บลูเรย์
ตะกี้คุยกันไม่รู้ว่าออกมาเรื่องนี้ยังไง อ่อ.. จำได้แล้ว
เล่าให้น้องๆ ฟังว่า เพื่อนรักคนหนึ่งที่ชอบดูหนังกับดูบอลเป็นชีวิตจิตใจ ส่งรูปมาให้ บอกว่าเพิ่งไปถอยเครื่องเล่นบลูเรย์มาใหม่ต่อสายแลนด์ดูบอลอย่างสบายอารมณ์ ตามด้วยบอกว่าห้องสมุดก็มีนะเครื่องเล่นบลูเรย์นี่ฝ่ายโสตฯ เรื่องนี้บังเอิญ หัวหน้าฝ่ายโสตฯ เล่าให้ฟังตอนไปทำบุญขึ้นปีใหม่ที่ห้องสมุดเพชรบุรี เพราะท่านรองฝั่งเพชรฯ มีแผ่นบลูเรย์เพียบ! ส่วนอะฮั้นมีแผ่นดีวีดีตรึมๆ เรื่องนี้ได้จากการสนทนาระหว่างรับทานอาหารว่างในการประชุม …
ตัวเองเคยแต่ใช้ เล่น และดูของคนอื่น แต่ไม่ซื้อเพราะยังไม่อยากมีสมบัติแบบนี้เป็นของตัวเอง หรือจน รู้แต่ว่ามันเรียกว่าบลูเรย์ ก็บลูเร๊ย์ บลูเรย์ไปกับชาวบ้านด้วย
บลูเรย์ อิอิ งงกันละสิว่าคืออะไร
ชะรอยคงจะช้าไม่ได้แล้ว เดี่ยวพี่น้องเราจะงงกับใหญ่ จึงขอเอามาแปะให้อ่านแล้วกัน ใครพูดจะได้คุ้นเคยและจินตนาการออกว่าคืออะไร หากไม่ออกก็เดินไปขอดู ไปหาจับๆ ลูบๆ คลำๆ กันได้จ๊ะ
แต่หากอยากเห็น ก็ไปเดินตามห้างที่ขายทีวีจอแอลซีดีแบบแบนแต๊ดแต๋ ว่าทำไมมันถึงคมชัดแจ๋วแหวว ไฝฝ้าของดาราอยู่ตรงไหน รูขุมขนเป็นอย่างไร ก็เค้าใช้เครื่องเล่นบลูเรย์ ไม่ได้ใช้ดีวีดีแบบที่บ้านเราค่ะ
บลูเรย์ หรือ Blu-Ray Disc คือมาตรฐานใหม่ของสื่อวีดีทัศน์ยุคหน้า เริ่มแพร่หลายเเล้วในประเทศที่เจริญต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย ในอนาคตมีคนทำนายว่าเจ้านี่จะมาแทนดีวีดีอย่าง แน่นอน เนื่องจากความจุของดีวีดีมาถึงทางตัน เพราะหนังต่างๆ ล้วนแล้วแต่สร้างสรรค์พวกกราฟฟิคมาเต็มที่ ดูอย่าง อวตาร หรื อ 2012 ที่สร้างอย่างอลังการ (ล้านเจ็ดไม่พอฮ่ะ) เมื่อมีความละเอียดมากก็ต้องใช้พื้นที่เก็บมากกว่าชิมิ …
หาข้อมูลอ่านได้ทั่วไปค่ะ ส่วนข้อความนี้ตัดตอนละตัดต่อมาจากที่นี่ค่ะ http://www.arip.co.th/articles.php?id=405779
Blu-ray เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากความร่วมมือ และพัฒนาโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ 9 บริษัท ที่เรียกตัวเองว่า “The Blu-ray Disc Founders” ซึ่งประกอบไปด้วย Hitachi Ltd., LG Electronics Inc., Matsushita Electric Industrial Co., Ltd., Pioneer Corporation, Royal Philips Electronics, Samsung Electronics Co. Ltd., Sharp Corporation, Sony Corporation และ Thomson Multimedia และนอกจากจะร่วมมือกันพัฒนาแล้ว ยังจะร่วมกันผลักดันเทคโนโลยี Blu-ray ให้เป็นมาตรฐานของแผ่นดิสก์ต่อไปอีกด้วย
เทคโนโลยี Blu-ray สามารถบันทึกข้อมูล, ภาพ, เสียง, วิดีโอ และมัลติมีเดียต่างๆ ที่มีคุณภาพสูงได้มากกว่า DVD ซึ่งดิสก์ที่ใช้กับเทคโนโลยีนี้ จะเรียกว่า “Blu-ray Disc (BD)”
“BD” (Blu-ray Disc) นั้น เป็นชื่อที่มาจากแสงเลเซอร์ที่ใช้คือ แสงเลเซอร์สีน้ำเงิน (Blue Laser) ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี 1996 โดย นาย Shuji Nakamura ซึ่งเป็นนักวิจัยของ Nichia Corp. BD ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์สีน้ำเงิน ที่มีความยาวคลื่นเพียง 405 nm. กับเลนส์ขนาด 0.85 และโครงสร้างแบบ Optical transmittance protection disc layer ที่มีความหนาเพียง 0.1 mm. ทำให้เก็บข้อมูลได้มากถึง 27 กิกะไบต์ ในดิสก์แบบด้านเดี่ยวชั้นเดียว(Single sided single layer) ในแผ่นขนาด 12 เซนติเมตร (เท่ากับ CD และ DVD ทั่วไป) ซึ่งนั่นหมายความว่า เราสามารถเก็บหนังที่มีหลายภาคต่อเนื่องอย่างเช่น Star War หรือหนังชุดอย่าง เช่น เจาะเวลาหาจิ๋นซี ได้ ลงในดิสก์เพียงแค่แผ่นเดียว!
ด้วยความจุที่มีมากถึง 27 กิกะไบต์ BD สามารถบันทึกวิดีโอดิจิตอลในมาตรฐานภาพยนตร์ทั่วๆ ไป (VHS) ได้ถึง 13 ชั่วโมง (แผ่น DVD บันทึกได้ 2-3 ชั่วโมง) และสัญญาณที่มีคุณภาพระดับสูงกว่านั้น หรือ HDTV (High-resolution digital Television) ได้ถึง 2.5 ชั่วโมง (แผ่น DVDบันทึกได้ไม่ถึง 30 นาที) โดยยังรักษาคุณภาพของข้อมูลที่เป็นต้นฉบับไว้อย่างครบถ้วน และนอกจากนี้ BD ยังมีการบันทึก Unique ID (RID) ลงไปเพื่อช่วยในการอ้างอิง และแสดงลิขสิทธ์ใน Record stream อีกด้วย
คุณสมบัติพิเศษของ BD ที่เป็นลักษณะเด่นของการใช้เทคโนโลยี Blu-ray ก็คือ อัตราการถ่ายโอนข้อมูลของเลเซอร์สีน้ำเงิน ที่มีความเร็วสูงถึง 36 Mbps. และใช้เทคโนโลยีการบีบอัดแบบ MPEG-2 Transport Stream ทำให้สามารถบันทึกสัญญาณ หรือข้อมูลคุณภาพสูงได้ โดยใช้เวลาเพียงน้อยนิด ความเร็วนี้ ยังสามารถส่งข้อมูลเพื่อ Record/Playback แบบ Real-time ได้ และยังสามารถแก้ไข , Capture ภาพจากกล้องวิดีโอ หรือภาพยนตร์ไปพร้อมๆ กับการบันทึกรายการในโทรทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน เครื่องเล่น BD จึงสามารถใช้เล่นแผ่น BD และยังบันทึกข้อมูลลงแผ่นได้อีกด้วย
ข้อจำกัดของบลูเรย์ คือ BD นั้น ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์สีน้ำเงิน ซึ่ง CD และ DVD ในปัจจุบัน ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์สีแดง ฉะนั้น เครื่องเล่น CD และ DVD ในปัจจุบันนี้ ยังไม่มีแสงเลเซอร์สีน้ำเงินที่จะอ่านแผ่น BD ได้ และในเหตุผลเดียวกัน เครื่องเล่น BD เองก็ไม่สามารถอ่านแผ่น CD หรือ DVD ทั่วๆ ไปได้เหมือนกัน ทำให้เครื่องเล่น BD อาจจะต้องพัฒนาให้มีระบบแสงเลเซอร์ทั้ง 2 ชนิด (เลเซอร์สีน้ำเงิน และสีแดง) อยู่ในเครื่องเดียวกัน เพื่อที่จะสามารถอ่านทั้งแผ่น BD, CD และ DVDได้ ซึ่งแน่นอนราคาของเครื่องเล่น BD จะสูงมากกว่าเครื่องเล่นชนิดอื่นอย่างไม่ต้องสงสัย
สรุปคุณสมบัติพิเศษของ BD
1. ความจุในการบันทึกข้อมูลสูงถึง 27 กิกะไบต์
2. อัตราการถ่ายโอนข้อมูลมีความเร็วสูงถึง 36 Mbps.
3. ง่ายต่อการดูแลรักษาจากฝุ่น และลายนิ้วมือ เพราะมีคาร์ททริดจ์ปกป้อง
ปล. รอรัก
เนื่องจากราคาแพงคร่อดๆ อะฮั้น จึงมักไปเดินชะแง้ตามห้าง หรือไปบ้านเพื่อนเหมือนเดิม ส่วนในที่ทำงานเมื่อมีอุปกรณ์เหล่านี้มาแล้ว ฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็ต้องเตรียมตัวทั้งเรื่องการจัดหา จัดเก็บและให้บริการ
ส่วนฝ่ายบริการ หากมีใครถามว่าบลูเรย์ คืออิหยัง ห้ามงง ต้องถามได้ตอบได้นะฮ๊า
2 thoughts on “บลูเรย์”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
แล้ว Zemanta ที่เป็นตัวสีสัมๆ นั่นคืออะไร เฉลยมาซะดีๆ ไม่ต้องให้หาอ่านให้เสียเวลา…ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
เข้าใจว่าคุณเธอกำลังโฆษณาช่วนเชื่อว่า blog นี้ สามารถเสริมปรุงแต่งให้ดูดีมีชาติตระกูลได้ด้วย Zemanta เพราะว่ามันมี link รูปภาพค่ะ แต่ไม่ได้เอามาใช้