ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น…

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา บังเอิญเปิดไปดูข่าวภาคค่ำทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี เป็นช่วงที่ชื่อว่า งามอย่างไทย ในตอน ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น… ก็เลยสงสัยว่าเค้าทำอะไรกันเหรอ เหมือน ยุวกาชาด ยุวเกษตรกร อะไรประมาณนี้หรือไม่ เพราะเข้าใจอยู่แล้วว่า ยุว หมายถึง เยาวชน ….ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น คงหมายถึง เยาวชนที่วิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น…มั้ง  ในข่าวบอกว่า สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดการประชุมทางวิชาการ “ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : ภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม” เพื่อเผยแพร่แนวคิดประวัติศาสตร์ท้องถิ่น สนับสนุนและขยายผลให้สถาบันการศึกษาได้ใช้องค์ความรู้ แนวคิด กระบวนการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และการวิจัย เป็นเครื่องมือ จัดกระบวนการเรียนรู้และจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา
และเพื่อเป็นการต่อยอดงานวิจัยดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ทำการคัดเลือกผลงานการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของนักเรียนที่น่าสนใจ และนำมาผลิตเป็นสื่อเผยแพร่ ภายใต้ชื่อ “โครงการโรงเรียนทำหนังวัฒนธรรม” เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนในเครือข่ายยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มีความสามารถในการผลิตสื่อได้เองในหลายรูปแบบ เรียนรู้ทุกขั้นตอนของการผลิต ตั้งแต่การเขียนโครงเรื่อง การถ่ายทำ การเก็บข้อมูลร่อยรอยหลักฐานต่าง ๆ การลำดับเรื่อง การตัดต่อภาพ การเลือกดนตรีประกอบ การพากย์ เป็นต้น ใช้สื่อดังกล่าวเป็นเครื่องมือนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ได้อย่างชัดเจน และน่าสนใจ ในเบื้องต้น สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้สนับสนุนให้จัดทำค่ายการเรียนรู้และผลิตสื่อสารคดีใน 2 พื้นที่ ได้แก่จังหวัดลำปาง และจังหวัด 3 ชายแดนใต้ คือจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
ที่น่าสนใจก็คือว่า ในช่วงสัมภาษณ์ช่วงหนึ่ง เป็นการสัมภาษณ์นักเรียน (ชาย) จากโรงเรียนพัฒนาวิทยา จ.ยะลา พวกเขาได้พูดถึงการทำหนังวัฒนธรรมที่พวกเขาไปทำไว้อย่างน่าสนใจว่า “การไปค้นหาข้อมูล ไม่ได้เอากระดาษ ไม่ได้เอากล้องไป ไม่ใช่ไปตั้งคำถามหรือเหมือนจะไปเอาอะไรจากเขา จะไปในลักษณะการพูดคุยกันธรรมดา แทรกซึมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเขา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง ไม่ได้ make ขึ้นเอง”
พอดูข่าวเสร็จแล้วรู้สึกว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่น่าสนใจดี หรืออาจจะเป็นประโยชน์อะไรกับงานศูนย์ข้อมูลภาคตะวันตกของเราบ้าง … เลยไปค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งเพิ่มเติม (ในข่าวเรื่อง สวช. ร่วมกับ สกว. จัดการประชุมวิชาการ “ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : ภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม) ได้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า โครงการ “ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” เป็นโครงการที่สกว.สนับ สนุนให้เด็กนักเรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาได้เข้ามาร่วมทำ วิจัย และมีคุณครูเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ กระตุ้นให้เด็กเป็นผู้ตั้งคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับประวัติความ เป็นมาของเรื่องราว วิถีชีวิต ความเชื่อ พิธีกรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ กลุ่มชน ศิลปะ ประเพณีในท้องถิ่น และทำการสืบค้นประวัติศาสตร์ถึงความสำคัญ ความเชื่อมโยง การเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของผู้คน และวิถีการดำเนินชีวิต ภายใต้การหนุนช่วยของนักวิจัยและผู้ประสานงานโครงการที่มีประสบการณ์การวิ จัย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดย มุ่งหวังพัฒนาเด็กให้มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และรู้เท่าทันต่อความ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รู้จักรากเหง้าที่ไปและที่มาของตน เกิดสำนึกท้องถิ่น ตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของ ท้องถิ่นตน และยังเป็นการสนับสนุนให้เด็กได้มีพื้นที่ทางสังคมร่วมกับชุมชน ลดช่องว่าง และใช้เวลาทำกิจกรรมที่ สร้างสรรค์
—– ตัวอย่างผลงานวิจัยของยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่จะมีการนำเสนอบนเวทีการประชุม “ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : ภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม” ได้แก่ การศึกษาเรื่องการเก็บมูลค้างคาวที่ถ้ำค้างคาววัดเขาช่องพราน ของยุววิจัยโรงเรียนช่องพรานวิทยา จังหวัดราชบุรี ซึ่งทำให้ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาในการเก็บมูลค้างคาวอย่างปลอดภัยไม่ให้ถูก เห็บ ไร กัด เห็นวิธีใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนจากการที่ชาวบ้านเก็บค้างคาวใน พื้นที่ที่ทางวัดจัดสรรให้ได้อย่างสมานฉันท์ ผลการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากตลาดทรัพย์สิน หรือตลาดเก่าเมืองสุพรรณฯ ของยุววิจัยโรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งยุววิจัยได้เรียนรู้ว่า สังคมเล็กๆ แห่งนี้มีทั้งปราชญ์ ศิลปิน เสนาบดี เป็นสถานที่ชุมนุมของคนมีฝีมือทั้งคาวหวาน มีบ้านโบราณของเสนาบดีคนสำคัญในสมัยก่อน รวมทั้งได้เรียนรู้เรื่องราวการต่อสู้ของตลาดเก่ากับห้างค้าปลีกขนาด ใหญ่ และ ผลการศึกษาเรื่องเชิดหุ่นกระบอกเมืองแม่กลองของยุววิจัยโรงเรียนถาวรา นุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม ที่ยุววิจัยได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของการเชิดหุ่นกระบอกเมืองแม่กลอง สาเหตุที่หุ่นกระบอกเสื่อมความนิยม ความสัมพันธ์ของหุ่นกระบอกกับวิถีชีวิตของคนในอดีตและปัจจุบัน ได้ทราบอัตลักษณ์ของหุ่นกระบอกแม่กลอง อันจะนำไปสู่การสืบทอดการแสดงหุ่นกระบอกนี้ให้อยู่คู่กับเมืองแม่กลองต่อไป เป็นต้น —–

3 thoughts on “ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น…

  • ถือว่าเป็นการจัดทำ KM ที่ดีเลยล่ะ แถมเป็นระบบอีกด้วย เมื่อเป็นการวิจัย เป็นการศึกษาจากแหล่งเรียนรู้จริง ยิ่งการันตีได้เลยว่า ถูกต้องแน่นอน แล้วพวกเราล่ะ เอายุวที่เป็นลูกหลานคนหอสมุดดีไหม ลองสักเรื่องหนึ่งไหม

  • เมื่อวานคุยกับอ้อว่าจะพาไปรู้จักกับบางคนที่ทำเรื่องแบบนี้ ส่วนความคิดพี่แมวชอบค่ะ

  • เมื่อหลายวันก่อนเจอข่าวกรอบเล็กๆ เกี่ยวกับเรื่องโครงการยุววิจัย ยังตัดเก็บไว้เลย ต้องขอบคุณน้องเอ๋มากๆ ที่มีข่าวดีมักเก็บมาฝากเป็นประจำ หลายวันก่อนก็มาบอกเรื่องข่าว มูลนิธิกวนอิมสุนทรธรรมที่กาญจบุรี เพราะรู้ว่าพี่อ้อตามข่าวอยู่ ก็อย่างที่เคยเขียนไว้นั่นแหละค่ะว่า อยากได้โจทย์งานจากพี่ๆน้องๆ หรือข่าวคราวเกี่ยวกับข้อมูลภาคตะวันตก ใครได้อะไรมาบอกได้เลยไม่เคยคิดว่า จะเข้ามายุ่งเพราะอ้อคนเดียวคงตามข่าวได้ไม่หมดหรอกค่ะ ขอบคุณพี่ปองอีกครั้งค่ะถ้าหากรู้จักคนที่เ้กี่ยวเผื่อว่าจะได้หาทางขอเอกสารได้

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร