ภาษาอังกฤษ วันนี้ได้หลายคำ

ภาษาอังกฤษวันละคำ จะเป็นประโยคที่คุ้นหู  แต่มีประโยคทีีไม่คุ้นหูจำนวนมากมายจากครู Gary ที่สอน  พวกเเราไปเมือเดือนที่แล้ว
วันนี้มีเหตุเนื่องจากมีผู้ใช้บริการแจ้งว่าท่านชื่อคุณวารินทร์  โทรศัพท์มาที่ห้องสมุด คุณพี่ตาคาดว่าต้อ’มีงานเข้าแน่นอน จึงเชิญอะฮั้นไปฮัลโหลรับสาย สรุปความว่า ท่านได้เข้าใช้วิทยานิพนธ์ฉบับออนไลน์จากห้องสมุดของเราแล้วพบว่า ในส่วนที่เป็นชื่อผู้แต่ง ใช้ภาษาอังกฤษว่า History … อิชั้นก็งงๆ ว่าตรงไหนหว่า เพราะเราเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ภาษาไทย ถ้าเป็นตัวเล่มวิทยานิพนธ์ก็ต้องบัณฑิตวิทยาลัยเป็นคนทำ ไม่น่าจะเกี่ยวกับเรา แจ้งท่านไปว่าจะนำความนี้ไปสื่อให้กับผู้รับผิดชอบให้ดำเนินการต่อไป
พอกลับมาค้นๆ ใน WebOPAC ว่าตรงไหนหนอ อพิโธ่ถัง เป็นชื่อไฟล์นี่เอง (ท่านบอกว่าทั้งหมดเลยครับ ขอความกรุณาไปแก้ด้วย) แหะๆ จึงรีบพิมพ์ออกมาเรียนท่านหัวหน้าหอสมุดเพื่อโปรดพิจารณาต่อไปด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง
history
มีใครคิดไหมว่าอะฮั้นจะหยุด …รับรองว่าม่ายมี๊ เพราะจากนั้นก็ไปค้น ควานหาว่าที่อื่นเป็นใช้คำอะไร ท่ามกลางบรรยากาศง๊อกๆ แง๊กๆ ของ database หรือของ network ก็ไม่ทราบได้ … จนคนที่ร่างกายแข็งแรงแม้จะไม่ใช่นักกีฬา (อิอิ มีพาดพิง)
แต่ค้นแล้ว History ใช้ไม่ได้เด็ดขาด เพราะอธิบายความหมายไว้เยี่ยงนี้แล
n., pl., -ries.

    1. A usually chronological record of events, as of the life or development of a people or institution, often including an explanation of or commentary on those events: a history of the Vikings.
    2. A formal written account of related natural phenomena: a history of volcanoes.
    3. A record of a patient’s medical background.
    4. An established record or pattern of behavior: an inmate with a history of substance abuse.
  1. The branch of knowledge that records and analyzes past events: “History has a long-range perspective” (Elizabeth Gurley Flynn).
    1. The past events relating to a particular thing: The history of their rivalry is full of intrigue.
    2. The aggregate of past events or human affairs: basic tools used throughout history.
    3. An interesting past: a house with history.
    4. Something that belongs to the past: Their troubles are history now.
    5. Slang. One that is no longer worth consideration: Why should we worry about him? He’s history!
  2. A drama based on historical events: the histories of Shakespeare.

Read more: http://www.answers.com/topic/history#ixzz1KcaW6GKh
จึงค้นต่อไปเพื่อดูว่าแล้วที่อื่นเค้าใช้คำว่าอะไรสักสองสามแห่ง แบบน้ำ้จิ้มๆ
เริ่มจาก มช. เก็บส่วนท้ายทั้งหมดไว้ที่ app. ซึ่งย่อมาจากคำว่า appendix ซึ่งแผลว่า ภาคผนวก หรือส่วนต่อท้าย และส่วนที่ติ่งๆ ออกมา รวมทั้งแปลว่า ไส้ติ่ง 555 เพิ่งรู้นะเนี่ย
history2
ซึ่งเหมือนกับของศิลปากรที่อยู่ในส่วนฐานข้อมูล ThaiLIS เก็บส่วนท้ายไว้ที่ appendix เช่นกัน ลองค้นจากรายการเดียวกัน แต่การตั้งชื่อไฟล์ต่างกัน ……………………
history6
ต่อไปที่ ม.มหาสารคามใช้คำว่า biodata ซึ่งย่อมาจากคำว่า Biographical Data ซึ่งแปลว่าประวัติย่อ นี่ถ้าไม่รู้มาก่อนก็จะคิดแบบมั่วๆ ว่าเป็นการนำคำว่า bio ซึ่งเป็นรากศัพท์ในภาษากรีก ที่แปลว่าสิ่งมีชีวิต กับคำว่า data หรือ ข้อมูล แปลว่ารวมกันก็คือข้อมูลผู้เขียน
history3
ส่วนของมหาวิทยาลัยขอนแก่นใช้คำว่า Vitae อันแปลว่า ชีวประวัติโดยสังเขป ซึ่งมีความหมายเท่ากับคำว่า curriculum vitae หรือย่อว่า CV ซึ่งมักเป็นในเงื่อนไขในการสมัครงานหรือขอทุนกับเอกชน หรือองค์กรระหว่างประเทศ ที่มักใช้คู่กันกับคำว่า Resume ซึ่งเป็นคำในภาษาฝรั่งเศส แต่เอามาใช้จนคุ้น อ่านว่า เร- ซู-เม่ …นักศึกษาปี 4 ชอบมาหาหนังสือเกี่ยวกับการเขียนเร-ซู-เม่ … ห้ามงงนะฮะ
history4
ส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีใช้คำว่า bio. คำอธิบายน่าจะเป็นแบบเดียวกับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
history5
คำๆ เดียวเล่นเอามึนตึ๊บ ใครเคยเห็นคำไหนมาเม้นท์กันหน่อยนะคะ … นึกถึงตอนที่เขียนป้ายประกาศต่างๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษ ส่งให้ทั้งนักเรียนนอกดู ส่งให้เจ้าของภาษาดู ก็ยังได้รับคำแนะนำว่าต้องใช้คำโน้น คำนี้แทน นักเรียนบ้านนอกอย่างอิชั้นมึนได้อีกเรื่อยๆ ค่ะ
ขอบคุณคุณวารินทร์ นะคะที่กรุณาชี้แนะ ขณะนี้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายกำลังแก้ไขอยู่ค่ะ ส่วนแหล่งกลางอย่างพวกเราต้องถามได้ตอบได้นะคะ
จุ๊บๆ รักคนอ่านทุกคน
ส่วนดิฉันเห็นความแตกต่างกันแล้ว นึกถึงสารพัดไฟล์ของของตัวเอง กับเรื่องที่พี่หน่อยมาเล่าให้ฟังเมื่อปีก่อนเรื่องมาตรฐานการตั้งชื่อไฟล์จังเลยค่ะ ลืมกันหรือยังคะพี่น้องผองเพื่อน

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร