ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย (รายบุคคล) : หลักการ

หลังจากทำตัว in trend กับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่สำนักหอสมุดกลางให้ประเมินผลการปฏิบัติงานโดยใช้ตัวชี้วัด (KPI) รายบุคคล เลยถือโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ของสำนักงานข้าราชการพลเรือน เรื่องการจัดทำตัวชี้วัด ให้มันรู้แล้วรู้รอดไปซะเลย และตอนนี้ก็เป็นโอกาสอันดีที่จะมาเล่าให้ฟังว่าได้อะไรมาบ้างกับเรื่องนี้…
การจัดทำตัวชี้วัดทำไปทำไม…ก็เพื่อบริหารผลการปฏิบัติงาน ใหัมีผลการปฏิบัติงานที่สูงขึ้น และช่วยผลักดันให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายขององค์กร
ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน เป็นเครื่องมือในการกำกับการปฏิบัติงาน ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานเทียบกับค่าเป้าหมายที่กำหนด โดยที่ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงานจะร่วมกันวางแผน กำหนดวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความเ้ข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับเป้าหมายขององค์กร กำหนดปัจจัยชี้วัดความสำเร็จ มาตรฐานของผลงานที่สามารถวัดได้ ตรวจสอบได้ และมีความเที่ยงธรรม
หลักการกำหนดตัวชี้วัด
การกำหนดตัวชี้วัด —> จะอ้างอิงกับงานที่ผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบ นั่นก็คือ
– งานตามที่ปรากฎในคำรับรองการปฏิบัติราชการ หรือแผนปฏิบัติงานประจำปีของส่วนราชการ (ยุทธศาสตร์)
– งานตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลักของหน่วยงาน หรือตำแหน่งของผู้รับการประเมิน ที่ไม่อยู่ในข้อแรก (งานภารกิจ)
– งานที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ (ไม่ใช่งานประจำ) เช่น งานโครงการ หรืองานแก้ปัญหาสำคัญ
หลักการกำหนดตัวชี้วัด จะแยกออกเป็น การกำหนดตัวชี้วัดตาม SMART ประเภทของตัวชี้วัด และการกำหนดค่าเป้าหมาย
1. กำหนดตัวชี้วัดตาม SMARTSpecific มีความชัดเจนว่าต้องการอะไร — Measurable วัดได้จริง — Agree Upon ผู้บังคับบัญชาและผู้ปฏิบัติงานเห็นชอบร่วมกัน — Realistic and Relevant มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้สำเร็จได้จริง เกี่ยวข้องกับงานหรือหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน — Time bound อยู่ในกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมตามรอบการประเมิน
*** ในการกำหนดตัวชี้วัด ต้องพิจารณาว่ามีลักษณะตามเกณฑ์ SMART หรือไม่ ถ้าไม่ ต้องพิจารณาปรับแก้ตัวชี้วัดใหม่ ***
2. ประเภทของตัวชี้วัด แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
– ประเภทที่มุ่งเน้นปริมาณของงาน (ปริมาณ) –> จำนวนผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จ
– ประเภทที่มุ่งเน้นคุณภาพของงาน (คุณภาพ) –> ความถูกต้อง เรียบร้อย เปรียบเทียบกับมาตรฐาน
– ประเภทที่มุ่งเน้นเวลาที่งานสำเร็จ (ความรวดเร็ว) –> เวลาที่ใช้เทียบกับมาตรฐานที่กำหนด
– ประเภทที่มุ่งเน้นความประหยัด คุ้มค่าในการใช้ัทรัพยากร (ความประหยัดคุ้มค่า) –>ประหยัดการใช้วัสดุอุปกรณ์ ต้นทุน และค่าใช้จ่าย
3. การกำหนดค่าเป้าหมาย หลังจากที่กำหนดตัวชี้วัดเสร็จ ควรร่วมกันพิจารณากำหนดค่าเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อประเมินการให้คะแนน โดยกำหนดเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ะดับ 1 ซึ่งเป็นค่าเป้าหมายต่ำสุดที่สามารถยอมรับได้ ไปจนถึงระดับ 5 ซึ่งเป็นระดับท้าทายที่มีความยาก ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้ความสามารถ ความทุ่มเท ความอุตสาหะ บากบั่นเป็นอย่างยิ่ง และมีความสามารถสูงกว่าคนอื่นเป็นอันมาก
การกำหนดค่าเป้าหมายเป็น 5 ระดับ ให้เริ่มจากการกำหนดค่าเป้าหมายระดับมาตรฐาน (ระดับ 3) เป็นหลักไว้ก่อน จากนั้นจึงค่อยพิจารณาประเด็นต่างๆ เพื่อกำหนดระดับ 2 และ 4 เมื่อสิ้นสุดรอบการประเมิน ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ประเมิน มีหน้าที่พิจารณาประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำได้จริงตลอดรอบการประเมิน เทียบกับค่าเป้าหมาย ตามที่ได้ลงนามร่วมกันไว้
ที่ว่ามาทั้งหมดเป็นเพียงเบื้องต้นในการจัดทำตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย…หากมองย้อนกลับมาในส่วนของหอสมุดฯ ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ในการกำหนดค่าเป้าหมายที่ทำกันไปแล้วนั้น เรากำหนดกันไปในทิศทางใด และตัวชี้วัดของเรา SMART หรือไม่… 😉

One thought on “ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย (รายบุคคล) : หลักการ

  • ให้พี่ใหญ่นัดวันพูดคุย KPIs ของรอบใหม่แล้ว เรียกให้เก๋ก็ วิพากษ์ KPs นั่นแหละ เตรียมตัวได้เลย ก็บอกแล้ว KPIs ของพวกเราเปลี่ยนได้ตลอดเวลารายรอบก็ว่าได้ จริงไม๊ บ่ยั่นอยู่แล้ว

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร