ปฏิทินล้านปีกับปีค.ศ.19xx-20xx

16 October 2018
Posted by Chanpen Klomchaikhow

ช่วงนี้ใกล้ถึงงานวันหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 24 ตุลาคม 2561 ซึ่งในปีนี้จะมีกิจกรรมการเยี่ยมชมห้องอนุสรณ์ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มากลากุล ซึ่งตั้งอยู่ ณ ฝ่ายโสตทัศนศึกษา ชั้น 4 หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ กิจกรรมประกอบไปด้วยนิทรรศการ  การจำลองระบบห้องสมุดเสียง  การเยี่ยมชมห้องอนุสรณ์  และที่ขาดไม่ได้คือ ปฏิทินล้านปี (ปฏิทินสุริยคติ ระบบจูเลียน และเกรกอเรียน) ซึ่งมีเพียง 3 ปฏิทินในโลก
 
ปฏิทินล้านปี เป็นคำที่อาจารย์สิงโต ปุกหุต เป็นผู้เรียก ประดิษฐ์คิดค้นโดย ศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ขณะเป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด สำหรับใช้ในการหาวัน (วันอาทิตย์-วันเสาร์)  และวันที่ ซึ่งอาจเป็นวันเกิดหรือวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยท่านได้จัดทำปฏิทินต้นแบบซึ่งทำด้วยกระดาษแข็ง  ต่อมาขณะท่านดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ช่างไม้ในกองอุปกรณ์การศึกษากรมวิชาการ  ขยายต้นแบบโดยใช้ไม้อัดขนาดใหญ่ ขนาด 4×7 ฟุต  ประกอบด้วยไม้ 7 ชิ้น  ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ  และอาคารหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (ชั้น 4) หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
(สรุปความจากคุณกาญจนา สุคนธมณี อดีตหัวหน้าหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งเรียบเรียงจากบทความที่เขียนโดย อาจารย์สิงโต ปุกหุต)
 
Pin_calendar
 
ในการคำนวณวันของปฏิทินล้านปีนั้น ตั้งแต่ผู้เขียนรู้จักปฏิทินนี้ ก็พบว่ามีการแสดงตัวอย่างการใช้งานปฏิทินติดไว้ด้านข้างของปฏิทินอยู่แล้ว โดยเป็นตัวอย่างการคำนวณปีพ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) จนเมื่อได้มาปฏิบัติงานที่ฝ่ายโสตทัศนศึกษา ก็มักจะมีผู้ใช้บริการมาถามวิธีการใช้อยู่เนืองๆ โดยปัญหาที่พบคือ ผู้ถามมักเป็นผู้ที่เกิดปีพ.ศ. 2500 ขึ้นไป หรือปีค.ศ. 19xx แต่ตัวอย่างที่แสดงไว้เป็นปีค.ศ. 1868 ทำให้สนใจหันมาศึกษาวิธีการใช้ของปีที่แตกต่างจากตัวอย่าง ซึ่งดูแล้วก็ไม่ได้ยากแต่อย่างใด
 
จนมาถึงในช่วงปี สองปีที่ผ่านมานี้ ที่พบว่าผู้ใช้บริการซึ่่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เกิดปีพ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) มักจะมาถามว่าทำอย่างไร เพราะดูตัวอย่างที่แสดงไว้ก็ไม่สามารถทำได้ อันนี้หมายรวมถึงตัวผู้เขียนด้วยเช่นกันที่ไม่ทราบว่าจะคำนวณอย่างไร (โดยส่วนตัวมีความเข้าใจเฉพาะปี 19xx ลงไป)  จึงได้มาลองทดสอบและใช้งานจนค่อนข้างแน่ใจว่า น่าจะเป็นวิธีการคำนวณที่ถูกต้อง จึงได้จัดทำวิธีการใช้ปฏิทินล้านปีในช่วงปี ค.ศ. 1900-1999 และปีค.ศ. 2000-2099  เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถทดลองใช้งานได้ด้วยตนเอง
julian-calendar-1

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร