รายงานจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
เมื่อคืนพวกเราไปพักโรงแรมในเมืองสงขลา ไม่ใช่โรงแรมริมทะเลเนื่องที่นั่นจากราคาแพงรวมทั้งมีแต่ห้องที่มีเตียงเดียวจึงขอบาย ตอนแรกว่าจะไปนอนที่ทักษิณคดี หลายคนบอกว่าเงียบ แต่มาที่นี่ก็เงียบเข้าไปอีก แต่ช่างเถอะก็แค่นอนหนึ่งคืน เกาะหนูเกาะแมวหรือนางเืงือกที่หาดสมิหราดูในหนังสือต่อไปแล้วกัน
เราไปถึงที่หาดใหญ่ยังไม่แปดโมงครึ่ง ด้วความกลัวว่าจะไปสาย ประตูห้องสมุดยังไม่เปิด และห้องสมุดที่นี่เปลี่ยนโครงสร้างใหม่ เปลี่ยนชื่อห้องสมุดใหม่ว่า “สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร” แต่ขอเรียกว่าห้องสมุดเหมือนเดิม
น้องเบ็ญหัวหน้าฝ่ายบริการกับน้องแอนบรรณารักษ์ฝ่ายบริการมาต้อนรับ และน้องแอนเป็นผู้ดูแลเราตลอดเวลาของการดูงานในครั้งนี้ ท่นาผู้อำนวยการคือรองศาสตราจารย์ปัญญรักษ์ งามศรีตระกูล มาทักทายเลยเรียนอาจารย์ว่าหลังการประเมินขอคุยกับอาจารย์ในฐานะหนึ่งในสมาชิกชมรมโอเพ่นซอร์ส พร้อมกับคุณวิภัทร ศรุติพรหม ประธานชมรม ที่เรานัดคุยกันตอนเย็นๆ จากนัั้น ผอ.และน้องเบ็ญขอแยกตัวไปปฏิบัติภารกิจประเมินบุคลากรเป็นรายบุคคล พวกเราจึงได้ถามถึงวิธีการว่าทำกันอย่างไร ซึ่งน่าสนใจมาก
จากนั้นพวกเราก็เริ่มศึกษาดูงานเริ่มจากงานจัดหาโดยมีน้องสุดา คนสวยของพี่ๆ เป็นผู้แนะนำระบบการทำงาน ที่ มอ.พัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติขึ้นมาใช้เอง และเป็นหนึ่งในสาม (มอ. มวล. และ มจธ.) ที่ สกอ.ให้งบประมาณสนับสนุนเพื่อพัฒนาต่อ และหนึ่งในสามเราก็อาจจะต้องใช้ ในระหว่างนี้จึงต้องศึกษาหาข้อมูลและติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด ระบบงานจัดหาสามารถทำงานได้หลายอย่างมากกว่าในระบบของเราที่มีอยู่ จากนั้นไปงานวิเคราะห์ งานวารสาร เนื่องจากจำนวนคนและปริมาณงานใกล้เคียงกันเราจึงรู้สึกค่อยหายใจคล่องขึ้นมาหน่อย ส่วนระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่มาใช้อยู่นั้นเข้าใจได้ไม่ยาก
ครึ่งวันกับงานส่วนนี้เจ้าภาพเชิญมาทานอาหารกลางวันในห้องซึ่งติดห้องการประเมินทีมีเพียงฉากกั้น ดังนั้นฉกาจึงเปิดออกมารับประทานอาหารด้วยกันทั้ง ผอ. กับพวกเราจึงได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วยกัน
พอบ่ายเราเริ่มจากงานไอที พวกเราจะชอบน้องโป้ง (สมพงศ์ หุตะจูฑะ) และทีมงานกันมาก ทั้งหมดมีด้วยกัน 3 คน เป้นโปรแกรมเมอร์ซะสอที่เหลือเป็นช่าง เรามาดูนวัตกรรมที่น้องๆ เขาสร้างมาใช้แก้ปัยหาในการทำงานและยังสามารถจำหน่ายได้ เช่น ระบบ log file ระบบเติมเงินด้วยคูปอง ระบบ E-Reserve ระบบ e-office, Virtual Library Tour, Computer Touch Screen, Happy Print ระบบประตูอัตโนมัติ ระบบจำหน่ายคูปองเข้าใช้หอสมุด
แซวน้องไปว่าน่าจะไปจองบูธตามงานสัมมนาเพื่อขายนวัตกรรม แล้วพี่จะไปช่วย (เพื่อหวังส่วนลด) นะ ว่าไปนั่น น่าทึ่งจริงๆ แถมที่ชอบอกชอบใจคือน้องไปซื้อเครื่องนับเหรียญเพื่อประหยัดเวลาให้กับเจ้าหน้าที่ในการนับเหรียญต่างๆ ที่เกิดจากนวัตกรรมข้างต้น ไม่รู้ใครบางคนแถวนี้จะชอบไหมหนอ
ความคิดกับสิ่งประดิษฐ์ที่ได้จากการฟัง การไปคิดต่อ และความร่วมมือกับเพื่อนร่วมงานเพื่อสร้างสรรค์และแก้ไข ปิดข้อบกพร่องของการทำงาน ดูไปแล้ว…จำนวนคนกับประดิษฐกรรมอาจเป็นบทเรียนให้เราได้ฉุกคิดอะไรขึ้นมาบ้าง เราจึงใช้เวลากับส่วนนี้ค่อนข้างมากเพราะทึ่งในความสามารถที่ช่างคิด เวลาน้องสาธิตอะไรขึ้นมาเห้นได้ถึงความสุข แววตาจึงเหมือนนนเด็กที่กำลังโชว์ของเล่น สัญญานะว่าพี่จะไปช่วยเสนองานให้ ส่วนเวลาพี่จะซื้อก็ขอนะ..ลดสักนี้ดนึง เก่งจริงๆ ทีมนี้
จากนั้นเราไปดูงานบริการ ด้วยความที่ มอ. เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยวิจัย แรงผลักดันในเรื่องการใช้ฐานข้อมูลและการบริการเชิงรุกจึงมีมาก ซึ่งหลายอย่างดูอาจจะคล้่ยคลึงกับงานบริการของเรา แต่ของที่นี่มีแง่มุมของความลึกและเฉียบคมทางด้านการส่งสริมและสนับสนุนงานวิจัย
ที่นี่เราทำเรื่องดูงานมาครึ่งเช้า แต่เนื้อหามากดังนั้นพอถึงในส่วนที่สนทนาปราศรัยในเรื่องโอเพ่นซอร์ส เลยต้องให้พี่น้องกลับไปพักก่อน เพราะส่วนที่เหลือลากยาวจนถึงเกือบหกโมงเย็น
สมุดโน๊ตที่จดเรื่องราวต่างๆ จนถึงวันนี้เป็นปึกหนาทีเดียว เวลาไปทำรายงานจริงๆ จะแกะกันออกไหมเนีย
คืนนี้เรานอนกันที่ห้องพักรับรองของมหาวิทยาลัย ทั้งราคาและบรรยากาศถูกใจเรามาก เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ไปประชุมที่นั่น แต่ถ้าไม่มีรถหรือมีเพื่อนที่นั่น ก็เอาการอยู่เพราะอยู่ตรงเชิงเขาและไกลจากห้องสมุดพอสมควร ที่นี่ทำให้นึกถึงตอนเป็นนักศึกษาก็เคยมาพักในบริเวณเดียวกันเพื่อฝึกงานในห้องสมุดคณะแพทย์ฯ ของ มอ. แต่ครั้งนั้นเดินได้เดินดี แต่ปัจจุบัน พอเช้าอากาศดีมากจึงชักชวนพี่แมวลงไปนั่งเล่นที่สระน้ำที่บริเวณเขา สายๆ ตะกายกลับขึ้นมา ทั้งสองคนอาการเดียวกันคือหอบแฮ่กๆ เหมือนเจ้าสี่ขา
แต่หายเหนื่อยเพราะเช้านี้มีอาหารพื้นเมืองคือข้างยำ กับไก่ทอด โดยน้องแอนเป็นเจ้าภาพที่ได้กรุณาเอื้อเฟื้อให้กับพี่ๆ ส่วนพี่ๆ พอเสร็จสิ้นภารกิจก็เดินทางต่อไป จุดหมายคือตลาดกิมหยง กับเวลาไม่กี่นาที เพื่อจุดหมายที่ต่อไป