ข้อสังเกต และข้อสันนิษฐาน ของหนังสือที่ถูกตัดสัน
เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2562 ปฏิบัติงานล่วงเวลา หน้าที่ที่รับผิดชอบคือ การให้บริการยืม-คืนหนังสือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนจะทราบดีว่าก่อนจะให้ยืมและรับคืนหนังสือทุกเล่มจะต้องตรวจดูสภาพตัวเล่มของหนังสือก่อนว่ามีรอยคราบเปื้อนหรื่อมีความผิดปกติของตัวเล่มหรือไม่ ถ้ามีก่อนให้ผู้ใช้ยืมก็จะต้องประทับตราหรือเขียนหมายเหตุไว้ให้รู้ว่าหนังสือเล่มนี้มีรอยคราบเปื้อน หรือความผิดปกติอะไรของตัวเล่ม เพื่อให้ผู้ปฏิบัติคนอื่นทราบ และก่อนรับคืนหนังสือจะต้องให้ผู้ใช้รอจนกว่าเจ้าหน้าที่จะรับคืนหนังสือเสร็จเรียบร้อยก่อน เพราะถ้ามีความผิดปกติของตัวเล่มที่ผู้ใช้นำมาคืนจะได้แจ้งให้ผู้ใช้ดำเนินการชดใช้ได้ทันที เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2562 เวลาประมาณ 16.54 น. ได้มีนักศึกษาปริญาเอกนำหนังสือมาคืน ก็ทำการรับคืนหนังสือตามปกติ เล่มแรกก็ยังไม่ผิดสังเกตแต่อย่างไร แต่พอรับคืน เล่มที่ 2 3 ความผิดปกติของตัวเล่มหนังสือทำให้เราเกิดความส่งสัยว่า
ข้อแรก ที่สันของหนังสือมันโปร่งๆ ข้อที่สอง ตัวเล่มไม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมบิดเบี้ยว
จึงได้นำตัวเล่มมาตั้งสัญญาณพบว่าหนังสือที่ผู้ใช้ยืมไปทุกเล่มไม่มีสัญญาณแถบแม่เหล็ก พอเปิดตัวเล่มตรวจสอบดูพบว่าหนังสือถูกเย็บด้วยแม๊ก
จึงถามผู้ใช้กับไปว่าคุณได้นำหนังสือไปให้ผู้อื่นใช้หรือไม่ หรือไปถ่ายเอกสารที่ไหนหรือเปล่า ผู้ใช้ก็งงกับคำถามที่เราถาม ในวันดังกล่าวมี เจ้าหน้าที่คลินิกหนังสือของห้องสมุด อยู่ปฏิบัติงานล่วงเวลาพอดี (แพทย์หญิงสมพร พันธุ์มา) จึงเชิญให้มาตรวจพิสูจน์ว่าหนังสือที่ผู้ใช้นำมาคืนเป็นตัวเล่มหนังสือที่ถูกตัดสัน จึงทำให้แถบแม่เหล็กหายไป แล้วเย็บตัวเล่มหนังสือด้วยแม็ก เมื่อกางตัวเล่มหนังสือจะเห็นว่า ต้วหน้งสือที่อยู่ติดกับสันหนังสือจะมองไม่เห็นต้วอักษร
จากเหตุการณ์นี้นี้ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความระมัดระวังมากขึ้น