่จัดพิมพ์ขึ้นจาก Blog เล่มแรกคือ “ไม่ไปทำงานได้ไหมเนี่ย” เห็นชื่อแล้วน่าหยิบมาอ่านจังเลยนะ (สงสัยตรงใจใครหลายๆ คน) แต่ที่จริงแล้ว Blook เล่มนี้ ไม่ใช่ของคนไทยหรอก แต่เป็นผลงานของเจ้าของฉายาราชินีบล็อกเกอร์จากไต้หวัน “วานวาน (Wan Wan)” หญิงสาววัย 25 ปี ที่เขียนเรื่องราวรอบตัวใน http://www.wretch.cc/blog/cwwany แบบเปิ่นๆ ขำๆ จนมีคนติดทั้งบ้านทั้งเมือง และมีสำนักพิมพ์นำไปพิมพ์จนติดอันดับหนังสือขายดีของไต้หวัน “ไม่ไปทำงานได้ไหมเนี่ย”  มีเอกลักษณ์ที่ภาพการ์ตูนหัวกลมใหญ่มีผมหยิกข้างหลัง 1 เส้นสีสันสดใส พูดไม่เยอะ สื่อสารเรียบง่าย แต่เน้นฮาที่ท่าทาง โดยฉบับภาษาไทยนั้น สำนักพิมพ์นานมี เป็นผู้จัดพิมพ์ และมี อนุรักษ์ กิจไพบูลทวี เป็นผู้แปลwan-wan
ส่วน Blook ไทย 100% นั้น ก็ต้อง “Blog Blog” ผลงานของ “ปิ่น ปรเมศวร์ หรือ ปกป้อง จันทวิทย์” อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ โดย สำนักพิมพ์ openbooks ซึ่งรวบรวมจากบทความส่วนตัวของนักเศรษฐศาสตร์หนุ่มใน Blogspot  เล่า เรื่องราวดีๆ มีสาระ จากประสบการณ์การศึกษาในต่างแดน และมุมมองของสิ่งที่เค้ามองเห็นbolg-blog
อีกเล่มหนึ่งของสำนักพิมพ์ระหว่างบรรทัด คือ “โลกนี้มันช่างยีสต์” ของ “แทนไท ประเสริฐกุล” ผู้สนใจวิชาชีววิทยา เรื่องราวในเล่มเล่าถึงทัศนคติที่มีต่อชีวิต คน สัตว์ และอื่นๆ ที่นำมาสอดแทรกผ่านเรื่องราวต่างๆ ในสไตล์เฉพาะตัวที่ยียวนและกวนสุดสุด
ทั้งสองเล่มสองแนวออกวางจำหน่าย ในขณะที่คำว่า Blook ยังไม่แพร่หลายในบ้านเรามากนัก แต่ก็ได้รับการตอบรับจากคนอ่านพอสมควร ถึงจะไม่ติดอันดับขายดี แต่ก็ขายได้ 2 ทาง ทั้งจากแฟนประจำ Blog ที่มาอุดหนุน และแฟนนักอ่านที่ตามไปอ่าน Blog
ส่วนอีกเล่มก็ต้องเรื่อง “หนังสือรัก” ผลงานของเจ้าของนามปากกา “ผมอยู่ข้างหลังคุณ” หรือ “พีรพล ภัทรนุธาพร” จิตแพทย์หนุ่มผู้ชื่นชอบและหลงใหลในแผ่นฟิล์ม จนสร้าง http://aorta.bloggang.com ขึ้นมาเพื่อเขียนถึงหนังที่ตนรัก ซึ่ง Blog นี้ได้รับการโหวตให้เป็น Popular Award อันดับหนึ่งในสาขาภาพยนตร์ จากเว็บ Bloggang เป็นการเสนอข้อคิดจากความสัมพันธ์ ความประทับใจ และความรักหลากรูปแบบจากหนัง
และ Blook ฉบับคนไทยเล่มล่าสุดคือ ผลงานของนักเขียน นักเดินทาง อารมณ์อบอุ่น “โดม วุฒิชัย” “อย่าง ห่างไกล ไม่ห่างกัน”  ที่ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งรวบรวมเรื่องราวมาจาก http://porpayia.bloggang.com ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความห่างไกลในระยะทางระหว่างโดมและลูกสาว โดมเลือกที่จะสื่อสารความรู้สึกระหว่างกันด้วยตัวอักษรในโลกไซเบอร์ ผ่านรูปแบบของจดหมาย ที่แม้จะเป็นความเรียงง่ายๆ แต่ก็ลึกซึ้งด้วยความห่วงใย พิสูจน์ได้จากจดหมายทั้ง 52 ฉบับ ที่ถ่ายทอดความสุขใจอันรื่มรมย์ แต่แฝงด้วยข้อคิดและคำสอนระหว่างบรรทัดเสมอ สมกับที่โปรยไว้ว่า “แม้ว่าในชีวิตจะเคยผิดพลาดมาหลายครั้งหลายหน แต่ผู้ชายคนนี้ไม่เคยลืมความรักและหน้าที่ของการเป็นพ่อ ซะจริงๆ”
เมื่อโลกออนไลน์และโลกของหนังสือที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน Blog ไม่เพียงช่วยให้นักเขียนใช้พื้นที่ตรงนี้เพื่อพบปะเหล่ามิตรสหายได้อย่างเสรี และช่วยเผยแพร่ผลงานไปในตัวเท่านั้น แต่ในอีกด้าน นี่ก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้ Blogger หน้าใหม่ได้ก้าวเข้าสู่การเป็นนักเขียนได้ง่ายขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือ การจะมาถึงการเป็น Blook ได้นั้น ไม่ใช่แค่การเป็น Blog ที่มีคนเข้าชมสูงเสมอไป หากแต่อยู่ที่เนื้อหาที่จะนำเสนอออกมาด้วยเช่นกัน เห็นความสำเร็จอย่างนี้แล้ว ก็ไม่ต้องแปลกใจนะ ถ้าอยู่ดีๆ คนข้างตัวก็ลุกขึ้นมาสร้าง Blog แบบฉับไว ไม่ก็ขยันอัพเดตหาจุดดึงดูดให้ Blog ของตนเอง ก็เผื่อวันหนึ่ง Blog จะออกแตกแขนงเป็น Blook ให้เจ้าของได้ชื่นใจกันบ้าง
ข้อมูลและรูปภาพจาก :
http://www.idayblog.com/archives/217
http://www.vcharkarn.com/varticle/38231

5 thoughts on “Blog + Book = Blook ปรากฎการณ์ใหม่ของหนังสือวันนี้

  • เยี่ยมมากๆ อย่างนี้ซิ คนห้องสมุด ป้าอวดชาวบ้านเขาไว้เยอะว่า น้องๆเก่งๆๆๆๆๆๆ แล้วไม่ใช่เก่งแต่ปากนะ เก่งทุกอย่าง ปาก มือ สมอง ดูตัวอย่างก็ป้าไง ฮ่าๆๆๆๆ

  • หนึ่งร้อย blog จะทำเป็น e-blook ให้ค่ะ แล้วก็จะทำเป็นของแต่ละคนให้ถ้าใครเขียนครบร้อย แต่มีข้อแม้ว่าต้องเขียนแบบหลายๆ บรรทัดหน่อย….. อย่างน้อยห้าบรรทัดมีรูปประกอบ สิบบรรทัดเฉพาะเนื้อหา คอยๆ เขียน ค่อยๆ เก็บประสบการณ์ จากเรื่องที่หนึ่งถึงร้อย ไม่ยากค่ะ ทุกคนต้องเริ่มนับหนึ่ีงทั้งนั้น แล้วเราจะเห็นพัฒนาการทั้งเรื่องการเขียนและความคิดของตัวเราเอง เอาใจช่วยทุกคนค่ะ

  • ขอบคุณค่ะ ไ้ด้รับความรู้โดยไม่ต้องอ่าน

  • ขอบคุณนะครับที่ช่วยขยายหาข้อมูลต่อในเรื่อง e-publishing ว่าแต่นี่งานเข้าคุณเอกอนง ใช่ไหมครับ ผมฝากด้วยนะ

  • ข้อมูลดีมากเลย แถมไม่ต้องค้นหาเอง

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร