ศาสตราจารย์ญาณวิทย์เป็นเหตุ
เช้านี้ น้องๆ บนฝ่ายฯ ให้มีปุชชา วิสัชนายามเช้า เรานั่งทำงานหันหลัง แต่หูเงี่ยๆ ฟังๆ จับประเด็นได้เลาๆ ว่าเรื่อง ซี เรื่องแท่ง เรื่องตำแหน่งทางวิชาการอารายปามานนั้น
ได้ยินว่าอาจารย์ญาณวิทย์อะไรๆ รองเท้าๆ ฟังไมได้สับ อย่ากระนั้นเลยขอร่วมวงด้วยคน ก็เลยไปเจ๋อกับน้องๆ คุยรายเหรอ เจ้าคนนึงเขาก็ส่ง จม.ข่าว หรือสารอะไรสักอย่าง ของ มศก.ส่งมาให้ดู
บทความเกี่ยวกับ ซีๆ แท่งๆ และมีประเด็นที่พูดถึงว่า ตำแหน่งประเภทวิชาการเดิม ตั้งกะ อ.ซี 4-7 – ศ.ซี 11 นั้น เดิมเรียกตำแหน่งงั้นงี้ ของใหม่เรียกไร พอมาถึง ศ.ซี 11 ของเดิมก็ ศ.ซี 11 ของใหม่เขาเขียนว่า ศ.ญาณวิทย์ เจ้าพวกกานี้ก็ตีความกันยกใหญ่ไปถึงบุคคล
เราดูต้นเรื่องแล้วก็ให้ถึงบางอ้อ (ไม่ใช่บ้านน้องเอกฯ นะ) เพราะเผอิญเมื่อไม่กี่หลายวัน เพิ่งผ่านตาเรื่องการกำหนดเรียกตำแหน่งประเภทวิชาการใหม่ จากบทความของ Boss เรารึท่านใดสักท่านนี่แหละ ที่ได้กล่าวถึงท่านผู้รู้ท่านหนึ่ง ดูสิ ติดอยู่ริมรอยหยักนึกชื่อท่านไม่ออก
ท่านผู้นี้ได้เสนอในที่ประชุมถึงคำเรียกตำแหน่งประเภทวิชาการซึ่งยังไม่มีการบัญญัติ คือ ศ.ซี 11ซึ่งเป็นซีสูงสุดนี้แหละ ตอบน้องไปแล้วด้วยความมั่นๆ แบบสมองปลาทอง ก็หันกลับมาตรวจสอบความแน่ใจด้วย กูเกิ้ลสรณังคฉามิ ก็ได้คำตอบโดยสรุปสั้นๆ ว่า ศาสตราจารย์ระดับสูงสุด หรือ ศาสตราจารย์ในระดับ C-11 เดิม แบบใหม่เรียกว่า “ศาสตราจารย์ญาณวิทย์” ซึ่งอันนี้ก็มิต้องไปพาดพิงเกี่ยวข้องกับท่านรองฯ จ้ะ เดี๋ยวทั้งมหา’ลัย เลยจะมีได้แค่ท่านเดียว ท่านอื่นๆ จะพากันไปเปลี่ยนชื่อกันโหม๊ดยุ่งแย่เลย
แต่ถ้าใครอยากรู้ลึก รู้มาก รู้มายเกี่ยวกับคำเรียกตำแหน่งวิชาการที่สงสัยนี่ ไปนี่เลย ทุกเรื่องที่สงสัยมักมีคำตอบ (ส่วนใหญ่มีน่ะ) พี่วิกิไง หาคำศาสตราจารย์นะ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C
27/08/52
วันนี้ นู๋เขียด ที่ชอบโฉบดูนู่นนี่ แต่ไม่ยอมแลนด์ดิ้งซักที แม้จะขู่ๆ เอ๊ยขบๆ เอ๊ย****** ว่าป๊ายยยย
นู๋เขียดเฉี่ยวมาแซวหลังพักเที่ยง “พี่ๆ ศาสตราจารย์พี่น่ะ ตัวเล็กนิดเดียว” ได้เลยน้อง จัดแก้ไป whereๆ is a whereๆ แปล..งง..ล่ะสิ คิดมากส์ where = ไหน..ไง
ไหนๆ ก็ไหนๆ เข้ามาอีลิดทั้งT เสริมนิดเติมหน่อย ตามประสา เผื่อท่านๆ ที่ไม่มีเวลาไปคารวะท่านวิกกี้ หรือ พี่ Goo ก็เล็มๆ แถวนี้
ก็พอได้ พุธโธ เอ้ย!! พุฒิปัญญา (พุฒิ=ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์ + ปัญญา = ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด) บ้างล่ะ
อิอิ ยืมสำนวนท่าน อธก.มาน่ะ ดูหรูหรา แต่อย่าเทียบพุฒิฯ กับท่านนะเจ้าเคอะ ห่างไกลหลาย 10 ช่วงตัว เพราะท่านเป็นทั้งนักอ่าน นักเขียน และนักปฏิบัติในยุทธภพที่สำคัญท่านหนึ่งเลยทีเดียว ในความเห็นของเรา
อันว่าคำเรียกตำแหน่งประเภทวิชาการนี้ สารานุกรมเสรี ท่านให้คำจำกัดความแห่งเกียรติและศักดิ์ศรี ไว้ดั่งนี้ค่ะ
“ศาสตราจารย์ หรือใช้อักษรย่อว่า ศ. เป็นตำแหน่งทางวิชาการสูงสุด ต่อมาจากตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตามลำดับ หมายถึงอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาที่มีข้อเสนอที่คนในวงการอ้างถึง และยกให้เป็นทฤษฎี หรือมีผลงานวิจัยที่ส่งกระทบโดยกว้าง ในประเทศไทย ตำแหน่งศาสตราจารย์ ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติที่แสดงถึงความเป็นผู้มีความรู้สูง และมีผลงานด้านการศึกษาของบุคคลนั้น ซึ่งต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินผลงานอย่างเคร่งครัดและเข้มงวดในความถูกต้องของวิชา ศาสตราจารย์ประเภทอื่นอาจมีวิธีพิจารณาที่แตกต่างกันออกไป ตามประเภทของศาสตราจารย์”
ความหมายของตำแหน่งศาสตราจารย์ในแต่ละประเภท
“ศาสตราจารย์ที่ต้องทำผลงานวิจัยและ/หรือแต่งตำรา
ศาสตราจารย์ประเภทนี้ เป็นศาสตราจารย์ที่เป็นพื้นฐานหลักของมหาวิทยาลัย เป็นตำแหน่งประจำ เช่น เป็นข้าราชการ หรือพนักงานมหาวิทยาลัย (รวมทั้ง มหาวิทยาลัยเอกชน) ที่สอนประจำอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือ สถาบันอุดมศึกษา โดยต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัย, พ.ร.บ.ระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย จะมีผู้อ่านผลงานวิจัย/หนังสือตำราหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ว่าได้มาตรฐานตามเกณฑ์หรือไม่ ทางคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) และทบวงมหาวิทยาลัย จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ แล้วการแต่งตั้งก็นำเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อผ่านไปโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ในประเทศไทย ศาสตราจารย์ระดับสูงสุด เรียกว่า “ศาสตราจารย์ญาณวิทย์” (หรือศาสตราจารย์ในระดับ C-11 เดิม) “
นอกจากศาสตราจารย์ประเภทแรกนี้แล้วยังมี ประเภทอื่นๆ อีก อาทิ
– ศาสตราจารย์คลินิก : ศ.ประเภทนี้ ไม่ใช่ทั่นๆ ที่ตั้งหน้าตั้งตาบริการคลินิค(ของท่าน) ไปตรวจคนไข้ใน(ของหลวง) ตอน 9โมงแก่ๆ ลงตรวจคนไข้นอกที่มารอรับบัตรคิวตั้งกะไก่ยังไม่อยากลุกขันตอนใกล้เพล หุ หุ อันนี้ก็ไม่ใช่จ้ะ ศ.ประเภทนี้ จะแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ทางด้านการสอนและการค้นคว้าวิจัยในภาคปฏิบัติ เช่น แพทย์เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ที่สอนนักศึกษาแพทย์ด้านคลินิก มีการค้นคว้าทดลองวิธีการรักษา หรือค้นพบสิ่งใหม่ในทางปฏิบัติ ได้นำผลนั้นมาเผยแพร่และสอนทางปฏิบัติที่มีคุณค่าทางวิชาการ แต่มีรูปแบบของผลงานไม่เข้าเกณฑ์ที่ใช้ขอตำแหน่งตามปกติ
–ศาสตราจารย์เกียรติคุณ หรือ บางสถาบันใช้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ศ.ประเภทนี้เราคงคุ้นเคยดี แต่งตั้งจาก “อาจารย์ประจำ” ผู้เคยเป็นศาสตราจารย์มาแล้วจากการวิจัยและ/หรือแต่งตำราของมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญ หรือชำนาญพิเศษได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงในสาขาวิชานั้นมาก่อน เกษียณอายุราชการแล้ว และสถาบันอุดมศึกษา เห็นสมควรแต่งตั้งเพื่อให้สร้างคุณประโยชน์ด้านการศึกษาให้แก่ภาคหรือสาขาวิชานั้นต่อไป โดยถือว่าผู้ได้รับการแต่งตั้งยังคงมีสิทธิ์ใช้ชื่อศาสตราจารย์นำหน้า และยังสามารถบ่งบอกสังกัดตนได้ต่อไปจนถึงแก่กรรมหรือกระทั่งเมื่อทำความผิดร้ายแรงก็ตาม กรณีนี้ อาจมีความเข้าใจว่าเป็นคำที่ใช้เฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิจากบุคคลภายนอกทั่วไปเพื่อเป็นเกียรติเท่านั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
นอกจากนี้แล้วยังมีตำแหน่งศาสตราจารย์ ที่ไม่ประจำ หรือแต่งตั้งโดยวิธีอื่นๆ อีก อาทิ ศาสตราจารย์พิเศษ ศาสตราภิชาน (คำนี้มาจากคำสมาส 2 คำ คือ ศาสฺตฺร (อ่านว่า สาด-ตฺระ) แปลว่า วิชา กับคำว่า อภิชาน (อ่านว่า อะ-พิ-ชา-นะ) แปลว่า รู้ยิ่ง ศาสตราภิชาน แปลว่า ผู้ที่รู้ยิ่งในศาสตร์ของตน ) ศาสตราจารย์กิตติเมธี ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ศาสตรเมธาจารย์ ศาสตราจารย์พิศิษฐ์ (อันนี้ทั่นๆ ก็ไม่ต้องเกี่ยวโยงกับอาจารย์ท่านใดอีกนะ) และข้อมูลสุดท้ายฝากไว้จิ๊บๆ ก่อนจาก
จำนวนผู้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง “ศาสตราจารย์” ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2550 รวม 505 คน สังกัดอยู่ในสถาบันต่างๆ รวม 16 สถาบัน ส่วน มหาวิทยาลัยศิลปากร ของเราในปีนั้นมี 13 ท่าน ถึงปีนี้มีจำนวนเท่าใด และท่านใดบ้าง ใครทราบข้อมูล มาต่อ มาเติม เสริมกันหน่อย เท่าที่ข้าเจ้าพอระลึกได้ในบัด now และแน่นอนถูกต้องฟันธง ตำแหน่งท่านไม่เปลี่ยนแน่ๆ ก็ท่าน ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (Silpa Bhirasri) ไงล่ะ
อ้อ!! อีกไม่กี่วันก็ถึงวันสำคัญของเรา ชาวศิลปากรอีกแล้วสินะ วันที่ 15 กันยายน เป็น วันศิลป พีระศรี ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย เป็นบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นทั้งศิลปินและปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ดูแต่อมตะวาจาของท่านที่กล่าวแก่ศิษย์จนวันนี้ก็ยังเป็นจริงเสมอ
… “พรุ่งนี้ก็สายเสียแล้ว”
“นาย…ถ้านายรักฉัน…นายทำงาน”
สุดท้าย…และท้ายสุด ขอคาระวะหนึ่งจอกต่อท่านผู้สร้าง th.wikipedia.org/wiki ที่มักเป็นที่พึ่งแบบรวดเร็วและทันใจ เสมอ และอีกหนึ่งจอกสำหรับ http://www.google.co.th ที่อำนวยช่องทางให้เราหาไรไรได้ในบัดดล ขอบคุณคร๊าบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ