การคัดเลือกหนังสือ

หนังสือ เป็นสิ่งพิมพ์ที่เกิดจากความรู้ ความคิด สติปัญญา และประสบการณ์ของมนุษย์ จัดทำเป็นรูปเล่ม ในเล่มหนึ่ง ๆ จะมีเรื่องเดียว หรือหลายเรื่อง และอาจเป็นเล่มเดียวจบ หรือหลายเล่มจบก็ได้หนังสือแบ่งตามลักษณะเนื้อหาได้ 5 ประการ คือ 
1.หนังสือสารคดี (non-fiction) หมายถึงหนังสือที่มุ่งให้ความรู้ ได้แก่หนังสือที่ให้ความรู้ทั่ว ๆ ไป หรือให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชาหนึ่ง ๆ เช่น สังคมศาสตร์ ภาษาและวรรณคดี วิทยาศาสตร์  ประวัติศาสตร์ฯลฯ 
2.หนังสือบันเทิงคดี (fiction) หมายถึงหนังสือที่เขียนขึ้นจากจินตนาการ หรือประสบการณ์ของผู้แต่ง มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านได้รับความเพลินเพลิน และข้อคิดคติชีวิต ในแง่มุมต่าง ๆ ได้แก่ เรื่องสั้น นวนิยาย และกวีนิพนธ์
3.ตำรา (Textbook) หมายถึงหนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ชำนาญการในสาขาวิชานั้น ๆ มีเนื้อหาครบถ้วนตามรายละเอียดของหลักสูตร และหนังสืออ่านประกอบ เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อใช้อ่านประกอบในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่เล่าเรียนอยู่ในสถานศึกษา โดยมีเนื้อหาละเอียดขึ้น พิสดารขึ้น เจาะลึกขึ้น สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมให้ได้รับความรู้ที่กว้างขวางขึ้นไปอีก
4. หนังสืออ้างอิง (Reference book) หมายถึง หนังสือที่ใช้เป็นแหล่งในการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง หรือคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหัวข้อเฉพาะเท่านั้น เป็นหนังสือที่ไม่ได้จัดทำเพื่อให้อ่านตลอดเล่ม หนังสืออ้างอิงมีหลายประเภท ได้แก่ พจนานุกรม หนังสือรายปี สารานุกรม หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ นามานุกรม บรรณานุกรม และดรรชนี
5. สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government publication) หมายถึงสิ่งพิมพ์ที่หน่วยงานของรัฐ เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ มีประโยชน์ คือ ใช้อ้างอิงต่อการศึกษา ค้นคว้า เนื่องจากเป็นแหล่งสารสนเทศที่เชื่อถือได้ เนื่องจากเป็นงานทางวิชาการ หรืองานวิจัยเขียนโดยผู้มีควารู้และประสบการณ์
การคัดเลือกหนังสือ ทุกปีงบประมาณ    เพื่อให้ทันการสั่งซื้อ และขออนุมัติเบิก-จ่าย ผู้ปฏิบัติงานต้องวางแผนการทำงานดังนี้
1.เขียนแผนการทำงาน การไปคัดเลือกหนังสือ 
2.ปรึกษากับหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ฯ
เกณฑ์การคัดเลือกหนังสือ คือจัดซื้อหนังสือให้สอดคล้อง และเกี่ยวข้องกับสาขาหลักสูตรที่เปิดทำการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ดังนี้ (ตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเงิน)

  • คณะจิตรกรรมและภาพพิมพ์ ได้แก่สาขาวิชาทัศนศิลป์
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้แก่ สาขาการจัดการมรดทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สาขาวิชาการจัดการโครงการก่อสร้าง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบทางสถาปัตยกรรม
  • คณะโบราณคดี ได้แก่ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะ มานุษยวิทยา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษและ ภาษาฝรั่งเศส พิพิธภัณฑสถานศึกษา ภาษาฮินดี ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร สาขาวิชาจารึกศึกษา สาขาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
  • คณะมัณฑณศิลป์ ได้แก่ สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาวิชาการประยุกต์ศิลปศึกษา สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ
  • คณะอักษรศาสตร์ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาเกาหลี ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ปรัชญา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การละคร สังคีตศิลป์ไทย สังคมศาสตร์และการพัฒนา สารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ สาขาวิชาเอเชียตะวันออก สาขาวิชาเอเชียศึกษา
  • คณะศึกษาศาสตร์ ได้แก่ สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาสังคมศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย สาขาวิชาการประถมศึกษา สาขาวิชาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และสาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต สาขาวิชาจิตวิทยา สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา
  • คณะวิทยาศาสตร์ ได้แก่ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ สถิติ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จุลชีววิทยา คณิตศาสตร์ประยุกต์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์และงานยุติธรรม
  • คณะเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข สาขาวิชาการจัดการทางเภสัชกรรม สาขาวิชาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้แก่สาขาปิโตรเคมี และวัสดุโพลิเมอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการโลจิสติกส์ สาขาวิชาวัสดุขั้นสูงและนาโนเทคโนโลยีและ สาขาวิชาวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ เทคโนโลยีการผลิตพืช ธุรกิจเกษตร
  • คณะวิทยาการจัดการ ได้แก่สาขาวิชาการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการจัดการชุมชน สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการจัดการโรงแรม และสาขาวิชาการจัดการธุรกิจ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก่สาขาวิชาสนเทศธุรกิจ สารสนเทศเพื่อการออกแบบ  
  • วิทยาลัยนานาชาติ  สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
  • คณะดุริยางคศาสตร์ สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา
  • จัดซื้อหนังสือ ตามที่ผู้ใช้เสนอซื้อ
  • จัดซื้อหนังสือตามนโยบายของหอสมุด 
  • จัดซื้อหนังสือที่ได้รับรางวัลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น และหนังสือที่ได้รับรางวัลอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง เช่นรางวัลพานแว่นฟ้า, รางวัลช่อการะเกด, นายอินทร์อะวอร์ด, รางวัล “แว่นแก้ว”
  • จัดซื้อหนังสือที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ข้อมูลภูมิภาคตะวันตก
  • พิจารณาเนื้อหาของหนังสือให้ความจรรโลงใจ ทำให้เกิดปัญญา
  • พิจารณาผู้เขียนที่มีความน่าเชื่อถือได้
  • พิจารณา สำนักพิมพ์ หรือแหล่งจำหน่ายที่เชื่อถือได้
  • พิจารณาหนังสือที่จัดทำโดยหน่วยงาน มหาวิทยาลัยที่ที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนเหมือนกันเพื่อให้นักศึกษาได้เห็นมุมมองที่ต่าง หรือเหมือนกัน

หนังสือที่ออกใหม่  หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ ฯ จะดำเนินการไปตรวจสอบจาก เว็ปไซต์ ของทุกสำนักพิมพ์ ที่จำเป็นต้องจัดหาเข้าห้องสมุด หลังจากนั้น ก็ขอใบเสนอราคา  มาพิจารณาดูว่า สมควรสั่งซื้อเข้าหอสมุดหรือไม่  โดยทำการตรวจสอบกับ ฐานข้อมูลของหอสมุดฯ ว่ามีตัวเล่มหรือไม่  หากยังไม่มี  พิจารณาจัดซื้อ และดำเนินการเข้าสู่ขั้นตอนของการจัดหา
 
หลังจากนั้นพิจารณาดำเนินการจัดหาเข้าหอสมุดฯ
ทั้งนี้ ต้องรีบดำเนินการให้ทันกับการปิดงบประมาณ  โดยดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้
ส่วนหนังสือที่มีผู้ใช้จำนวนมาก หรือมีการยืมตลอดเทอม พิจารณาสั่งซื้อเพิ่ม  ตัวอย่างเช่่น  ภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการวิจัย
หรือได้รับแจ้งจากงานบริการว่ามีผู้ใช้ ยืมจำนวนมาก ฝ่ายวิเคราะห์ฯ ซื้อให้ตามจำนวนที่่แจ้งข้อมูลมาให้ฝ่ายวิเคราะห์ฯ
ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติงาน ต้องให้ความสำคัญกับการไปคัดเลือกหนังสือที่ดีและมีคุณภาพและให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่ทำการเปิดสอนทุกสาขา และมีความรู้ในวิชาการสาขาใดสาขาหนึ่ง 

  • ติดตามความก้าวหน้าทางแวดวงวรรณกรรมและที่เกี่ยวข้อง
  • ติดตามความรู้ใหม่ๆ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของโลก
  • ติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดหนังสือ และสำนักพิมพ์ต่างๆ
  • เป็นผู้รู้แหล่งสรรพวิทยา (Resoucefulness)
  • สร้าง connection กับผู้ใช้ อาจารย์ เจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานจากภาควิชา/คณะวิชา ผู้ที่เกี่ยวข้อง และบรรณารักษ์ และผู้ร่วมงาน หรือผู้รู้กับหน่วยงานอื่น
  • มีความรู้ในเรื่องของภาษาต่างประเทศ เพื่อเข้าใจการสั่งซื้อ และ Technical Term  เช่น ใบเสนอราคา (Quotation)  ใบส่งของ (Invoice)  ; การสั่งซื้อ (Order) ;การตรวจสอบ (Verification) ;สิ่งพิมพ์ขาดตลาด (Out of Print) ;สิ่งพิมพ์ที่พ่อค้าขายส่ง (Wholesaler) ; พ่อค้าย่อย (Retailer) ;หนังสือค้างส่ง (Outstanding order) ;การทวง (Claiming) ;ยกเว้นค่าธรรมเนียมปีแรก (Annual Hosting Fee) ;สำนักพิมพ์ (Publisher) ;ชื่อสินค้า (Title) ;ผู้แต่ง (Author) ;ปีที่พิมพ์ (Publication Date) ;ส่วนลด (Discount) ;จำนวนเงิน (Amount) ;วันที่ (Date) ;การทำใบสั่งซื้อ (Purchase Order)
  • อ้างอิง (Reference no.) ;ค่าขนส่ง (Shippin & Handling) ;จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น (Grand total) ; ยืนยันการสั่งซื้อ (Confirmed by) ; ผู้เสนอราคา (Quoted by) ; ผู้อนุมัติ  (Approved by) 

หากเพื่อนๆ หรือผู้ใช้ห้องสมุดที่สนใจต้องการคัดเลือกหนังสือที่มีคุณภาพ และสาระเข้าหอสมุดฯ สามารถไปคัดเลือกหนังสือกับฝ่ายวิเคราะห์ฯ ก็ได้เช่นกันค่ะ 
โทร. ติดต่อสอบถามการไปคัดเลือกหนังสือได้ในเวลาราชการ (วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 -16.30น.) เพื่อนัดหมายการไปศูนย์หนังสือ /สำนักพิมพ์ 
 
 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร