วันเวลาบน Google

4 February 2010
Posted by Narumon Boonyanit

ห่างหายไปไม่ได้เข้ามา Up นานมากถึงมากที่สุด ไม่ว่าจะอ่านเพื่อน หรือ เล่าให้เพื่อนอ่าน พอดีเมื่อวานเปิดอา Goo ตอนเช้าก็พบ Logo เปี๊ยนไป๋ คราวแล้วพลาดไปทีละ จำไม่ได้ว่าเดือนอะไร เผลอลืมเก็บข้อมูลเช้ามาหายซะแว๊ว ก็เพราะเจ้า Logo ที่ว่ามันจะเปลี่ยนเฉพาะกิจที่เกี่ยวข้องในวันนั้นๆ จ้ะ เช้านี้(4 Feb.) เลยรีบมาPost ที่เก็บไว้ตั้งกะวาน(3 Feb.) เพราะเครื่องมันด้องๆ เลยทำไม่ทัน แล้งก็ตั้งใจว่า อีก 300 ก่าๆ วันที่เหลือ จะพยายามเข้าไปทุกวัน ถ้าไม่ยุ่งมาก หรือ ลืม เพื่อตามดูตามเก็บมาฝากกันว่าใน 365 วัน มีวัน เวลา เหตุการณ์ประทับใจอะไรที่อา Goo แก่อยากนำเหนอ “วันนี้” ทุกที่จากนี้ไปในบทความ นึกเสียว่านั่งอ่านเมื่อวานละกันจ้ะ
อย่าง”วันนี้” เข้ามาก็เป็นภาพวาดน่ารักของ 2 หนู กะ1 หมาหน้อย ก็ต้องไม่พลาดที่จะติดตามไปดูเขาว่าอะไร ทำไม
google1
เมื่อเอาคุณหนู Mouse ไปจิ้มที่ภาพก็จะมีข้อความขึ้นบอก ว่า “Norman Rockwell’s Birthtday – C1926 by SEPS by Curtis Publishing” อย่ากระนั้นเลย Click ที่ Logo ตามไปเลยจะดีกว่า เมื่อปรากฏหน้าจอผลการสืบค้น ประหนึ่งว่าเราใส่คำค้น Norman Rockwell ก็มีหลากหลาย Web มาให้เราเลือกเข้าไปทัศนา เกี่ยวกับเจ้าของ Birthtday ซึ่งสรณะอีแหล่งที่มักใช้พึ่งพิงก็คือ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี วันนี้ก็เช่นกัน ก็เลยเก็บมาเล่าเอามาฝากกัน
google2
นอร์มัน ร็อคเวลล์ (ภาษาอังกฤษ: Norman Percevel Rockwell) (3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1894 – 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978) เป็นจิตรกรและจิตรกรภาพประกอบชาวอเมริกันของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้มีชื่อเสียงจากการเขียนภาพหน้าปกนิตยสารที่เป็นภาพชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปของชาวอเมริกันในนิตยสาร “The Saturday Evening Post” เป็นเวลากว่าสี่สิบปี ภาพที่มีชื่อเสียงก็ได้แก่ภาพชุดวิลลีส์ กิลลิส (Willie Gillis),ภาพชุดโรซีคนตอกหมุด (Rosie the Riveter) และภาพชุด เสรีภาพสี่อย่าง
google4
สนใจอยากรู้จักเขาเพิ่มเติมติดตามได้ที่
Norman Rockwell Museum (http://www.nrm.org) และอื่นๆ อีกมากมายค่ะ

ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (http://en.wikipedia.org/wiki/Norman_Rockwell)

2 thoughts on “วันเวลาบน Google

  • ส่วนที่เล็กบอกไว้เรียกกันว่า กูเกิ็ล doodle ค่ะ แต่ละรูปของแต่ละวันหมายความว่า วันนั้นคือวันพิเศษของบุคคลสำคัญ เทศกาล หรือวันแห่งการรำลึกสิ่งใดสักอย่างระดับชาติข้ามไปถึงระดับโลก ล่าสุดกูเกิลได้เชิญชวนให้เด็กไทย 5-18 ปี ส่งผลงานการออกแบบภาพดูเดิลเป็นครั้งแรก ภายใต้หัวข้อ ′เมืองไทยของฉัน′ หากใครชนะจะได้ปรากฏบนหน้าโฮมเพจ google.co.th วันที่ 13 เมษายน (วันแรกของเทศกาลสงกรานต์) พร้อมกับได้ไปเที่ยวสำนักงานใหญ่ของกูเกิลที่เมาน์เทนวิว สหรัฐอเมริกา แต่ไม่ทราบว่าหมดเวลาแล้วยัง

  • ขอบคุณค่ะ สำหรับคำขยายความ Doodle 4 Google
    อืมม์ อืมม์ ฟังๆ เหมือนบะหมี่นู้ดเดิ้ลนิ อิ อิ
    และท่านๆ ที่กุลบุตร กุลธิดา ยังมิชราเกินวัยยังลุ้นได้จ้ะ
    เพราะการประกวดที่พี่ปองว่า “หมดเขตรับผลงานภายในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553″นี้จ้ะ
    เลยตัดแปะมาฝากจาก
    http://www.google.co.th/doodle4google/
    ” ที่กูเกิล เรามักจะสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้ผ่านทางโลโก้รูปต่างๆ ที่อยู่บนหน้าเว็บของเรา รูป “ดูเดิล” เหล่านี้จะเฉลิมฉลองเทศกาล ระลึกถึงบุคคล เหตุการณ์ และวันสำคัญต่างๆ ของไทยและทั่วโลก โดยบุคคลแรกที่เป็นผู้สร้างสรรค์ดูเดิล ก็คือ เดนนิส ฮวาง
    ครั้งแรกของประเทศไทยกับการประกวด Doodle 4 Google เราขอเชิญชวนเยาวชนชาวไทยทั่วประเทศ มาร่วมกันจินตนาการและสร้างสรรค์ดูเดิลในแบบของตนเอง ภายใต้หัวข้อ “เมืองไทยของฉัน” เพื่อนำเสนอและเผยแพร่ความเป็นไทย ชาติที่มีศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ที่มีเอกลักษณ์
    ดูเดิลที่ชนะเลิศจะต้อง ได้รับคะแนนจากการโหวตทางออนไลน์และคัดเลือกจากคณะกรรมการ โดยผู้ชนะเิลิศระดับประเทศ จะมีดูเดิลของตนเองไปปรากฏบนหน้าเว็บกูเกิลประเทศไทย เป็นเวลา 24 ชม. เพื่อให้ผู้ใช้กูเกิลในไทยหลายล้านคนได้ร่วมชื่นชม ในวันที่ 13 เมษายน 2553 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ “วันสงกรานต์” ของไทย และยังได้ไปทัศนศึกษาที่ Google สำนักงานใหญ่ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา”
    จบข่าวจร้าาาาา ลูกใครหลานใครได้ไปแอ่วเมืองมะกันส่งข่าวด้วยเด้อ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร