พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางขุนเทียน
เล่าเรื่องข้ามปีนะค่ะ ดีใจที่ได้มาเที่ยวชมสถานที่แห่งนี้ ในวันสุดท้ายของการอบรมของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ถึงแม้จะรู้สึกไม่ค่อยสบาย (ปวดหัว) ก่อนวันจะไปศึกษาดูงานได้ไปสอบถามเจ้าหน้าที่ของสมาคมฯเพื่อขอรับบัตรขึ้นรถ ปรากฎว่าบัตรหมดแล้ว แต่ก็มาได้เพราะเขียนชื่อไว้แล้ว รถออก 8 โมง เช็ดชื่อ 7 โมง (เหมือนนักเรียนเลย) เราก็เลยต้องขณะตื่นแต่เช้าอีก 1 วันกลัวจะตกรถเหมือนผู้เข้าอบรมบางท่าน ที่อุตสาห์นั่งรถมอเตอร์ไซด์ตามแล้วก็ไปไม่ถูก ก็เลยตัดสินใจไม่ไป โชดดีที่เราไปถึงแต่เช้าพร้อมเพื่อนเก่า (พี่หนุ่ย ใครไม่รู้จักบ้าง ยกมือ จะบอกให้แฟนพี่เค้าทำงานที่ทรัพย์สิน ที่เราขอของวันเด็กทุกปีนั่นแหละ) เราไปถึงโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ประมาณเวลา 10.00 น. สงสัยละซิว่ามาที่โรงเรียนทำไม พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอยู่ในโรงเรียนนี้ เป็นโรงเรียนพระราชทานระดับประถมศึกษาขนาดกลาง ปี 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ก็ได้เสด็จมาโรงเรียนนี้แล้ว พอไปถึงก็ได้รับการต้อนรับอย่างนี้ของครูที่นี้ พวกเราเข้าไปนั้งพักในศาลากลางน้ำที่จัดไว้ให้ ปูเสื่อนั้งกับพื้น ใครที่ข้อเข่าไม่ดีหรือมีอายุ แต่ยังไม่แก่ก็นั่งเก้าอี้ (ไม้ไผ่) จากนั้นก็ต่อด้วยอาหารว่าง (กุ้งทอด,กล้วยทอด)ใส่มาในตะกร้าเล็กๆ พร้อมด้วยน้ำ(ชาดำเย็น) ในขณะที่รับประทานของว่าง เราก็ได้พบกับผู้อำนวยการโรงเรียน ท่าน ผอ. น่ารักมากแต่งตัวตามสบายใส่ชุดม้อหมอม ท่านก็มาเล่าให้ฟังว่า …สถานที่ของเรามีพื้นที่ 1 งาน 32 ไร่ เป็นทะเลกรุงเทพ (ทะเลโคน) มีรสเค็มเป็นพื้นที่ป่าชายเลนผืนสุดท้ายของกรุงเทพฯ มีผู้มาเข้าชมหรือมาจัดกิจกรรมบ่อยๆ มีรถจักรยานให้ใช้ประมาณ 150 คัน มีผู้มาเยี่ยมชมทุกวัน บางกลุ่มมาค้าง 2 วัน 1 คืน และอาจจะแจ้งด้วยว่าต้องการให้ทางโรงเรียนสาธิตการทำอะไร เช่น การทำผ้ามัดย้อมจากเปลือกตาบูน ขนมนิรันดร์ ไข่เค็มชายคลอง เรื่องอาหารให้ท่านตั้งราคาเองจะต้องการเท่าไร มีผู้เข้าชมมาแล้วประมาณ 40000 คน ท่านเล่าด้วยความสนุกสนานติดตลก พวกเราก็ขำกันใหญ่เลย หลังจากนั้นก็ไปชมห้องสมุดซึงห้องสมุดเค้ามี 3 ห้อง แบ่งเป็น 3 ช่วงชั้น ห้องสมุดน่ารักตามสไตท์ห้องสมุดโรงเรียน (โดยเฉพาะบรรณารักษ์เป็นท่านชาย เพ่งย้ายมาจากการบินไทยหมาดๆ) รุ่นใหม่ไฟแรงจ้า แล้วต่อด้วย การชมห้องพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งจัดอยู่ในห้องเรียน ของที่โชว์เป็นของเก่าแก่ตามพื้นเพของท้องถิ่นนั้น เสนอเรื่องราวท้องถิ่น ในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิตชาวบ้านเขตบางขุนเทียน สวนผลไม้ ข้าวของเครื่องใช้ในสมัยโบราณ ที่ได้จากชาวบ้านมาบริจาคให้ หรือสิ่งอื่นๆที่เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ชาวบ้านก็จะมามอบให้กับโรงเรียนเป็นผู้ดูแลรักษา แล้วเราก็ไปต่อด้วยการเดินชมป่าชายเลน ก็คล้ายๆกับที่บางตาบูน ก็จะมีกลุ่มหรือหน่วยงานไปปลูกป่าชายเลนกัน นอกจากนี้ก็ยังมีการเลี้ยงหอยแคลง ปลา กบ ฯลฯ ผอ. ได้บอกถึงบัญญัติ 10 ประการ (จดกันใหญ่เลย) ดังนี้
1. ไม่โกรธลูกน้อง 2. อย่าจ้องจับผิด 3. ให้สิทธิประชาธิปไตย 4. ใส่ใจสวัสดิการ 5. ทำทานเป็นนิจ 6. ร่วมคิดก้าวหน้า
7. ลดขั้นตอนการทำงาน (ถ้าเห็นของเก็บเอง ไม่ต้อง กวักมือเรียก) 8.ประสานสามัคคี 9. พัฒนาองค์กร 10. ทำดีต่อไป ทำดีไม่ใช่ผีคุุ้ม แต่ความดีคุ้ม
2 thoughts on “พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางขุนเทียน”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
สิบข้อเนี่ยตั้งใจให้ใครเป็นพิเศษหรือปล่าวคะ ที่เนี่ยหนูละช้อบชอบ แหม..นึกว่าจะได้เจอน้องลิงด้วย
ทำได้เกือบทุกข้อยกเว้นข้อ 1 มันขึ้นทันทีเฉพาะอย่างยิ่ง เกศินี มักโดนป็นประจำที่พบปะ ก็ลองถามพรรคพวกที่อยู่ใกล้เหตุการณ์ ดูซิว่า สมควรไหม 555 ข้อ 1 นั้นหลังจากขึ้นและลงแล้วก็แล้วกันไป ไม่มีมาว่า “จะเอาเกศินีให้ตาย” จริงไหม