ถามชาวค่าย

คุณป้าถามหลาน น้องเต็มว่า ไม่ไปค่ายได้สักวันไหม จะพาไปเที่ยว น้องเต็มตอบคุณป้าว่าป้าคะ การไม่ไปค่ายหนึ่งวัน ทำให้เสียโอกาสไปเลย เพราะที่ค่ายไม่มีกิจกรรมซ้ำกันเลยค่ะ …
นำมาเล่าให้ป้าๆ ฟังว่าน่าจะเป็นฟีดแบคที่ดีเพราะปรกติแล้วเรื่องเที่ยวกับคุณเต็มจะไม่พลาด หนึ่งเดือนไปเรียนครบทุกวันกลายเป็นเรื่องผิดปกติ ส่วนเรื่องกิจกรรมที่ไม่ซ้ำนี่นับเป็นสุดยอดที่คณะทำงานสามารถสรรหาและเนรมิตออกมาได้อย่างเหลือเชื่อ…
จึงอดไม่ได้ที่จะนำคำเล็กๆ ของเด็กมาทบทวนวิธีการทำงานของพวกเราว่าอะไรเป็นสาเหตุและที่มาที่ไป ซึ่งน่าจะเป็นคุณประโยชน์สำหรับรุ่นหลังๆ ต่อไปว่ารุ่นพี่ๆ มีแนวคิดการทำงานอย่างไร
นึกถึงตอนที่พวกเราเตรียมค่ายกัน เรื่องราว กิจกรรมพวกเราจะระมัดระวังไม่ให้มีซ้ำ เพราะดูจากรายชื่อของคนที่เข้ามาเข้าค่าย มีบางส่วนที่ซ้ำกัน รวมถึงระวังไปยังกิจกรรมต่างๆ เช่น ในงานองค์พระปฐมเจดีย์ กระทั่งสีเสื้อ และรายการอาหาร
รายชื่อของเด็กๆ ที่มาในค่ายเรา อาจจะเรียกแบบโก้เก๋ว่า เป็นฐานข้อมูลผู้ใช้บริการ ส่วนกิจกรรมต่างๆ ก็คือ ฐานข้อมูลกิจกรรม ที่เราสามารถเอามาเชื่อมโยงและนำมาใช้โดยไม่ต้องพึงพาเทคโนโลยีใดๆ ทั้งสิ้น มีเพียงรอยปากกาที่ขีดเขียน ในปึกกระดาษที่ยับย่นยู่ยู่ บวกกับหน่วยความจำในสมองของคณะทำงานแต่ละคน และดำเนินงานการจัดการความรู้แบบเนียนไปกับเนื้องาน ผสมผสานไปกับเวลาคุย เวลาบ่น ประชุม …แบบโขมงโฉงเฉง พร้อมที่จะแบ่งปันกันได้และสรุปเป็นวิธีการทำงานในตลอดทั้งสัปดาห์
ระหว่างการทำงานก็มักเริ่มพูดถึงว่าปีนี้มีปัยหาแบบนี้ ปีหน้าเราต้องทำแบบนี้แบบโน้น
แต่ KM ประสาพวกเรา ไม่เป็นที่ไว้วางใจเพราะขาดและปราศจากหลักฐานใดๆ ให้ปรากฏจึงเป็นภาระหนักของประธานฯ และเลขาในการเขียนรายงานผล ส่วนการถอดบทเรียนกลายเป็นหน้าที่ของที่ปรึกษาโดยไม่ได้ตั้งใจ
เรามักคิดว่าคนนั้นเขียนแล้ว ทั้งที่มีเรื่องราวในหลากหลายมุมมองที่เราช่วยกันเติมเสริมข้อมูลได้ ปีนี้จึงอยากอ่านเรื่องราวจากหลายๆ คน ที่มาบอกเล่าในส่วนที่ตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้อง
คงต้องใช้กระบวนการของถาม-ตอบดังนี้คือ
อยากรู้ว่า ครูมวยไทยมาได้อย่างไร
อยากรู้ว่า เด็กกินอาหารอย่างไร
อยากรู้ว่า ทำไมจึงกำหนดวันของค่ายในช่วงนี้
อยากรู้ว่า ไปนิมนต์พระมาอย่างไร
อยากรู้ว่า ไปรับพระอย่างไร ในเมื่อไม่รู้จักชื่อท่านเลย
อยากรู้ว่า ทำไมจึงเลือกเสื้อสีนี้ และออกแบบเป็นแบบนี้
อยากรู้ว่า ไปติดต่อนักศึกษามาช่วยทำงานได้อย่างไร
อยากรู้ว่า มีภาระเรื่องขยะมากน้อยแค่ไหนและคนทำความสะอาดไปจัดการอย่างไร
อยากรู้ว่า ผู้ปกครองเข้ามาติดต่อกับเราได้อย่างไร
อยากรู้ว่า แบ่งหน้าที่กันอย่างไร ในแต่ละวัน โดยไม่กระทบกับงานประจำ
อยากรู้ว่า ใครทำอะไรได้มากขึ้นหรือมีความก้าวหน้าอย่างไร
อยากรู้ว่า มีปัญหาเฉพาะหน้าอะไรให้เราได้แก้ไข
……………………………………
คนอาร๊่ายยยอยารู้ไปโหม้ด …. ขอคำตอบด้วยค่ะ

5 thoughts on “ถามชาวค่าย

  • feed back จากเด็กและผู้ปกครองที่ตัวเองได้ัรับรู้คือ เพื่อนเจ้าแทนคนนึงกลัวว่าจะมาเข้าค่ายไม่ทันไม่ยอมไปฟังผลสอบที่โรงเรียน จนงอนกับแม่ถึงขนาดถอดเสื้อผ้าวิ่งหนีออกมานอกแฟลต แม่โทรศัพท์มาบอกว่ามันร้องไห้ใหญ่แล้ว จึงให้บอกน้องไปว่าเดี๋ยวป้าพัชไปรับตอนเก้าโมงครึ่งกลับมาพร้อมแทนกับเพื่อนๆ รับรองไม่เสียเวลามาก นั่นแหละจึงยอมไปโรงเรียน เก้าโมงครึ่งเรายังไปไม่ถึงโทรศัพท์มาตามด้วย..อีกบ้านหนึ่ง 3 พี่น้องเคยต้องงัดจากที่นอน แต่ช่วงค่ายห้องสมุด อาบน้ำแต่งตัวกินข้าว นั่งรอทุกวัน นอกจากนั้น พวกเราได้รับรู้ถึงความสุขของเด็กๆ ความตั้งใจของเด็กๆ โดยเห็นได้จากเด็กๆ ไม่ดื้อเลย ปีนี้ 80 คนจึงดูเหมือนไม่หนักหนานัก และพวกเราก็มีความสุข ใช่มั๊ย? พวกเรา

  • ถามมาตอบไป
    1.ครูมวยไทย ได้จากพัชติดต่อให้เนื่องจากน้องแทนได้ไปเรียนมวยไทยที่นี่มานานพอสมควร ก็คุยกับพัชว่าน่าจะให้ครูมาสอนมวยไทยกับเด็กๆในค่ายบ้าง
    2.อาหาร ได้ตกลงกับผู้จัดอาหารให้จัดอาหารสำหรับเด็กไม่เผ็ด ซึ่งเด็กๆก็ถูกใจกัน ยกเว้นวันแรกที่เป็นข้าวผัดอเมริกัน เด็กๆไม่ชอบไข่ไม่สุก
    3.เป็นเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากเด็กๆปิดเทอมกันหมดแล้ว
    4.นินมต์พระ ได้ติดต่อผ่านทางน้องเอ๋ ให้น้องเอ๋ติดต่อให้ ท่านจะมาได้ในวันไหน ถ้าท่านมาไม่ได้ในวันที่เรากำหนด เราก็จะเปลี่ยนแปลงกิจกรรมนั้นๆ น้องเอ๋ติดต่อผ่านพระครูรุ่ง ส่วนคนที่ไปรับพระให้น้องเอไปรับใช้รถของน้องหนึ่ง
    5.สีเสื้อ จริงๆแล้วประธานคิดสีเสื้อไว้ในใจแล้ว แต่พอมาประชุมคณะทำงานตกลงกันสีนี้ เพราะจะได้เด่นและสวยกับโลโก้ กวีรับไปออกแบบให้และนำมาแสดงให้คณะกทำงานดูในวันประชุมโดยใช้ Photoshop แสดงโลโก้พร้อมสีพื้นที่คาดว่าจะเป็นสีเสื้อ คณะทำงานจึงได้เสื้อสีนี้เพราะถูกใจที่สุด
    6.นักศึกษาช่วยงาน เรื่่องนี้ได้ติดต่อกับรุ่งพี่ไว้(มีเบอร์)นานพอสมควร รุ่งพี่จึงส่งรุ่นน้องมาแทนค่ะ
    7.เรื่องขยะนั้น ทางคณะทำงานได้เตรียมถุงดำไว้ให้เด็กๆทิ้ง ในแต่ละวันที่เสร็จกิจกรรมจะให้เด็กๆเก็บกวาดให้เรียบร้อย และคอยบอกเด็กๆให้ทิ้งในถุงดำ คณะทำงานก็จะนำถุงดำไปทิ้งไว้ในทีๆควรทิ้ง ส่วนที่เหลือคนทำความสะอาด(ดวงธิดา)ช่วยทำความสะอาดให้
    8.ผู้ปกครองที่เข้ามา ส่วนใหญ่จะมาจากปี่ที่แล้วซึ่งคาดว่าจะจัดค่ายประมาณช่วงนี้ และจากคำบอกต่อกันไป
    9.การแบ่งหน้าที่ ตามความถนัดและความสามารถของแต่ละคน ส่วนเรื่องงานประจำนั้นก็กระทบบ้าง แต่ก็ช่วยๆๆกัน เนื่องจากอยู่ในช่วงปิดเทอมผู้ใช้บริการน้อย
    10.จากกิจกรรมนี้คณะทำงานก็ได้ทำเป็นกันหลายอย่าง เช่น การเตรียมความพร้อมของเด็ก(เด็กคุยกัน)มนตรี ได้ให้เด็กปรบมือเป็นจังหวะ ปรบมือ 1 ครั้ง ปรบมือ 2 ครั้ง … 3… 4
    11.ปัญหา มีเด็กประสบอุบัติเหตุหัวแตก ได้นำส่งโรงพยาบาลและแจ้งผู้ปกครองให้ทราบ

  • พี่เกจ้า พี่ปองให้เขียน blog เล่าไม่ต้องคอมเมนท์ยาว เอาเนื้อหาไว้เขียน blog ดีกว่า

  • น้องอ้อจ้า การจัดการไปดูในbolg ของพัช ส่วนรายละเอียดเราชาวค่ายจะช่วยกันเล่าจ๊ะ คอยก่อนนะ ไม่เกินรอ

  • เท่าที่พบเห็น น้องๆชอบกิจกรรมที่จัดให้ และมีความตั้งใจที่จะทำเองจริงๆ อย่างทำว่าวก็ตั้งใจทำเองและคอยถามจากพี่เลี้ยงว่าทำแบบนี้ถูกมั๊ย ได้มั๊ย ทำหมวกหากทำไม่เสร็จในเวลาก็ไม่ยอมไปพักทานเบรก เอาแต่ใจจดใจจ่อเย็บหมวกให้เป็นชิ้นเป็นอัน จนกระทั่งรูปปั้นลูกชุบ ตอนแรกๆก็นึกกันไม่ออกว่าจะปั้นอะไร พอนานเข้าปั้นกันจนแป้งที่กำหนดของตัวเองไม่พอซะงั้น สุดท้ายผลงานของน้องๆแต่ละคน ทุกคนตั้งใจนำกลับไปให้พ่อแม่ที่รออยู่ที่บ้านชมเป็นขวัญตา ขอถุง ขอภาชนะใส่กันจ้าละหวั่นเชียว แหมๆๆ อิจฉาเด็กมั๊กๆ
    ตอนไปวิ่งว่าวกันที่สนาม ทุกคนก็ตั้งใจวิ่งเพื่อให้ว่าวของตัวเองขึ้นลอยสู่ฟ้า บางคนวิ่งจนหน้าแดงแจ๋ บ้างก็บอกว่าเหนื่อยจังแต่ก็ไม่ยอยหยุด โหยวันนั้นสนุกจริงๆค่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร