การอ่านเพื่อพัฒนาชาติ
ได้ไปอบรมเรื่องนี้ที่สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-11 ธันวาคม 2552 ที่โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ ใช้เวลาในการอบรม 3 วัน ส่วนวันสุดท้ายเป็นการศึกษาดูงานตามห้องสมุดและสถานที่ต่างๆ
8 ธันวาคม 2552 หลังจากได้ลงทะเบียนแล้ว ก็เข้าไปนั่งในห้องประชุมใหญ่ เพื่อรอรับเสด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
เวลา 10.55-12.00 น. การบรรยายพิเศษเรื่อง “วาระแห่งชาติ ทศวรรษแห่งการอ่าน” โดยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน การอ่านควรเริ่มต้นที่ 1) ครอบครัว เช่น เล่านิทานก่อนอนให้ลูกๆฟัง ซึ่งเป็นส่วนที่ทำได้เลย หรือหลังเลิกเรียนหรือเสาร์-อาทิตย์ พาลูกไปตามร้านหนังสือ ซื้อหนังสือให้เหมาะสมกับวัยเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 2) โรงเรียน ส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน เช่นการปลูกป่าชายเลน ขบวนการเรียนรู้ที่ไม่ต้องจำกัดภายในโรงเรียน หรือการสอนให้เด็กไทยเป็นหลายภาษา นอกจากภาษาอังกฤษแล้วควรจะมีภาษาอื่นด้วย เช่น ภาษจีน และื่ภาษาอื่นๆในอาเซียน และที่จะเกี่ยวข้องกับผู้บริหารหรือบรรณารักษ์คือ การส่งเสริมการอ่าน ทศวรรษแห่งการอ่าน คือ
1) การส่งเสริมให้คนไทยมีความสามารถในการอ่าน บางคนมีความสามารถในการอ่านไม่เท่ากันและจับประเด็นในการอ่านได้ อ่านแล้วได้แรงบันดานใจ ได้ความรู้
2) การส่งเสริมลักษณะนิสัย รักการอ่าน การปลูกฝังการอ่านให้เหมะสมกับวัฒนธรรมไทย พ่อแม่, คุณครู, ผู้บริหาร ต้องเป็นตัวอย่าง
3) การสร้างบรรยายกาศการอ่าน ที่ใกล้ตัวคือ ห้องสมุด ที่ไม่ใช่สถานที่ราชการ บรรยายกาศ ต้องไม่เงียบมาก
เวลา 13.00-16.30 น. การอภิปราย เรื่อง ยิ่งอ่าน ยิ่งฉลาด ซึ่งผู้วิทยากร 3 ท่านคือคุณริสรวล อร่ามเจริญ (นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย), อ.กิตติรัตน์ ณ ระนอง (รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาฯ), ดร. ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล ( ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มธ.) โดยมี ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ (รองอธิการบดี ฝ่ายศูนย์การศึกษา ม.ราชภัฎสวนดุสิต)เป็นผู้ดำเนินรายการ สรุปได้ว่า การอ่านต้องสนใจมาตั้งแต่เด็กๆ อ่านมากยิ่งทำให้มีความรู้มากขึ้น แต่การอ่านไม่จำเป็นต้องอยู่กับหนังสือเท่านั้น แต่สามารถอ่านได้ทุกอย่าง อ.ถนอมวงศ์ ได้แนะนำบทความเรื่อง กระบวนการการอ่าน ในวารสารห้องสมุด ป.53 ฉ.2 (ก.ค.-ธ.ค.2552) หน้า 27 ใครสนใจอ่านได้นะ
9 ธ.ค.2552 9.00-12.00 น. การอ่านเพื่อแก้วิกฤต : แนวคิดในการพัฒนาอาชีพ มีวิทยากร 4 ท่าน คือ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (อดีตผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา), คุณนคร ศิลปอาชา (อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน), ดร.ประจักษ์ วัฒนานุสิทธิ์ (ประธานแผนกวิเทศสัมพันธ์สมาคมห้องสมุดฯ),คุณสุจิตร สุวภาพ (ประธานชมรมห้องสมุดเฉพาะ) และผู้ดำเนินรายการ ดร.ทัศนา หาญพล ในหัวข้อนี้มีอยู่ 3 คำ คือ สรุปว่า วัฒนธรรมการอ่านของคนไทย การอ่านเป็นเพียงเครื่องมือไปสู่เป้าหมายมิได้หล่อหลอมว่าการอ่านเป็นเรื่องการพัฒนาสติปัญญาหรือพัฒนาความสมบูรณ์ของชีวิต สังคมทางตะวันตกที่สอนให้รักการจนเป็นนิสัยกลายเป็นสิ่งเสพติดตั้งแต่เกิดจนตาย การอ่านของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของไทยเป็นแค่เครื่องมือเพื่อให้รู้และนำไปสอบผ่าน หลังจากนั้นก็จะทิ้งการอ่าน แต่สำหรับไทย ความแตกต่างในเรื่องการเรียนรู้ มีค่อนข้างสูง แม้ปัจจุบันระบบตลาดจะเข้ามามีอิทธิพล ทำให้คนต้องขวนขวายเรียนรู้ แต่อันตรายก็คือ แนวคิดในเรื่องการอ่านเป็นแต่เครื่องมือ มิใช่นิสัย การอ่านหนังสือเป็นหน้าที่ของบรรณารักษ์ที่ต้องเป็นมัคคุเทศก์ทางปัญญา หลอกหล่อให้เด็กๆอยากอ่าน บรรณารักษ์เป็นผู้เฝ้าอารยธรรมคือองค์ความรู้ และ ต้องพยายามเผยแพร่องค์ความรู้นั้น ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความรู้ซึ่งเกิดจากการอ่าน และการอ่านต้องเป็นประตูสู่ความรู้และนำไปสู่อาชีพได้ แนวทางแก้ไข วัฒนธรรมการอ่านของคนไทย ต้องพัฒนานิสัยการอ่านควบคู่ไปพร้อมกับระบบการกำกับทางสังคม คือกดดันให้รักการอ่านตั้งแต่เด็กโดยมีกลไกรองรับเมื่อเด็กโตขั้นเพื่อกระตุ้นให้รักการอ่านต่อไป ซึ่งทำได้โดยเชื่อมโยงระหว่างการศึกศึกษากับการฝึกอบรม ที่เน้นการอ่านเป็นองค์ประกอบและสำคัยมากในการประกอบอาชีพ
13.00-14.30 น. การเสนอผลงานวิจัย / วิทยานิพนธืเกี่ยวกับการอ่าน และผลงานที่เกี่ยวข้อง นางสาวณัฐติกา ขวกเขียว (ผู้นำเสนอผลงาน),นางสาวกชกร จินตาสถิตย์ (ผู้เสนอผลงาน) ผู้ดำเนินรายการ ดร. ไพโรจน์ ชลารักษ์ (ประธานชมรมผู้สอนวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์)
เป็นการนำผลงานวิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนารูปแบบการประเมินด้านจิตพิสัยเกี่ยวกับนิสัยรักการอ่าน ช่วงชั้นที่1-2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 3” เป็นผลงานของ ณัฐติกา และวิทยานิพนธ์อีกหนึ่งเรื่อง “การพัฒนาคุณธรรมด้านการเสียสละที่ได้จากการอ่าน วรรณกรรมสำหรับเด็กของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี้ 6 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ เป็นของนางสาวกชกร จินตนสถิตย์ ใช้ตัวอย่างงานวิจัย 2 เรื่องนี้มาให้ดู และมีการซักถามเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่นเครื่องมือในการวิจัย ฯลฯ
15.00-16.30 น. การประชุมของชมรมต่างๆในสังกัดสมาคมฯ มีการแจ้งกำหนดการเข้ากลุ่มตั้งแต่ช่วงเช้าว่าใครจะเข้ากลุ่มไหนก็ได้ตามความสนใจ มีทั้งหมด 6 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1) การอนวิชาห้องสมุดกับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน, กลุ่มที่ 2) มาตรฐานห้องสมุดเฉพาะและดัชนีชี้วัด, กลุ่มที่ 3) พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550, กลุ่มที่ 4 )ประชุมกรรมการบริหารสมาคมชมรมฯ, กลุ่มที่ 5) การอ่านสุ่ห้องสมุเ 3 ดี, กลุ่ม 6) เทคนิคการสอนเพื่อพัฒนานิสัยส่งเสริมการอ่าน ส่วนตัวเองสนใจอยุ๋กลุ่มที่ 5,6 แต่ก็ตัดสินใจเข้ากลุ่มที่ 6 เพราะเห็นว่า ห้องสมุด 3 ดีเราก็รู้แล้วว่าเป็นอย่างไรและถามเพื่อนๆที่เข้ากลุ่มที่ 5 ก็ไม่มีอะไรมากให้เล่าถึงห้องสมุดที่ตัวเองอยู่ ซึ่งก็เหมือนกับกลุ่มที่ 6 พูดคุยถึงปัญหาเด็กไม่อ่านหนังสือจะทำอย่างไร ซึ่งมีทั้งปัญหาและข้อเสนอแนะ
10 ธ.ค. 2552 9.00-10.30 น.การระดมความคิดเรื่อง “การอ่านเพื่อพัฒนาชาติ” มีการแบ่งกลุ่มอีก 8 กลุ่ม กลุ่มที่ 1) ครู อาจารย์ บรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน 2)บรรณารักษ์ห้องสมุดเฉพาะ 3)บรรณารักษ์และบุคลากรห้องสมุดประชาชน 4)บรรณารักษ์หอสมุดแห่งชาติ 5) บรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศนานาชาติ 6)อาจารย์และบรรณารักษ์ห้องสมุดอาชีวศึกษา 7) บรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา 8) สถาบันการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์ฯ ได้เลือกเข้ากลุ่มที่ 7 ให้ทุกคนเสนอปัญหาการอ่านหนังสือของนักศึกษา ซึ่งสรุปได้ดังนี้
ห้องสมุด 1)นักศึกษาไม่เข้าห้องสมุดหรือเข้าน้อย , 2)ผู้ใช้บริการไม่ให้ความร่วมมือในการใช้บริการห้องสมุด, 3)บรรยากาศห้องสมุดไม่มีแรงจูงใจ 4) ผู้ใช้มีเวลาน้อย สืบค้น opac ไม่เป็น ทำให้เข้าถึงเอกสารไม่ได้ 5)ห้องสมุดมีหนังสือไม่สอดคล้องกับผู้อ่าน
นักศึกษา 1) นักศึกษาสนใจเล่นเกม ใช้มือถือ 2)นักศึกษาไม่แยกแยะและไม่สามารถความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้จากอินเตอร์เนตเพียงเพื่อนำมาทำรายงานส่งผู้สอน 3) อาจารย์ไม่มอบหมายให้นักศึกษาอ่าน
และก้ได้สรุปแนวทางแก้ไขไว้ ดังนี้ 1)สร้างวัฒนธรรมการอ่าน เช่นการสอนวรรณกรรมให้อ่านทั้งเล่ม 2)นำหนังสือออกมาบริการนอกห้องสมุด 3)ควรมีหนังสือที่ได้รับรางวัลให้บริการในห้องสมุด 4)ทำกิจกรรมให้ผู้ใช้มีส่วนร่วม เช่นให้รางวัลผู้ที่อ่านหนังสือมาก 5)รณรงค์และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมด้านความสำคัญของการอ่านหรือประโยชน์ที่ได้รับจาการอ่านหนังสือ 6) จัดมุมหนังสือที่นักศึกษาอยากอ่านในห้องสมุด 7)จัดแสดงหนังสือใหม่ใน Website หรือชั้นหมุน 8)จัดหาหนังสืออเล็กทรอนิกส์ที่ตรงกับความต้องการใช้งานและลักษณะนิสัยของนักศึกษาปัจจุบัน
10.45-12.00 น. การรายงานสรุปผลการประชุมระดมความคิดของกลุ่มต่างๆ ให้ประธานชมรมของแต่ละกลุ่มนำเสนอการสรุปผลการประชุมความคิดของกลุ่มตน มาเสนอในที่ประชุมใหญ่ โดยดร. สุจิน บุตรดีสุวรรณ เป็นวิทยากรนำ
13.00-14.45 น. รายงานผลการดำเนินงานกิจการของสมาคม พ.ศ. 2552
15.00-16.30 น. การอภิปรายเรื่อง “ทิศทางการพัฒนาการอ่านของประเทศไทยในทศวรรษหน้า” วิทยากร ศ. พิเศษคุณหญิงแม้นมาส ชวลิต (นายกสมาคมฯ) ดร. อมรา ปฐภิญโญบูรณ์ , นายนัทธี จิตสว่าง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม) และนางสาวกรองกาญจน์ ถนอมพล เป็นผู้ดำเนินรายการ การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ต้องอ่านในสิ่งที่ควรอ่าน อ่านแล้วต้องคิดวิเคราะห์ และสร้างสรรค์ อีก 10 ปีคนไทยต้องเข้มแข็งในการอ่านและมีความรู้มากๆๆ
11 ธ.ค. 2552 ศึกษาดูงานตามที่ต่างๆ สนุกด้วย
จบแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะที่ส่งไปอบรม ได้ความรู้มากค่ะ แต่หลายวัน มึนไปเลย
4 thoughts on “การอ่านเพื่อพัฒนาชาติ”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
ดีจังเลยพี่เก ทุกคนเห็นความสำคัญของการอ่านแล้ว เด็กไทยอ่านหนังสือได้แล้ว “การอ่านเพื่อพัฒนาชาติ” ขอให้เข้มแข็งทีเถอะ ชาติเราก็ได้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป อย่าลืม Post รูป พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ด้วยนะ ไม่เคยไปจ๊ะ ขอบคุณมากที่บอกเล่าให้ฟัง
เรื่องการอ่านเขาพูดกันมานานๆๆๆๆๆๆๆมากๆๆๆๆๆๆๆๆ ไม่ไปถึงไหนสักที อาจมีจำนวนคนที่รักการอ่านเพิ่มขึ้นบ้าง ก็เพราะพ่อแม่นำหรือพาอ่าน สำหรับโรงเรียนอาจล้มเหลวก็การเรียนการสอนเป็นแบบว่า สอนในชั้นเรียน นักเรียนก็ท่องจำ อ่านเฉพาะเล่มที่ครูสอน เวลาทั้งหมดของวันก็เรียน ไม่มีเวลาสำหรับการเข้าห้องสมุด อีกทั้ง ครูก็ไม่อ่าน (ไม่มีเวลา ต้องสอน ต้องทำงานหลายหน้าที่ ต้องๆๆๆๆ ) หากได้ครูที่อ่านๆๆๆและอ่านให้นักเรียนเห็นเป็นตัวอย่าง เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนอยากอ่านตาม แถมหนังสือที่ครูอ่าน ก็ให้นักเรียนใช้ด้วย หรืออาจแนะนำให้นักเรียนไปยืมจากห้องสมุด (ถ้าห้องสมุดมีหนังสือนะ หรือโรงเรียนมีห้องสมุดที่เอื้อต่อการอ่าน)
เรื่องการอ่านในโรงเรียนเด็ก ๆ จะมีสมุดประจำตัวนักเรียน ว่าได้อ่านหนังสือชื่ออะไรบ้าง เนื้อหาที่ได้จากการอ่าน เคยเห็นของหลานชายต้องคอยบอกอยู่ตลอดเวลาว่าให้อ่านหนังสือเพราะจะเป็นคะแนนช่วย คิดว่าทางโรงเรียนต้องมีกิจกรรม หรือหลักสูตรจากกระทรวง เคยเห็นยอดตอง หรือลูกๆ ของบุคคลากร อ่านหนังสือจนหมดห้องโลกของหนู จนไม่มีหนังสือเล่มใดที่รอดจากการหยิบอ่านไปได้ ต้องให้น้องไปอ่านตามชั้นทั่วไป พอดีเด็กโตพอดีที่จะอ่านหนังสือทุกอย่างได้
เด็กอ่านเพราะต้องอ่าน เพราะอยากอ่าน แต่ไม่มีให้อ่าน ส่วนผู้ใหญ่ไม่อ่าน เพราะไม่อยากอ่าน เพราะ…. สารพัดเหตุผล แต่มีให้อ่าน ปัญหาระดับประเทศเลยค่ะพี่ ตอนหนูอยู่ ป.4 ครูประจำชั้นชื่อนิพนธิ์ ไชยสิทธิ์ สอนไว้ว่าหากเราเป็นครูแล้วอ่านหนังสือเท่ากับเด็กในชั้นที่สอนก็ไม่ต่างกับเด็กที่เราสอน อย่างพี่สาวหนูสอนอนุบาลหนูยังแซวเลยว่า หากเจ๊อ่านหนังสือเฉพาะเด็กอนุบาลเจ๊ก็เท่ากับเด็กอนุบาล ดังนั้นจึงต้องอ่านหนังสือเยอะๆ ..เรื่องที่เล่าเป็นประสบการณ์ที่ได้จากครูค่ะ แต่อาจจะโชคดีที่เกิดมาได้ครูดี…