ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย (รายบุคคล) : วิธีการ

จากที่ได้เล่าถึงหลักการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายรายบุคคล ว่าจะต้องกำหนดตัวชี้วัดตาม SMART กำหนดประเภทของตัวชี้วัดว่ามุ่งเน้นปริมาณ คุณภาพ ความรวดเร็ว หรือความประหยัดคุ้มค่า และกำหนดค่าเป้าหมายตั้งแต่ระดับ 1-5 ซึ่งระดับ 1 เป็นค่าเป้าหมายต่ำสุดที่สามารถยอมรับได้ ไปจนถึงระดับ 5 ซึ่งเป็นระดับท้าทายที่มีความยาก
ถึงตอนนี้จะพูดถึงวิธีการกำหนดตัวชี้วัด ซึ่งมี 3 วิธี
วิธีการแรก การถ่ายทอดตัวชี้วัดผลสำเร็จจากบนลงล่าง (Goal cascading method) โดยลักษณะงานที่เหมาะสมคือ งานตามคำรับรอง งานตามแผน งานของผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร และงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก โดยที่ค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดผลงานควรสอดรับหรือสะท้อนภาระหน้าที่ที่ผู้ปฏิบัติงานพึงกระทำให้สำเร็จ ดังนั้นจะเริ่มต้นโดยการใช้ตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานเป็นตัวตั้ง ซึ่งอาจกำหนดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งคือ
…..– ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายเป็นตัวเดียวกันกับผู้บังคับบัญชา เกิดขึ้นเมื่อผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงานต้องรับผิดชอบต่อความสำเร็จร่วมกัน ไม่สามารถแบ่งแยกกันได้
…..– ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายแบ่งส่วนจากส่วนของผู้บังคับบัญชา เกิดขึ้นจากการที่ผู้บังคับบัญชารับผิดชอบต่อเป้าหมายรวม โดยที่เป้าหมายรวมเกิดจากผลผลิตของผู้ปฏิบัติงานหลายคนที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเหมือนๆ กัน
…..– ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายเป็นคนละตัวกับผู้บังคับบัญชา แต่จะเป็นตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่สะท้อนงานที่เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายโดยรวมของผู้บังคับบัญชา ซึ่งตัวชี้วัดของผู้ปฏิบัติงานจเป็นตัวชี้วัดที่ผู้ปฏิบัติงานไ้ด้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานเพียงบางด้าน

วิธีการที่ 2 การสอบถามความคาดหวัดของผู้รับบริการ (Customer-focused method) โดยลักษณะงานที่เหมาะสมคือ งานให้บริการ งานของหน่วยงานสนับสนุน หรืองานที่มีผู้รับบริการเป็นหัวใจสำคัญ โดยการกำหนดตัวชี้วัดจะใช้ความคาดหวังหรือความต้องการของผู้รับบริการเป็นตัวตั้ง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะบ่งชี้ถึงผลการปฏิบัติงานว่าทำได้ดีเพียงใด

วิธีการที่ 3 การไล่เรียงตามผังการเคลื่อนของงาน (Workflow-charting method) โดยลักษณะงานที่เหมาะสมคือ งานที่มีขั้นตอนหลายขั้นตอน แต่ละขั้นตอนเกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติงานหลายคนที่อยู่ภายในสำนัก/กองเดียวกัน โดยจะกำหนดตัวชี้วัดให้กับงานที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับยุทธศาสตร์ แต่จะไล่เรียงเนื้องานในความรับผิดชอบของตำแหน่งงาน
จะเห็นว่าวิธีการกำหนดตัวชี้วัดค่อนข้างจะมีความละเอียดและซับซ้อนพอสมควร ซึ่งจะได้นำมาเล่าเพิ่มเติมในครั้งต่อไป… 😉

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร