ไปอินเดีย

ดิฉันไปประเทศอินเดียระหว่างวันที่ 1-20 ธันวาคม 2561 ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์ ไทย-อินเดีย ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสภาวิจัยสังคมศาสตร์แห่งสาธารณรัฐอินเดีย (Indian Council of Social Science Research, ICSSR) ดิฉันมักพูดกับใครๆ ว่าไปอินเดียแล้วทำให้เรารู้สึกว่าตัวเราเล็กลง เพราะอินเดียเป็นเมืองที่ร่ำรวยด้วยวัฒนธรรม และเป็นต้นรากของอะไรๆ หลายๆ อย่าง ถ้ามีโอกาสก็อยากให้ได้ไปกัน อย่าไปกังวลเรื่องที่เรายังไม่พบตามจินตนาการที่เราได้ฟัง เพราะจริงๆ อาจไม่ใช่ อาจใช่ หรือยิ่งกว่า และทุกอย่างคือประสบการณ์ของชีวิต  😛 
 
การมีโอกาสได้เดินทางไปห้องสมุดมหาวิทยาลัยในหลายๆแห่ง การสนทนากับผู้บริหาร บรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงาน ทำให้เข้าใจบริบทของห้องสมุดในมหาวิทยาลัยของอินเดียมากขึ้น เพราะข้อมูลบางอย่างไม่สามารถหาอ่านได้จากเอกสาร หรืออ่านเอกสารแล้วไม่เข้าใจ เช่น ในเรื่องของความร่วมมือ การทำงาน ลักษณะของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา รวมถึงมีโอกาสได้ใช้ฐานข้อมูล ค้นหาข้อมูลทำให้เห็นภาพของการเป็นห้องสมุดดิจิทัลและความร่วมมือระหว่างห้องสมุดของอินเดีย     
 
ประสบการณ์ของการเก็บข้อมูลในต่างประเทศที่เป็นระยะเวลาสั้น จึงต้องหาวิธีการทุกอย่างเพื่อให้ได้รับข้อมูล เรียนรู้วิธีการทำงานของอินเดียที่ดีเพื่อนำไปปรับใช้กับการทำงานวิจัยในประเทศ จากการสังเกตุพบว่านักวิชาการของอินเดียมีความพร้อมในการทำงานวิจัย บุคลากรในห้องสมุดที่เป็นบรรณารักษ์และผู้ช่วยส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับปริญญาเอก จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แต่ละห้องสมุดมีเข้มแข็งทางวิชาการ รวมทั้งอินเดียยังมีเวทีของการนำเสนอผลงานทางวิชาการทางด้านห้องสมุดอย่างสม่ำเสมอในระดับนานาชาติ ช่างน่าชื่นชม!!! 
 
ขอแค่มีหนังสือพวกเขาก็อ่านได้ เฟอนิเจอร์และอื่นๆ เป็นเรื่องรองแต่หากประเทศเราอาจกลับกัน หรือเราอาจปลอบใจว่าไปพร้อมๆ กัน ฐานะทางเศรษฐกิจอาจทำให้คนมีวิธีคนละแบบ มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณอาจต้องดิ้นรนและยอมรับ ร่ำรวยอาจเรียกร้องหรืออยากทำโน่นี่ แต่สิ่งที่อันตรายที่สุดทำเป็นรวย  :mrgreen: ส่วนฐานะปานกลางอย่างห้องสมุดเราจึงมีบ้างอย่างได้ บางอย่างต้องรอก่อน หรือบางอย่างทำไม่ได้เลย  มีคนบอกว่าสิ่งที่จำกัดทำให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์ ลองทบทวนดูแล้วจะพบว่านั่นคือความจริง  🙂 และนั่นทำให้เราก้าวไปอีกก้าวและบางเรื่องหลายๆก้าวทีเดียว
 
india2         india3india4india5
 
และการไปที่นั่นทำให้ดิฉันได้รู้จักและใช้ https://shodhganga.inflibnet.ac.in คลังวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ของอินเดีย และยังได้นำไปแนะนำกับนักศึกษาระดับ ป.โทและเอกของคณะศึกษาศาสตร์ อ่านรายละเอียดและวิธีการทำงานได้ที่นี่ http://www.thailibrary.in.th/2018/10/14/shodhganga/ 
ลองเข้าไปใช้แล้วท่านจะได้เห็นความยิ่งใหญ่ของอินเดีย  😛 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร