อะไรที่เปลี่ยนไปในไอซีที กับหอสมุดฯ

ความจริงจะเล่้าเรื่องนี้ตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย. แล้ว แต่ยังไงๆ ก็ไม่ทันเจ้าแม่ปอง ที่เล่าด้วยความฉับไวทันเหตุการณ์ ก็เลยรออ่านของเจ้าแม่ซะก่อนว่าเิอิ้นไว้ยังไงมั่ง จะได้ไม่ซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น งานนี้ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.ศิลปากร เค้าจัดเป็นเชิงสัมมนาวิชาการ ใช้ชื่อว่า “อะไรที่เปลี่ยนไปในไอซีที : ICT Update” ครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 2 ในหัวข้อ Web Framework vs. Web CMS โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง
ช่วงแรก เป็นเรื่อง Web Framework กับ Web CMS โดยดร. จิตรทัศน์ ฝักเจริญผล ซึ่งวิทยากรบอกว่า Web Framework มีเพื่อนำสิ่งที่ต้องทำซ้ำๆ มารวมกันให้เป็นระบบ ภายใต้แนวคิดของกระบวนการหนึ่งๆ ในลักษณะที่เรียกว่าเป้น Big (anything) upfront โดยส่วนตัวก็แค่พอเข้าใจในหลักการ เคยได้ยิน ได้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นเจ้า Rube หรือ เจ้า Djungo แต่ทำไม่เป็นกะเค้าหรอกนะ
ช่วงที่สอง เป็นการเสวนาเรื่อง Web CMS ซึ่งมาพูดกันถึงแนวโน้มของเว็บไซต์ แนวโน้มของการใช้งาน CMS ทำอย่างไรให้น่าใจ มีคนนำมาใช้งานมากขึ้น และควรเลือก CMS อะไร เนื่องจาก CMS นั้นมีมากมายหลายตัว ซึ่งวิทยากรต่างก็พูดเหมือนกันว่า ให้ดูความต้องการเป็นหลัก แล้วดูเหมือนว่าวิทยากรแต่ละท่าน (3 ท่าน) ก็เพิ่มเริ่มใช้งานไม่นาน บางท่านก็เคยใช้แค่ 1 ตัว เพราะติดตั้งง่าย ใช้งานง่าย เป็นต้น

และช่วงสุดท้าย เป็นการเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับ Web CMS โดยอ.วรวุฒิ มั่นสุขผล อ.วรวรรณ เชาวลิต และคุณจักรยศนันท์ เตียวตระกูล ก็บอกไปในทิศทางที่คล้ายๆ กันว่าจะเลือกใช้ CMS ใด ให้ดูความต้องการก่อน และดูด้วยว่าผู้ที่จะดูแลเป็นใคร นอกจากนี้ก็ต้องดูการใช้งานร่วมกับภาษาไทย การรักษาความปลอดภัย ความช่วยเหลือ Component และ Backend เป็นต้น
blogอ.วรวรรณ เชาวลิต ได้อ้างถึงหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ด้วยว่า มี CMS ที่ทำเป็น Knowledge Management ได้น่าสนใจ และได้ให้ช่วยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ ซึ่งตัวเองก็เล่าในส่วนของ CMS ที่ทำ Blog ว่าใช้ WordPress ในการดำเนินการ ในส่วนของปัญหาก็แน่นอนว่าเราไม่ใช่ IT Man เราเป็นบรรณารักษ์ ทำให้เราต้องศึกษาเชิงลึกค่อนข้างมาก ลองผิดลองถูก และใช้เวลา แต่เมื่อเสร็จแล้วก็โอเค…
เมื่อพูดถึง CMS กับงานของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ก็เลยถือโอกาสเล่าให้ฟังตรงนี้ซะเลยว่า ในส่วนของหอสมุดฯ ตั้งแต่ตอนจะเลือก CMS ในwebตอนนั้นได้ศึกษาอยู่ 5 ตัวคือ Mambo, Joomla, Drupal, WordPress และ MediaWiki ซึ่งแต่ละตัวก็มีอะไรอะไรที่เหมือนและแตกต่างกันไป มีส่วนดีส่วนด้อย (ความเห็นส่วนตัวจากที่ได้ศึกษา) หลังจากศึกษาและทดลองทำดูในระยะหนึ่ง ก็พบว่าเราควรจะดูก่อนว่าเราต้องการอะไร จากนั้นดูความสามารถของผู้ดูแล ซึ่งคือเราที่เป็นบรรณารักษ์ที่พอจะเข้าใจเรื่อง IT
เลยสรุปจากตัวเองโดยดูจากความต้องการของหอสมุดฯ ว่า ต้องการเอา CMS มาทำเว็บไซต์หอสมุด ต้องการ Blog ต้องการเว็บไซต์ของศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตก ในส่วนของเว็บไซต์หอสมุดฯ จะเป็นลักษณะของการให้ information ในส่วนของ Blog ต้องการเป็นลักษณะของ content เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และของศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตก ต้องการในลักษณะที่เป็นการให้ information และ content
westเมื่อประมวลจากการศึกษา และความสามารถของผู้ทำแล้ว จึงเลือก Joomla สำหรับเว็บไซต์หอสมุดฯ และเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูล ในส่วนของ Blog เลือก WordPress ตอนแรกๆ ก็คิดว่าแค่เข้าใจวิธีการ, Component, Plugin, Backend อะไรทำนองนี้แค่นั้น พอเอาเข้าจริง เราก็ต้องพอเข้าใจ PHP และโดยเฉพาะ CSS อย่างลึกซึ้งมากขึ้นไปด้วยโดยปริยาย แต่สุดท้ายแล้วก็ได้ CMS สำหรับหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ และเปิดใช้งาน Blog อย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2552 ตามมาด้วยเว็บไซต์หอสมุดฯ ในเดือนมกราคม 2553 และเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2553





2 thoughts on “อะไรที่เปลี่ยนไปในไอซีที กับหอสมุดฯ

  • เรื่องพวกนี้คงต้องช่วยกันคิด การคิดมิได้หมายความว่าจะต้องเชี่ยวชาญหรือชำนาญการด้านไอที ขอเพียงบอกความต้องการของตนว่าต้องการอะไร สิ่งที่สร้างมาเป็นการคิดของคนหนึ่ง สองสามคน แต่เทคโนโลยีไปไว ความต้องการที่เราบอกว่าต้องการในตอนนั้น แต่ตอนนี้อาจเปลี่ยนไปทิศทางของข้อมูล สภาพแวดล้อม ฯลฯ เช่น จากความต้องการแต่เดิมแค่ให้มี Blog ตอนนี้ก็ไม่ใช่ คงต้องพัฒนาให้เป็นเรื่องราวของ KM จริงๆ จากเนื้อหาที่มีอยู่ก็คงต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันก้บที่อื่น รวมทั้งการพัฒนาความหนักแน่นของเนื้อหาสามารถเขียนและสร้างเป็นวิกิของหอสมุดฯ หรือจะพัฒนาไปเป็นอย่างอื่น ส่วน ศต.เป็นเรืองที่ต้องคุยกันยาวอีกเช่นกันเพราะเรื่องข้อมูลท้องถิ่นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จะให้ได้ผลต้องเป็นข้อมูลเชิงลึกและเชื่อมโยง ซึ่งเจ้าของงานต้องชัดเจนและบอกความต้องการของตัวเองได้ ส่วนงานอื่นๆ อย่าง Information Literacy ก็ต้องทำงานหนักเช่นกันทั้งในเรื่องของเนื้อหา วิธีการและรูปแบบ การติดตามกระแสแล้วมาคิดต่อเป็นเรืองที่ต้องช่วยกัน ง่ายๆ คือ ลองไปสำรวจเว็บไซตืของแต่ละหอสมุดทั้งในและต่างประเทศของแต่ละที่ ก็จะเห็นจุดเด่นจุดด้อยมากมาย ที่เราสามารถนำมาปรับใช้และคิดต่อได้ แต่ยืนยันว่าไอทีเป็นแค่เครื่องมือ แต่คนทำงานก็ต้องเรียนรู้ว่าจะใช้มีด ซ่อม จาน ชามกับอะไรในชีวิต การพัฒนาคนให้มาเรียนรู้เรื่อง CMS หรืออะไรประเภทนี้ง่ายกว่าพัฒนาคนให้คิดแบบทะลุทะลวง แต่ทุกอย่างเป็นเรื่องของความอดทนและเปิดใจในการเรียนรู้ ยิ่งพวกเราไม่ได้มีใครจบด้านนี้มาโดยตรงด้วยแล้ว เป้นสิ่งที่ต้องช่วยกัน การเงียบอาจจะใช้ได้แค่การสยบความเคลื่อนไหวในขณะหนึ่ง แต่ไม่ได้ช่วยอะไรให้เคลื่อนที่หรือขยับตัว…คำชมเป็นมายา แต่ความอดทนเป็นของจริง….

  • เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ ที่สำคัญเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือที่นำมาใช้งาน สิ่งที่สำคัญจริงๆ คงเป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องร่วมคิดร่วมสร้าง อย่างที่พี่ปองว่าไม่จำเป็นต้องชำนาญเรื่องเทคโนโลยี แต่อย่างน้อยต้องแสดงความต้องการ ความเข้าใจ ในเรื่องที่ต้องการ และต้องอดทน จริงๆ..คับ 🙂

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร