MARC Format : Leader

          เมื่อพูดถึง MARC Format หรือรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรมที่เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้ (Machine Readable Cataloging Format) ซึ่งสามารถจัดการข้อมูลบรรณานุกรม หรือจำแนกข้อมูลเป็นส่วนๆ เพื่อให้สามารถสืบค้นและเข้าถึงข้อมูล รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกัน
 
          ข้อมูลใน MARC Format สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ส่วนคือ 1) Leader  2) Record direcory  และ 3) Variable data field  ซึ่งในวันนี้จะมาบอกเล่าเรื่องราวของ Leader เนื่องจากพบว่าในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ ของสำนักหอสมุดกลางของเรามี error ในส่วนนี้ค่อนข้างมาก
 
          รู้ได้อย่างไรว่ามี error มาก
          จากการตรวจสอบข้อมูลโดยใช้โปรแกรม UC Connexion เพื่อตรวจสอบข้อมูลก่อนการนำเข้าฐานข้อมูลสหบรรณานุกรมร่วมกัน (UC) พบว่าข้อมูลบรรณานุกรมในฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ ของสำนักหอสมุดกลางของเรามีข้อมูลปรากฎในส่วนของ Warning จำนวนมากพอสมควร เมื่อกวาดสายตาไล่ดูอย่างคร่าวๆ เห็นว่ามีข้อมูล error ในหลายส่วน แต่ไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก เนื่องจากไม่ค่อยมีเวลา จึงใช้ส่วน Auto fix ที่โปรแกรมมีให้ Fix เพื่อผ่านข้อมูลต่างๆ เหล่านั้น ทำให้สามารถข้ามผ่านส่วนที่สำคัญนี้ไปได้ด้วยการ generate ข้อมูลของโปรแกรม UC Connexion เพื่อให้รูปแบบของส่วนนี้เป็นรูปแบบที่สามารถผ่านการตรวจสอบ เพื่อนำเข้าข้อมูลไปที่ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรมเท่านั้น
 
          แต่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ตั้งใจว่าจะไม่ปล่อยผ่านข้อมูลที่ปรากฎในส่วนของ Warning ที่โปรแกรม UC Connexion ตรวจสอบพบ (โดยเริ่มนำข้อมูลที่เป็น Cat Date ของปี 2018 และ 2019 มาตรวจสอบ) พบว่า มีการ Warning ในส่วนของ Learder เป็นจำนวนมาก ซึ่ง error ที่พบนี้ พบมากเฉพาะในตำแหน่งที่ 05-06 และตำแหน่งที่ 17-18 โดย error ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของการไม่ใส่อักขระ ใส่อักขระผิด หรือใส่อักขระผิดตำแหน่ง เป็นต้น ทั้งนี้อาจเกิดจากความเข้าใจผิด เกิดจากการทำ copy catalog หรือเกิดจากความผิดพลาดทางเทคนิคใดๆ ก็แล้วแต่
 
          มาทำความรู้จัก Leader กัน

          Leader หรือป้ายระเบียน เป็นเขตข้อมูลแรกของระเบียนบรรณานุกรม ที่บอกรายละเอียดต่าง ๆ  เกี่ยวกับระเบียนนั้นๆ เป็นเขตข้อมูลที่มีความยาวคงที่ (Fixed field) 24 ตำแหน่ง คือตำแหน่งที่ 00-23 ป้ายระเบียนประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือรหัสแทนค่าที่ใช้สำหรับการประมวลผลของระเบียน (ไม่มี indicators หรือ subfield codes) ทั้งนี้จะอธิบายรายละเอียดเฉพาะตำแหน่งที่พบ error หลักๆ เท่านั้น ได้แก่ ตำแหน่งที่ 05-07 และตำแหน่งที่ 17-18 เนื่องจากในตำแหน่งอื่นมักจะถูกกำหนดอักขระไว้แล้วอัตโนมัติ (Computer-generated) หรือถูกระบุให้ใช้อักขระนั้นๆ ไว้แล้ว เมื่อทำรายการบรรณานุกรมรายการนั้นๆ  (สามารถศึกษาข้อมูลในตำแหน่งอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่  https://www.loc.gov/marc/bibliographic/bdleader.html)
 
m-leader
 
                   ตำแหน่งที่ 05 Record status – เป็นส่วนที่บอกสถานภาพของระเบียน  ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ของระเบียนกับแฟ้มข้อมูล  (จะกล่าวเฉพาะที่ใช้อยู่เป็นปกติ)
                                     n – New   แสดงสถานภาพว่าเป็นระเบียนใหม่
 
                   ตำแหน่งที่ 06 Type of record – เป็นตำแหน่งที่ ใช้เพื่อแยกความแตกต่างของระเบียน MARC สำหรับเนื้อหาและวัสดุประเภทต่างๆ  (จะกล่าวเฉพาะที่ใช้อยู่ในสำนักหอสมุดกลาง)
                                     a – Language material  สำหรับระเบียนบรรณานุกรมของทรัพยากรที่ถ่ายทอดโดยใช้ภาษาในการสื่อสาร
                                     g – Projected medium  สำหรับระเบียนที่อยู่ในรูปของภาพยนต์  วีดิทัศน์  หรือวัสดุต่าง ๆ ที่ต้องใช้เครื่องฉาย
                                     i – Nonmusical sound recording  สำหรับระเบียนที่เป็นการบันทึกเสียงที่ไม่ใช่ดนตรี เช่น คำปราศรัย การบรรยาย เป็นต้น
                                     j – Musical sound recording  สำหรับระเบียนที่เป็นการบันทึกเสียงที่เป็นดนตรี เช่น
                                     k – Two-dimensional nonprojectable graphic  สำหรับระเบียนที่เป็นกราฟฟิค 2 มิติที่ไม่ต้องใช้เครื่องฉาย เช่น แผนภูมิ ภาพวาด ภาพเขียน ภาพถ่าย โปสเตอร์ เป็นต้น
                                     m – Computer file  สำหรับทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งรวมถึงโปรแกรม เกมส์  ฟ้อนต์ ประเภทข้อมูลที่เป็นตัวเลข  สื่อผสม ระบบหรือบริการออนไลน์
                                     o – Kit  สำหรับระเบียนที่เป็นชุดอุปกรณ์ ประกอบด้วยสื่อรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจัดท าขึ้นเพื่อใช้ในการสอน
 
                   ตำแหน่งที่ 07 Bibliographic level – บอกถึงระดับบรรณานุกรม (จะกล่าวเฉพาะที่ใช้อยู่ในสำนักหอสมุดกลาง)
                                     a – Monographic component part  รหัสของรายการบรรณานุกรมที่เป็นส่วนย่อยในรายการบรรณานุกรมอื่น เช่น บทความวารสาร  บทหรือตอนในหนังสือ  และบอกถึงรายละเอียดของเอกสารหลักในเขตข้อมูล 773
                                     b – Serial component part  รหัสของรายการบรรณานุกรมที่เป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรต่อเนื่อง เช่น คอลัมน์หรือสารคดีพิเศษในวารสาร  และบอกถึงรายละเอียดของเอกสารหลักในเขตข้อมูล 773
                                     m – Monograph/Item  รหัสแทนทรัพยากรที่มีเนื้อหาเดียว ไม่ว่าจะเป็นเล่มเดียว แผนที่เดี่ยว หรือมีหลายเล่มจบ แผ่นเสียงที่มีหลายร่อง (track)
                                     s – Serial  รหัสแทนทรัพยากรที่มีการจัดพิมพ์อย่างต่อเนื่อง มีเลขประจำฉบับที่เรียงลำดับอย่างไม่สิ้นสุด เช่น วารสาร หนังสือพิมพ์ รายงานประจำปี หนังสือรายปี เป็นต้น
 
                   ตำแหน่งที่ 17 Encoding level – รหัสที่บอกถึงระดับความสมบูรณ์ของการลงรายการบรรณานุกรม
                                     # –  Full  level เป็นระดับระเบียน MARC ที่สมบูรณ์ที่สุด
 
                   ตำแหน่งที่ 18 Descriptive cataloging form – รหัสที่บอกว่าระเบียนนั้นได้ลงรายการตามแบบใด
                                     a – AACR2
                                     I – ISBD punctuation included ใช้สำหรับระเบียนที่ใช้กฎการลงรายการของ ISBD หมายรวมถึง RDA
 
          อย่างไรก็ตาม แม้ว่า Leader จะมีรายละเอียดมากถึง 24 อักขระ ที่จะสื่อถึงการบอกรายละเอียดต่าง ๆ  ที่เกี่ยวกับระเบียนนั้นๆ แต่เราในฐานะเป็นผู้ทำรายการตามรูปแบบ MARC Format คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า เราต้องศึกษาและลงรายการในส่วนนี้ให้ถูกต้อง โดยเฉพาะในตำแหน่งที่ 05-07 และ 17-18 เพื่อให้สามารถสืบค้นและเข้าถึงข้อมูลแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกัน
 
————————————————
คณะทำงานจัดทำคู่มือการลงรายการบรรณานุกรมวารสาร ในคณะทำงานความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ฝ่ายวารสารและเอกสาร.  (2555).  MARC 21  การลงรายการระเบียนบรรณานุกรมวารสาร.  กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.  สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2562 จาก http://www.resource.lib.su.ac.th/Jgroup/images/stories/bibliographyHB/bib.pdf
 
สุวันนา ทองสีสุขใส.  (2543).  MARC 21 สำหรับระเบียนหนังสือ/เอกสาร.  ขอนแก่น : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 
 
Library of Congress.  (2016).  Learder (NR).  Retrieved July 25, 2019 จาก https://www.loc.gov/marc/bibliographic/bdleader.html

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร