การอ้างอิงและบรรณานุกรมบทสัมภาษณ์

หลังเลิกงานนั่งๆอยู่เคลียร์แบบไม่เพลียใจ น้องน้องๆ ส่งแขกมาพบหนึ่งคน เป็นสาวน้อยจากแบงค์ใกล้บ้านเรา บอกว่าบัณฑิตวิทยาลัยให้มาถามว่า เวลาจะลงรายการบรรณานุกรมบทสัมภาษณ์ของคนที่ไม่ต้องการแสดงตัวทำอย่างไร…เอ่ย… แหมช่างส่งมาถูกที่  จริงไหมพี่แมว
ก็ไม่ต้องใส่ชื่อเขา เช่น เวลาทำวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวกับโสเภณี ใครจะกล้าบอกว่าฉันเป็นใคร… ก็ให้ใส่คำว่านามสมมุติ เช่น สุดสวย (นามสมมุติ) แล้วก็ตามด้วยรูปแบบบทสัมภาษณ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนดให้ เช่น สัมภาษณ์โดยใคร เมื่อไร และที่ไหน
แหมอย่างกับซื้อหวย เพราะน้องหนูก็ทำเรื่องโสเภณี อย่างที่พูดค่ะ
มีคนถามว่าจะเชื่อถือได้อย่างไร…. อิอิ… อันนี้ตอบไปว่า คนที่จะบอกว่าเชื่อถือได้แค่ไหนเป็นเรื่องของอาจารย์ที่ปรึกษาที่เป็นคนตัดสินใจ จริงไหม? น้องเอ๋ที่บังเอิญผ่านมา ก็ยืนยันเหมือนกันว่าใช่เลยยย
และนามสมมุติ ก็ไม่ใช่นามปากกา หรือนามแฝง
ดังนั้นก็เลยไปหารูปแบบบรรณานุกรมบทสัมภาษณ์ แต่เจ้ากรรมในเว็บต์มีแต่ของสถาบันอื่น ก็พิมพ์ให้น้องหนูทัศนา บอกว่าทำแบบนี้นะคะ เด๋วพี่ขอเวลาไปหาก่อนนะ… ได้คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์และการอ้างอิง มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ.2543 ซึ่งเป็นอาวุธของบรรณารักษ์ในการตอบคำถามที่เคาน์เตอร์งานบริการสารนิเทศ  มีรายละเอียดดังนี้
เริ่มจากการอ้างอิงการสัมภาษณ์ในหน้า 38 แบบเชิงอรรถให้เขียนว่า

1สัมภาษณ์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล, คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2 กันยายน 2525.

ทีนี้ไม่มีตัวอย่างมากกว่านั้น จึงแก้ปัญหาของน้องไม่ได้เพราะไม่มีเรื่องของนามสมมุติ (ถึงว่าสิให้มาถามห้องสมุด) จึงกลับไปที่หน้า 30 ซึ่งเขียนเรื่องนามแฝง หานามจริงได้ และไม่ได้

1นุชนาถ [นามแฝง], วิธีปลูกไม้ประดับบ้าน (พระนคร : แม่บ้านแม่เรือน,  2505), 40.

จึงขอนำทั้งสองเรื่องมาเทียบเคียง  ไหนๆ เขาให้มาถามแล้วคือ

1สัมภาษณ์ สุดสวย [นามสมมุติ], 2 กันยายน 2552.

ต่อด้วยการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา : ระบบนาม-ปี ในหน้า 50 มีตัวอย่างว่า ให้ระบุชื่อของผู้ให้สัมภาษณ์ เช่น …………. ข้อความ……………….. (ชูสิริ จามรมาน 2530)
จึงเอามาเทียบเคียงว่า

………………ข้อความ…………………..สุดสวย [นามสมมุติ], 2 กันยายน 2552.

ส่วนบรรณานุกรมก็ให้เขียนตามตัวอย่างหน้า 63 ว่า

สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.  สัมภาษณ์, 2 กันยายน 2525.

จึงขอเทียบเคียงว่า

สุดสวย [นามสมมุติ], 2 กันยายน 2552.

หลังจากนั้นได้ค้นใน Google ก็จะพบมากมายเรื่องการเขียนบรรณานุกรม แต่ชอบรูปแบบนี้ที่สุดเนื่องจากให้รายละเอียดไว้ชัดเจนคือ

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์.//(วันเดือนปีที่สัมภาษณ์).//ตำแหน่ง(ถ้ามี).//สัมภาษณ์โดย.//ชื่อผู้สัมภาษณ์//สถานที่สัมภาษณ์(ถ้ามี)

ในการนี้แนะนำให้เขียนว่า

สุดสวย [นามสมมุิติ].  (14 กันยายน 2552).  สัมภาษณ์โดย  สมปอง มิสสิตะ.  นครปฐม.

คงเป็นไปไม่ได้ที่จะบอกว่า

หวานตา เกิดมาช้ำ.  (14 กันยายน 2552).  ดาวประจำสำนักโคมเขียวไข่กา.  สัมภาษณ์โดย  สมปอง มิสสิตะ.  นครปฐม.

ขืนเขียนไปแบบนี้รับรองว่า งานเข้าแน่ๆๆๆๆ เอิ้ก
ด้วยข้าน้อยสามารถค้นมาได้แค่นี้ ท่านอื่นช่วยขยายต่อ และฝากน้องน้องไปตามข่าวด้วยว่าท่านน้องที่ว่าหายงงยัง ไม่รู้ว่าใช้การได้ปล่าวนะพี่แมว เพราะตอบแบบบรรณารักษ์ที่น่าร้ากกก
ทั้งนี้หากมาเรียน Endnote กับเจ้พัชละก็ ปรื้ดดดๆๆ ชิวววๆๆ

3 thoughts on “การอ้างอิงและบรรณานุกรมบทสัมภาษณ์

  • จำได้ว่าตอนที่เรียนป.โท ที่จุฬาฯ ทำวิจัยเล่มเล็กๆ ส่งท่านอาจารย์เรื่องการสืบค้นฐานข้อมูล ท่านบอกว่าถ้าใช้แบบสอบถามในการวิจัยง่ายเกินไป ให้ทำวิจัยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โอ้พระเจ้า ไปนั่งสัมภาษณ์นักศึกษาป.โทคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดลกว่าจะได้ครบตามจำนวน (เสียงแหบเสียงแห้งไปเลย) พอเสร็จแล้วอยากเอามาทำวิทยานิพนธ์เลย แต่ท่านอาจารย์บอกว่าไม่ด้ายไม่ได้ แค่วิจัยชิ้นเล็กๆๆเท่านั้น ประชากรแค่ไม่กี่สิบ แต่การเขียนอ้างอิง เขียนแบบที่พี่ปองค้นได้ใน google แหละ ต้องละเอียดแบบนั้น แต่ก็แล้วแต่ทางมหาวิทยาลัยที่สังกัดค่ะ

  • บัณฑิตวิทยาลัยให้มา ไม่ทราบว่าเป็นนักศึกษาของ มศก. หรือไม่ ถ้าใช่ต้องใช้ตามแบบฟอร์มของ ศิลปากร ใช้แบบของที่อื่น ถือว่าผิด ถ้าไม่ใช่นักศึกษา มศก. ต้องใช้ตามสถาบันของตน หากไม่ใช่นักศึกษาที่ไหน ทำวิจัยของตนเอง จะใช้แบบไหนก็เลือกใช้ให้เป็นแบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม
    แน่นอน ชือ่ผู้ให้สัมภาษณ์ ตามหลักการ เพื่อความเที่ยงตรงของข้อมูลที่ได้ ต้องระบุได้ว่า เป็นใคร กรณีนี้ ควรใช้แบบที่สมปองแนะนำ แต่ผู้สัมภาษณ์ จักต้องมีชื่อ และสกุล รวมทั้งรายละเอียดของผู้ที่ให้สัมภาษณ์ที่ถูกต้อง เตรียมพร้อมสำหรับการติดตามข้อมูล กรณีที่อาจารย์ หรือที่ปรึกษาการทำวิจัยต้องการด้วยนะ

  • เมื่อวานไปธนาคารฯ พบน้องคนที่มาถามจึงสอบถามได้ความว่า จนท.บัณฑตวิทยาลัยของเราให้ใช้รูปแบบของ ม.ธรรมศาสตร์ ส่วนที่บอกว่าเชื่อถือได้ไหมนั้นให้ไปเขียนในบทที่ 3 ทำนองว่า ข้อมูลนี้เป็นความจริงด้วยจรรยาบรรณของนักวิจัย ถามต่อว่าแล้วอาจารย์ว่าอย่างไร ได้ความว่า บัณฑิตให้ทำอะไรก็ให้ทำตามนั้น จึงเอวังด้วยประการละฉะนี้แล

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร