มิวเซียมสยาม
เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2552 ได้หนีเวรไปเที่ยวที่กรุงเทพฯ ยกขโยงกันไปหมดบ้าน จุดแรกที่ไปคือเรือห้องสมุด (Dulos) แต่จะไม่เล่าถึงเรือห้องสมุดหรอก เดี๋ยวน้องกาญจน์จะเล่าให้ฟังเอง แต่ที่จะเล่าให้เพื่อนฟังคือ มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ที่อยู่ไม่ไกล้ไม่ไกลจากบ้านเรา แต่จริงๆแล้วจุดมุงหมายจะไปดูเรือ Dulos กันเพราะเด็กๆอาจจะไม่เคยเห็น (รวมทั้งคะเจ้าด้วย) หลังจากนั้นหลานก็เลยพามาเที่ยวพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มิวเซี่ยมสยามอยู่แถวท่าเตียน ติดกับวัดโพธิ์ ตรงข้ามโรงเรียนวัดราชบพิธ ไปง่ายนั่งแท็กซี่ไปได้เลย มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ อีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจ พอเข้าไปมีเจ้าหน้าที่มาต้อนรับ แล้วถามว่า มากี่คนค่ะ เราก็บอกเด็ก 2 คน ผู้ใหญ่ 3 คน เจ้าหน้าที่ก็ไปถามพี่สาวว่า อายุถึง 60 ปีหรือยัง เลยบอกว่ายังค่ะแต่เกือบแล้ว สรุปว่า ผู้ใหญ่ที่อายุ 60 ปีหรือว่าเกือบถึงนั้น กับเด็ก ไม่เสียค่าเข้า ค่าเข้าชมจะแพงสักหน่อย คนละ 100 บาท ภายในได้จัดไว้เป็นห้องๆ
นิทรรศการถาวรในมิวเซียมสยาม “เรียงความประเทศไทย” เน้นวิธีการเล่าเรื่องด้วยเวลาดึงลักษณะเด่นของประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต การเมือง วัฒนธรรมของแต่ละช่วงเวลาจากสุวรรณภมิ สู่สยามประเทศ ถึงประเทศไทย
สัญญาลักษณ์ของมิวเซียมสยาม คือ คนกบแดง หรือ รูปคนทำท่าเป็นกบ เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เพราะกบถือเป็นสัตว์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์เป็นที่เคารพบูชาทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ห้องที่ 1 (อยู่ชั้น 1)เบิกโรง เบิกตัวละครทั้ง 7ที่จะพาผู้ชมย้อนกลับไปเรื่องราวอันเป็นต้นกำเนิดจากสุวรรณภูมิสู่สยามประเทศถึงประเทศไทย เพื่อค้นหาคำตอบว่าเราคือใครและอะไรคือไทย (ห้องนี้ฉาย vcd ให้ดูประมาณ7-8 นาที)
ห้องที่ 2 (ชั้น 1) ไทยแท้ กระตุ้นความอยากรู้ว่าไทยแท้คืออะไรและเป็นอย่างไรจึงเรียกว่าไทยแท้
ห้องที่ 3 (ชั้น 3) เปิดตำนานสุวรรณภูมิ แสดงถึงวิวัฒนาการสังคมก่อนจะมาเป็นบรรพบุรุษชาวสุวรรณภูมิ
ห้องที่ 4 (ชั้น 3) สุวรรณภูมิ ดินแดนแห่งความมั่งคั่งผ่านผู้คน การเกษตร การค้า การสร้างเมือง เทคโนโลยีแห่งโลหะและความเชื่อ ซึ่งจะทำให้รู้ว่าสุวรรณภูมิคือรากเหง้าของประทศไทย
ห้องที่ 5 (ชั้น 3) พุทธิปัญญา สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหัวใจพุทธศาสนา ซึ่งมี คาถา เย ธมมา (อ่านว่า เย-ทำ-มา) แปลว่า สิ่งทั้งหลายมีเหตุเป็นแดนเกิด คาถายอดนิยมแห่งสุวรรณภูมิ มูลเหตุแห่งความใจกว้างและสันติ
ห้องที่ 6 (ชั้น 3) กำเนิดสยามประเทศ ให้เห็นแว่นแคว้นต่างๆที่เริ่มก่อตัวขึ้นเป็นนครรัฐ และสืบสานเรื่องราวของวีรบุรุษผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาจากตำนานท้าวอู่ทอง เป็นเรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงความผสมผสานทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม
ห้องที่ 7 (ชั้น 3) สยามประเทศ แสดงถึงกรุงศรีอยุธยามีสภาพที่เหมะสม ทั้งยังมความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติอยู่ใกล้ทะเล จึงได้พัฒนาตัวเองขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลกับภูมิภาค และจากการติดต่อค้าขายก็ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างผู้คนและวัฒนธรรมเกิดเป็นความรุ่งเรืงทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ห้องที่ 8 (ชั้น 3) สยามยุทธ์ แสดงถึงเหตุแห่งสงครามในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ห้องที่ 9 (ชั้น 2) แผนที่ ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ ผืนดินตามธรรมชาติ คงไม่มีเส้นแบ่งใดๆมาขวางกั้นผู้คน แต่เส้นพรมแดนก็สร้างขึ้นโดยผู้ล่าอาณานิคมเพื่อแบ่ง เขา สร้าง เรา และรวมไปถึงการสร้างชาติให้มีตัวตนขึ้นมาจริงๆ มูลเหตุที่ทำให้เกิดการตัดแบ่งชุมชน เชื้อชาติ ญาติพี่น้องออกจากกัน
ห้องที่ 10 (ชั้น 2) กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา เรื่องราวเมื่อครั้งสิ้นกรุงศรีอยุธยา ชาวกรุงศรีฯก็สร้างเมืองของพวกเขาขึ้นมาใหม่บนผืนดิน “บางกอก” ซึ่งพวกเขาได้จำลองแนวคิดและสืบสานวัฒนธรรมมาจากเมืองเก่ามากมาย อีกทั้งเมื่อเริ่มสร้างกรุงใหม่ จึงได้เกณฑ์ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติมาช่วยกัน จึงลงหลักปักฐาน กลายเป็นชาวกรุงเทพฯ
ห้องที่ 11 (ชั้น 2) ชีวิตนอกกรุงเทพฯ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและความฉลาดหลักแหลมไม่ว่าจะป็นของเล่น อุปกรณ์การดักสัตว์ เรื่องมือทำกิน ความเชื่อ และพิธีกรรม ที่แสดงให้เห็นถึงอัจฉริยะแห่งการสร้างสรรค์ และวิถีเกษตรที่ผูกพันกับชาวสยามมาจนถึงวันนี้
ห้องที่ 12 (ชั้น2) แปลงโฉมสยามประเทศ การติดต่อกับโลกตะวันตก ทำให้เกิดปรากฎการณ์ใหม่ๆ เช่นการเริ่มสร้างถนน ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนที่คุ้นชินกับสายน้ำและความชุ่มฉ่ำ และจะเปลี่ยนโฉมสยามตลอดไป
ห้องที่ 13 (ชั้น 2) กำเนิดประเทศไทย จากสยามทำไมกลายเป็นไทย ห้องนี้จะกระตุ้นให้เกิดการค้นหาคำตอบว่า “วันเกิดประเทศไทยคือวันที่เท่าไร” และ “กรมโฆษณาการเกี่ยวข้องอย่างไร”
ห้องที่ 14 (ชั้น 2) สีสันตะวันตก แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์โลกใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างมีชีวิตชีวา ภายหลังความบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เศรษฐกิจที่กำลังรุ่งเรืองและประเทศไทยก็โกย ดอลลาร์ จากการเปิดรับวัฒนธรรมอเมริกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
ห้องที่ 15 (ชั้น 2) เมืองไทยวันนี้ ความเป็นไทยที่อยู่บนพื้นฐานของความหลากหลาย ความเป็นไทยที่รู้จักและปรับใช้ นั่นคือ การผสมมผสานสิ่งที่ดีงามจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของเรา
ห้องที่ 16 (ชั้น 2) มองไปข้างหน้า เป็นห้องที่ตอกย้ำว่า “วันพรุ่งนี้ของประเทศไทยจะเป็นเช่นไร” คนรุ่นปัจจุบันเท่านั้นที่จะให้คำตอบได้”
ห้องที่ 17 (ชั้น 1) ตึกเก่าเล่าเรื่อง เล่าที่มาของมิวเซียมสยาม
ในแต่ละห้องที่เข้าชมนั้นก็จะมีเจ้าหน้าที่มาดูแลและอธิบายให้ฟัง อันนี้เป็นอีกหนึ่งแหล่งของการเรียนรู้ ที่เราสามารถหาได้ ใครสนใจเชิญไปเที่ยวชมได้ค่ะ
7 thoughts on “มิวเซียมสยาม”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
เสียดายนะอุตส่าห์ถามเส้นทางพี่เก กับพี่พัชไว้ สัญญากับลูกไว้ด้วย พอดีต้องประชุมผู้ปกครองเวลาเหลือน้อยเลยต้องเปลี่ยนโปรแกรม ลูกๆ o.k. อ่านของพี่เก กับ พี่กาญจน์ก็แล้วกันนะ
ิสงสัยเวลาที่พี่เกเดินดูห้องต่าง ๆ ของพิพิธภัณฑ์ ต้อง lecture ไปด้วยแน่ๆ เลย ถึงได้ความเยอะอย่างนี้..หรือให้หนูกานต์จด..ถ้าไม่มี blog ให้เขียน จะจดจำความรู้มาแบ่งปันอย่างนี้มั๊ยหนอ.. ส่วนตัวเองได้ของฝาก เป็นหนังสือการ์ตูนภาษาอังกฤษอย่างง่าย แต่สวยงาม ที่ลูกชายชอบ..ขอบคุณพี่เก และหนูกานต์ และอุ่นที่เป็นคนพาไปเที่ยว และก้อ blog เรือ Dulos ของกาญจน์ที่หายแวบไปแล้ว กรุณาเขียนใหม่ด้วยเน้อ..รออ่่านจ้ะ
พี่ไม่ได้ lecture หรอก ได้มาจากโบรชัวร์ ที่เค้าตั้งไว้ที่เคาน์เตอร์ ประกอบกับเห็นของจริงจ้า เด็กๆน่าจะสนใจเพราะมีของให้เด็กเล่นด้วย
พี่เกยอดเยี่ยมมากๆ ไม่เคยไปจ๊ะ แต่เหมือนกับไปด้วย ชอบห้องที่ ๕ ห้องพุทธิปัญญา ทำให้เข้าใจหัวใจของพุทธศาสนา ถ้าพี่เกเรียนหนังสือ ได้ Grade A+ จ๊ะ
ตกลงว่า ป้าเกไปเที่ยว หรือว่าไปทำงานนอกสถานที่กันเนี่ย โอ้โห ทำอย่างกะจดรายงานเอามาส่งครูแนะ
ขอบคุณด้วยคนจ้ะป้าเก ที่เอาเรื่องราวที่เราสนใจมากระตุ้นต่อมอยากของเรามากขึ้น
เคยเห็นตอนเป็นสารคดีในทีวี อยากไป แต่ยังไม่ได้จังหวะซักที…
น๊องส๊อน..(ท่านผู้ชม…ออกเสียงในฟิล์มหน่อยนะ)
วันหลังเจ๊จาไป…จะชวนนะ ไปมะ
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะคุณพี่