การเขียนบรรณานุกรมจากยูทูบ

เมื่อวานได้อ่านจดหมายจากอาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ เขียนมาสอบถามเรื่องการเขียนบรรณานุกรมแบบละเอียบยิบ ด้วยเหตุที่ท่านได้ตามอ่านบล๊อกของหอสมุดฯ ที่ข้าพเจ้าเขียนเรื่องที่เกี่ยวพันกับการเขียนบรรณานุกรม http://202.28.73.5/snclibblog/?p=7778 และ http://202.28.73.5/snclibblog/?p=7974
อาจารย์เขียนมาค่อนข้างยาว ยกตัวอย่างข้อสงสัยมาสอบถาม ซึ่งได้เขียนตอบและได้ส่งต่อให้กับบรรณาัรักษ์ทุกท่านแล้ว  เผื่อเมื่ออ่านแล้วจะได้ช่วยกันศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและนำมาแบ่งปันในโอกาสต่อไป
การเขียนบรรณานุกรมในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย มีรูปแบบเกือบจะเท่าๆ กับจำนวนมหาวิทยาลัย เพราะต่างกำหนดมาตรฐานขึ้นมาใช้ภายในสถาบัน โดยเฉพาะกำหนดให้กับบัณฑิตศึกษาเพื่อการทำวิทยานิพนธ์
คนที่จบมาจากสถาบันนั้นๆ  ต่างก็จะเข้าใจและชินกับรูปแบบนั้น พอต้องมาอยู่ที่ใหม่ก็ต้องเข้ามาเรียนรู้กันใหม่ ซึ่งมีทั้งความเหมือนและความต่าง  กลายเป็นเรื่องความความถูก-ผิด หรือเขียนแบบผสมปนเป กลายเป็นความสับสน และไปสู่ความเข้าใจยาก ระเรื่อยไปถึงว่าเป็นเพราะบรรณารักษ์ ทั้งๆที่การเขียนอ้างอิง การเขียนบรรณานุกรมเป็นเรื่องของทุกคนที่พึงกระทำ
เนื่องจากผู้ถามเป็นอาจารย์ทางด้านศิลปะ จึงมีคำถามถามพี่พัชว่าหากเป็นทางสายศิลปะมีการใช้รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมที่เป็นเฉพาะหรือไม่
จึงได้ไปตรวจสอบจากโปรแกรม EndNote พบว่ามีสองค่ายคือ American Art และ Oxford Art Journal  และเป็นค่ายที่ไม่ค่อยมีการกล่าวถึง อย่างคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่พัชไปสอนก็ใช้รูปแบบของ APA  (American Psychological Association)
เรื่องรูปแบบบรรณานุกรมกับการนำมาใช้เป็นเรื่องที่บรรณารักษ์ต้องขวนขวยหาความรู้ ไม่มีความจำเป็นต้องจำ เพราะยากที่จะจำ  แต่ให้รู้ว่าหากเริ่มต้นที่จะเขียนจะใช้รูปแบบไหนและรูปแบบนั้นจะเขียนอย่างไรด้วยการตรวจสอบจากคู่มือ หากไม่มีก็ต้องไขว่คว้าหาคำตอบ

เพราะยังไงๆ คู่มือก็มักจะเขียนไม่ครบ เพราะโลกเปลี่ยนไป ทรัพยากรสารสนเทศมีหลากหลาย เหมือนกับที่ย้ำกันหลายๆ ครั้งว่า คู่มือต่างๆ ในการทำงาน ไม่สามารถเขียนได้สมบูรณ์ในคนๆ เดียว  มีมุมของการนำใช้ต่างกัน  คนแรกตั้งต้น คนที่สองสาม….  เมื่อนำไปใช้มีอะไรเพิ่มขึ้นก็ต้องเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ มิใช่มัวนั่งรอคนแรก  หรือคนแรกคิดว่าหรือคิดไปเองว่าคนแรกเป็นเจ้าของ  ลักษณะความรู้ที่เป็น supplement จึงไม่เกิดขึ้นทั้งในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะอื่นๆ ที่จับต้องได้
ความจริงแล้วการพูดคุย สนทนา นินทา เมาท์แตก เป็น supplement ของการเพิ่มพูนความรู้ หากมีการกลั่นกรองหาแก่นมาบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
การจัดการความรู้ทำได้ด้วยตนเองทุกลมหายใจ ไม่ใช่การเข้าไปนั่งฟังความหมายของ Explicit Knowledge  หรือ Tacit Knowledge หรือบอกว่าทำแล้ว บอกว่าทำอยู่ แต่ไม่ได้จัดการหรือลงมือปฏิบัติกับความรู้ที่อยู่รอบๆ ตัว ว่าจะทำอย่างไรถึงจะออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรมแล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนพ้องน้องพี่
มีคนบอกว่าการจัดการความรู้เป็นเรื่องที่บังคับกันไม่ได้ แต่ดูไปแล้วได้แต่หัวร่อ หุหุ ไม่ใช่น่ารักแบบ อิอิ หรือเปิดเผยแบบเอิ๊กอ๊าก
กลับมาเรื่องเดิมดีกวา่่่
ส่วนเรื่องที่จะเขียนคืออาจารย์ถามว่า การอ้างอิงฐานข้อมูลที่เป็นคลิปวิดีโอ (Video Clip)*www.youtube.com) เป็นต้น เขียนอย่างไรครับ (เข้าใจว่าเป็นเรื่องเดียวกับวิดีทัศน์ แต่ไม่แน่ใจครับ) เช่น คลิปวิดีโอจากเวบไซท์ยูทูป
คำถามนี้เป็นเหตุให้ต้องไปค้นคว้า จึงไปเจอในฟอรั่มของ Zotoro ที่มีคนเข้ามาถามและตอบ
http://forums.zotero.org/discussion/3080/apa-style-trouble-with-youtube-videos-bibliography-format/

ซึ่งก็ใช้รูปแบบการเขียนของค่าย APA  ถอดรูปแบบแล้วก็น่าจะเป็นแบบนี้  เพราะ ม.ศิลปากร จะไม่ถอดคำศัพท์มาเป็นภาษาไทย เช่นในที่นี้คือ Video file  ขณะที่หลายๆ มหาวิทยาลัยถอดมาเป็นภาษาไทย เราจึงลดความปวดหัวลงไปได้อีกนิด
ชื่อผู้แต่ง.  (วันที่เข้าถึง).  ชื่อเรื่อง [Video file]. Video posted to ตามด้วย url ที่ได้จากยูทูบ
Norton, R. (2006, November 4).   How to train a cat to operate a light
switch [Video file].  Video posted to http://www.youtube.com/watch?v=Vja83KLQXZs
แนะนำไปแบบนี้ค่ะ เพราะข้อมูลส่วนนี้บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ยังไม่ได้กำหนดรูปแบบ
ดีใจที่ได้ตอบคำนี้และมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร