ไมโครโฟน
ไมโครโฟนที่จะกล่าวถึงนี้มีใช้ประจำอยู่ที่ห้องประชุมฯ ห้องบันทึกเสียง และห้องคาราโอเกะ เป็นไมโครโฟนชนิดไดนามิค (Dynamic Microphone) ให้เราสังเกตุแบบง่ายๆ (เฉพาะของที่ทำงานเราเท่านั้นนะครับ) ก็คือจะมีสายไฟยาวๆ (สายสัญญาณ) จากตัวไมโครโฟนไปต่อเข้ากับชุดเครื่องเสียงเพื่อควบคุมเสียง
โดยส่วนใหญ่ในงานเครื่องเสียงนิทรรศการ งานค่ายเด็กฯ และกิจกรรมต่างๆ จะไม่ค่อยได้ใช้งานไมโครโฟนชนิดนี้สักเท่าไร เพราะไม่สะดวกต่อการใช้งานเนื่องจากต้องเดินสายสัญญาณเกะกะทางเท้าของผู้ใช้บริการที่เดินผ่านไปมา งานส่วนใหญ่จึงใช้แต่ไมโครโฟนไร้สาย เพราะไม่ต้องเดินสายสัญญาณให้ยุ่งยาก ไมโครโฟนแต่ละชนิดก็มีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับงานและความเหมาะสม ในการใช้งานตามแต่ละสถานที่นั้นๆ
ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นไมโครโฟนชนิดไดนามิค Dynamic Microphone (แบบที่ต้องต่อสาย) นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย มีความทนทานพอควรเหมาะกับงานแทบทุกประเภท สามารถทำงานได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ไฟเลี้ยง ให้คุณภาพเสียงที่ครอบคลุมทุกย่านความถี่ และมีความไวเสียงต่ำทำให้ตัดเสียงรบกวนที่อยู่รอบๆ ได้ในส่วนหนึ่ง
หลักการทำงานแบบคร่าวๆ ก็คือเป็นอุปกรณ์รับเสียง แล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า ส่งผ่านสายสัญญาณไปเข้าชุดเครื่องเสียง การเกิดสัญญาณไฟฟ้าของไมโครโฟนประกอบด้วยขดลวดทองแดง และแท่งแม่เหล็ก โดยมีแผ่นไดอะแฟรมเป็นตัวรับแรงสั่นสะเทือนของเสียง ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของขดลวดผ่านสนามแม่เหล็กเกิดเป็นสัญญาณไฟฟ้าออกมา
ตัวไมโครโฟน ประกอบด้วยสวิทช์ เปิด-ปิด
ตัวไมโครโฟนสามารถถอดออกมาเพื่อทำความสะอาด หรือซ่อมแซมได้
จุดต่อสัญญาณไฟฟ้าที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของขดลวดผ่านสนามแม่เหล็ก
ภายในประกอบด้วยขดลวดพันอยู่บนฟอร์มพลาสติกทรงกระบอกยึดติดกับแผ่นไดอะแฟรม
ด้านท้ายของตัวไมโครโฟนประกอบด้วยขั้วต่อสายสัญญาณ
ส่วนประกอบของสายไมโครโฟนและขั้วต่ออุปกรณ์
ขั้วต่อแบบ XLR
ขั้วต่อแบบ MONO phone jack ¼ ”