Disruption

21 August 2019
Posted by patcharee

        ระยะนี้เมื่อมีงานสัมมนา หรือประชุมทางวิชาการ ชื่อการสัมมนาหรือการประชุมมักจะมีคำว่า “Disruption” ติดอยู่ด้วยเสมอ “Disruption”  ตามความหมายของ Longdo Dict ให้ความหมายไว้ว่า เป็นคำนาม แปลว่า การขัดขวาง, การหยุดชะงัก, การแตกกระเจิง ตามข้อมูลที่อ่านพบบอกว่า สมัยก่อนผู้คนมักจะใช้คำว่า “Change” โดยบอกว่า “Disruption” เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง (Change) และเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง Change เปลี่ยนไปเป็น Disruption อย่างไร? อ่านข้อเขียนของคุณอภิญญา เถลิงศรี ที่เขียนในวารสาร Business ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ของห้องสมุดมารวย บอกว่า องค์ประกอบหลักของ Disruption มี 4 ประการคือ

  • Speed หรือ ความเร็ว ในอดีต Change เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ในปัจจุบันจะเป็นการ Disrupt ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจาก Disruptive technology
  • New Perspective หรือการมองมุมใหม่ เดิมมักจะคิดตามแนวทางเดิมที่สังคมกำหนด แต่ในปัจจุบันนักปฏิบัติมักจะมีแนวความคิดใหม่ มีมุมมองในสิ่งเดิมที่แตกต่างจากเดิม ทำให้เกิดแรงใหม่ขึ้นในสังคม
  • การเกิดขึ้นของกลุ่ม Start Up คือกลุ่มคนที่มีมุมมองใหม่ ๆ
  • Access to Information เมื่อคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและลึก จึงสามารถใช้ข้อมูลเป็นองค์ประกอบในการคิดและตัดสินใจได้ง่ายขึ้น มีความหลากหลายมากขึ้น

คุณอภิญญา กล่าวว่า “Disruption จะเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านของรูปแบบและแนวทางในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่ท้ายที่สุด แก่นหรือตัวตนของสิ่งนั้นไม่ได้เปลี่ยนไป วิธีการที่จะทำให้อยู่รอดได้ไม่ใช่เพียงแค่ปรับตัวกับกระแสเท่านั้น แต่เราต้องลุกขึ้นมาคิดใหม่ ทำใหม่ สร้างอะไรใหม่ๆ อย่ามัวแต่เสียเวลากับสิ่งเดิม ๆ ที่ไม่เกิดประโยชน์ และหากเราไม่เปลี่ยนวันนี้ สักวันเราก็ต้องถูกบังคับให้เปลี่ยน เมื่อการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ บทสรุปของเกมส์จะจบลงอย่างไร คุณเท่านั้นที่เป็นผู้เลือกเอง”
ถ้าจะตั้งคำถามกับห้องสมุด ห้องสมุดก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง (สำหรับเราอาจเป็นเพียง change ก็ยังดี) เราอาจทำได้โดย มีข้อมูลที่เข้าถึงโดยเสรีมากขึ้น เผยแพร่กิจกรรม ขบวนการทำงาน ไปสู่สังคมมากขึ้น เราไม่สามารถเป็นบรรณารักษ์ในรูปแบบเดิมได้อีก เพราะบริบทและ infrastructure เปลี่ยนไปด้วย Digital Disruptionที่พวกเราควรต้องพยายามตามให้ทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรณารักษ์ Gen X Gen Y Gen Z เพราะบรรณารักษ์อาจไม่ใช่ “librarian” แต่อาจเป็น Curators, Connectors, Facilitators, Teachers ที่จะสอดคล้องกับบทบาทในยุค Digital Disruption มากกว่า
 
https://dict.longdo.com/search/disruption
https://www.slideshare.net/bluetrain/the-future-of-the-public-library-from-dusty-tomes-to-disruptive-technologies-79886209
https://www.maruey.com/article/contentinjournal0154.html
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร