เหล่าตั๊ก ลั๊ก : เรื่องอยากเล่า…ตลาดเก่าชุมชนริมน้ำคลองลัดพลี (ตอน 6)

นึกว่าจบแล้วชิมิ…พี่น้อง อิอิอิ
ยากสสสสสสส์ เพราะมันยาวววววววว ยิ่งกว่าหนังไตรภาค
จะอ่านต่อ…ก็ตามมา…มะอ่านต่อ….แล้วตามมาไมล่ะ….ฮิ้วววววววววววว
ไป…ไปต่อ ให้จบๆ ป่ะ นะ..ตะเอง ไหน ไหน ก็ไหน ไหน หลวมตัวอ่านมาตั้ง 5 ตอนละ ป่ะกาน
บทที่ ๗ ที่โดนๆ…ได้ใจ…ขนำน้ำกลางทะเล
e0b882e0b899e0b8b31 e0b882e0b899e0b8b321 e0b882e0b899e0b8b331 e0b882e0b899e0b8b341
เรือลูกทีมของที่นี่ไม่ธรรมดาจริงๆ จากการพูดคุยกันบนขนำน้ำกลางนา…ไม่ได้โม้…ก็นาทะเล นาหอยไงจ๊ะ พี่ท่านเวลาว่างเว้นจากการรับส่งคนเมืองที่อยากเที่ยวท่องล่องทะเลอย่างพวก เรา เธอมีอาชีพทำฟาร์มหอย ที่บอกว่าลงทุนครั้งหนึ่งๆ ทั้งค่าหอยยุวชนที่ต้องเอามาฟูมฟักพักเลี้ยงบนหลักไม้ไผ่ ค่าแรงลูกน้อง ค่าใช้จ่ายจิปาถะ ตลอดระยะเวลาปีชนปีที่ต้องอนุบาลคุณหนูหอย ให้เติบใหญ่กว่าจะเก็บขายได้ราคา เงินลงทุนเป็นตัวเลข ๖ หลัก++ ทีเดียว แถมยังต้องเสี่ยงดวงกับเพื่อนบ้านข้างจังหวัด ที่บางปีก็หวังดีประสงค์ร้าย แอบเอาน้ำเสียจากโรงงานล่องเรือทุกมาปล่อยลงทะเลซะง้านนนนน…นี่มันน้ำปลิด วิญญาณชัดๆ…ปีไหนโดนเข้าแบบนี้ก็เป็นอันหมดตัว…แต่พี่ท่านก็ไม่ผูกใจ เจ็บนะ เพราะถามว่าแล้วทำไง พี่เค้าบอกก็หากู้หนี้ยืมสินลงทุนใหม่ต่อไป…เฮ้อออออออ เป็นเราคงหากู้หนี้ถอยเรือดำน้ำสุ่มยิงมันปีหน้า ให้ตายตามน้องหอยนับพันตันนั่นไปท่าจะดีกว่า…ใจดำชะมัด
ฟังเรื่องเล่าชาวเลแบบ ถามมาตอบไปเพลินๆ หลากหลายเรื่องราวกันอยู่พักใหญ่ ตะวันเริ่มคล้อยต่ำ พวกเราก็เตรียมเก็บข้างของ เสบียงกรัง ทั้งที่หมด ทั้งที่มี (เหลือ) ขนกลับขึ้นฝั่ง แบบไม่ประสงค์ให้เหลือร่องรอยของมนุษย์อย่างพวกเราที่บังเอิญได้มาดื่มกิน ความสุขจากธรรมชาติแล้วบังอาจถ่ายทิ้งปฏิกูลไว้กลางทะเล แต่ด้วยความหวังดีประสงค์ร้ายเล็กน้อย น้องหนูเขียดพลั้งทำเจ้าถุงขยะน้อยๆ ตกกลางทะเลใจ…เอ…อันนี้คงไม่ใช่ พอดีหนูเขียดส่งรับกับพี่คนเรือมั้ง…ไม่ทันเห็น…แต่รู้ว่ามันพลัดตกไป พี่คนเรือแกก็รักทะเลของแกนิ ถอยเรือออกมาจากกระเตงได้หน่อยพอใกล้ๆ หัวเรือ ขยะน้อยก็ลอยตุ๊ปป่องมาหาพระเอกพี่ปัญของชาวคณะ ให้ได้สอยกลับเข้าฝั่งด้วยกันเรียบร้อยไป…เฮ้อ…โล่งป่ะ…เกือบทำนิเวศ ฆาตกรรมซะแล้นพวกเรา
กลับมาใกล้ถึงปากคลองก็ให้แปลกใจ เพราะกลุ่มครอบครัวที่จับจองพื้นที่บนกระเตงก่อนเราด้วยความสนุกสนาน โดดๆ ดำๆ ขึ้นๆ ลงๆ อยู่บนกระเตงกับทะเลสลับไปมา ที่ล่วงหน้ากลับมาก่อนเรานานเป็นชั่วโมงไหงเพิ่งมาถึงตรงชายเลน ที่ตอนนี้น้ำงวดลงกว่าเมื่อขาไปอีก พี่คนเรือเฉลยว่ากลุ่มคณะครอบครัวนั้นเค้าไปปลูกป่ากันมา แหม…อุณหภูมิรอบดวงตาสูงขึ้นเลยทีเดียว…แหะ แหะ อยากไปมั่งง่ะ หือ หือ
ขาไปเห็นน้องแสมริมสองฝั่งเลนเป็นทิวแถว แกก็คงงงๆ กับวานรพัฒนาอย่างพวกเราว่ามาทำไร ขากลับน้องๆ แกก็ยังมานั่งดูพวกเราเป็นทิวแถวมากมายอีกเหมือนเดิม บ้างก็ดำผุดดำว่าย บ้างก็เดินขวักไขว่ไปมา บ้างก็มีลูกยากอดรัดอยู่แนบอก เราแอบได้ยินเจ้าลิงน้อยกระซิบถามแม่ผ่านสายลมทะเลมา…แม่ๆ เจ้าพวกนั้นมันตัวอารายน่ะ หน้าตาคล้ายเราเลยนะ แต่ทำไมไม่สวยเหมือนแม่กะหนูก็ไม่รู้นิ…



e0b882e0b899e0b8b352

บทที่ ๘ ที่เฮเฮ..ซะมากมายผู้คน..ตลาดอัมพวา

เออนะ…บทต้องเขียนถึงชื่อตลาดแห่งนี้ขึ้นมา เริ่มสับๆ สนๆ อ+สระอำ หรือ อ+ไม้หันมอม้า…หว่า หันไปถามเจ้าตัวโตโดนย้อนซ๊าาาาา คนไทยรึเปล่า…แหม!! มันน่ามะ!!
เขียนได้ละ เอ…แต่แปลว่าไรล่ะ ไม่ได้ต้องรู้ม่ายงั้นติดค้าง หา..หา..หา..เจอแหะ มีคำแปลด้วย จากดิคในเครื่อง อัมพวัน (อำพะวัน) n.อัมพวา (อำพะวา) n.(P) a grove of mangoes, an orchard, a garden แปลว่า สวน สวนมะม่วง อ้อ!!! เพิ่งนึกได้ ต้นไม้ในพุทธประวัตินี่นา เฮ้อโล่ง
คณะของเราถึงจุดหมายที่น่าจะเป็นปลายทางสุดท้ายละ เพราะนี่ก็ช่วงบ่ายชรามากแล้ว ลงรถได้ก็ตามอัธยาศัย ก็เดินเจอกันมั่งแยกกันมั่งตามความสนใจเฉพาะบุคคล ตลาดคนเยอะเหมือนเดิม นี่ขนาดไม่ใช่วันเสาร์-อาทิตย์ผู้คนยังมากมาย พ่อค้าแม่ขายคงชอบ แต่เราออกจะไม่ชอบที่ที่คนพลุกพล่านจอแจ ก็เดินไปๆ มาๆ เข้าตลาดเลี๊ยวขวาตามเคยชิน เดินๆ ไปเจอร้านติมดอกไม้ มาถึงที่แล้วก็ขอลองชิมซะหน่อย เจ้าตัวโตได้….เราได้ดอกบัว
ถามถึงรสชาดเมื่อเทียบกับราคาเราว่ายังไม่ผ่านนะ…แต่ก็แล้วแต่นิ บางคนอาจจะชอบ เทียบกับไอซ์เบิร์กบ้านเรา กระท้งกระท้อน ทุรงทุเรียน ได้รสจัดจ้านถึงรสมากกว่า อ้อ!! ฝากบอกขาติมผลไม้ ตอนนี้บ้านเรามีคู่ท้าชิงของไอซ์เบิร์กด้วย แถมมี ๒ ร้านไม่ต้องแออัดรอน๊านนนนนนนนนนนนน….นาน
รีบๆ แต่อยากติมผลไม้ หรืออื่นๆ อย่างติม Spy อะไร ประมาณนี้ ร้านนี้ก็พอได้อาศัย น่าจะเปิดทั้งวันทุกวันนะ…เออไม่ได้ถาม ร้านอยู่เกือบ ๔ แยกวัดกลาง และมีอีกสาขาอยู่ใต้หอ…อ้าวลืมชื่อ…อยู่ในซอยเฟียตน่ะ
คุยถึงตลาดอัมพวาอยู่ดีๆ ไหงกลับมานครถมซะงั้น
พากันลิ้มรสติมดอกไม้พอหมดถ้วย ๒ แม่ลูกก็พากันเดินมาถึงอีกด้านของตลาด เออแหะ ด้านนี้ไม่เคยเดินมาเลย คนไม่จอแจแต่ดูๆ ยามค่ำจะเอาเรื่องไม่เบา เพราะมองๆ เข้าไป ร้านรวงที่ยังดูเหงาเงียบตอนนี้ กลางคืนคงไม่ใช่แน่ เดินๆไปเห็นป้ายบ้านครูเอื้อ ดีใจรีบจะไปดูคิดว่าอยู่ไกล ก็ใกล้กันแต่ใสเจีย…เสียใจ บ้านปิด ท่าทางจะเปิดเฉพาะวันหยุด ว่าแล้วก็พากันเดินมั่งนั่งมั่ง ผ่านบ้านหลังหนึ่งเป็น ๒ ห้องเห็นมีงานศิลปะ วางๆโชว์อยู่ อีกด้านมีน้องๆ นั่งเรียนสานใบลาน แต่ตรงหน้าบ้านมีคุณพี่ ๒ คนนั่งตำครกอยู่ ก็ให้สงสัยว่าพี่ท่านทำไรแต่ก็ยังไม่ได้ถาม จนเดินไปสุดทางที่อยากเดินและกลับมา พี่เค้ายังตำอยู่เลย แล้วมีเรอะจะพลาด ก็อยากรู้ก็ต้องถาม ได้คำตอบว่าตำกระดาษหนังสือพิมพ์ แหะแหะ แล้วพี่ตำทำไรมิทราบ ก็ได้คำตอบคุณแม่ออสระอี…ช่างซัก…จนเป็นที่พอใจ พี่เค้าตำหนังสือพิมพ์ผสมกาวลาเท็กซ์ให้เนื้อเหนียวเนียน เพื่อเอาไปทำงานปั้นทั้งนูนต่ำ ลอยตัวได้หมด อาจารย์ที่กำลังถ่ายทอดวิชาให้ลูกศิษย์ตำเอ๊าตำเอา บอกว่าถ้าจะให้ดีเนียนๆ กว่านี้ ต้องได้ดินจอมปลวกมาผสม ก็ถามอาจารย์แล้วไปเอาที่ไหนล่ะ ชาวบ้านคงไม่มีใครกล้าขุดมาขายอาจารย์แน่ แกหัวเราะบอกใช่ ก็ต้องไปหาไปขุดเอง…แอบไปดูงานที่เสร็จแล้ว..ก็เออ…แล้วคนที่ไม่เห็น ตั้งกะตำ ๆ ๆๆๆๆ เนี่ย เค้าจะทราบซึ้งมั้ยเนี่ย กับงานแฮนด์เมดจริงๆ แบบนี้ แล้วก็อดถามอาจารย์ไมได้ว่าแล้วทำเยอะๆ ตำแบบนี้ไหวรึ ก็ได้คำตอบว่าถ้าเป็นระดับอุตสาหกรรม เหมือนที่ลูกศิษย์อาจารย์ทำทางเหนือ เขามีเครื่องมือจ้ะ
จากลาบ้านงานศิลป์ตรงนั้นมาก็หมดลาน หมดแรง ไปพร้อมๆ กันซะงั้น แล้วคณะของเราก็พากันมุ่งกลับนครถม ในขณะที่ฟ้าหึ่มๆ ไล่ตามหลังมาติดๆ ถึงประตูมหา’ลัยเอาเกือบ ๖ โมงเย็น ทริปนี้ก็จบลง เอวังด้วยประการละฉะนี้แล* หมายเหตุบทนำ
ระหว่างปลุกปล้ำจิ้มดีด ตัดๆ ต่อๆ เกลาๆ ต้นฉบับอยู่ สหายน้องเทเลโฟนมาจาก กทม.ไถ่ถามสถานการณ์แถวนี้ซึ่งเป็นปกติอยู่ดี เลยได้ โอกาสถามศัพท์แสงภาษาแต้จิ๋วเพื่อความแน่นอน สรุปได้ว่าความเข้าใจความหมายคำของเราถูกต้อง แต่ถูกบางส่วน คลาดเคลื่อนบางสิ่ง คือ ความหมายคำถูกต้องทั้งหมด แต่การคาดเดาที่มาของคำ “ตั๊กลั๊ก” ได้ ความรู้จากสหายน้องบอกว่า คำนี้ อาม่าม๊าซึ่งเกิดและเติบโตมาจากเมืองตึ่งซัว ทางตอนใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่ใช้มาตั้งกะอยู่ที่นั่นแล้ว ก็เลยอยากกลับทางการคาดเดาว่า…ตลาด…ของเรา เพี๊ยนเสียงมาจากคำจีนแทนละกัน 55+ …แถไปได้ อิอิ…ก็เพราะเดิมสมัยหนึ่งเราเรียกตลาดว่า “ปะสาน” เพี๊ยนเสียงมาจาก Barzar ง่ายๆ ก็คือ พี่ไทยของเราเป็นพวกน้ำ อยู่ใกล้ไหนสนิทกะใคร ก็ไหลเลื่อนตามๆ เขาไป ข้อคาดเดาอันนี้เป็นความเห็นส่วนตั๊ว ส่วนตัว ที่ต้อง “ซตพ.” เพราะผู้เขียนไม่ประสงค์ให้ใช้เพื่ออ้างอิงทางวิชาการแต่อย่างใดคร้าาาาา
เฮ้อออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออ จบ ซะที!!


Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร