พิพิธภัณฑ์พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี

14 January 2019
Posted by tanawan



ในระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2561 ดิฉันได้มีโอกาสเดินทางไปราชการ ณ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง  และได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ทรงคุณค่าของเมืองตรัง จากการที่ได้มีโอกาสมาเยือนพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ดิฉันรู้ัสึกประทับใจในตัวท่านเป็นอย่างมากเกี่ยวกับกุศโลบายที่ใช้ในการปกครองเมืองของท่าน ซึ่งสอดคล้องกับพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เกี่ยวกับ “เศรษฐกิจพอเพียง”
พิพิธภัณฑ์พิพิธภัณฑ์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี  ซึ่งชาวตรังมักเรียกกันว่า “ควนรัษฎา” หรือ “จวนเก่าเจ้าเมืองตรัง” เป็นบ้านพักอดีตของเจ้าเมืองตรัง คือ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี  หรือ คอซิมบี้ ณ ระนอง  ด้วยชื่อ “คอซิมบี้” นี้เองทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดว่าท่านเป็นชาวฝรั่ง แต่แท้จริงแล้ว ท่านเป็นชาวจีนที่เข้ามารับราชการสยามในสมัยนั้นนั่นเอง พิพิธภัณฑ์ฯ มีลักษณะเป็นเรือนไม้ 2 ชั้นเก่าแก่ รูปทรงปั้นหยา สีฟ้าอ่อนๆ ปัจจุบันมีสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ภายในตัวบ้านมีการแบ่งเป็นสัดเป็นส่วน คือ มีห้องครัว ห้องรับแขก ห้องทำงาน ห้องนอน  ห้องน้ำ เป็นต้น  บางห้องยังคงมีเครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยโบราณจัดแสดงให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษาอย่างชัดเจน เช่น ห้องนอนยังคงมีเครื่องนอนค่อนข้างครบถ้วน  ภายในแต่ละห้องมีโต๊ะ ตู้ เตียง เฟอร์นิจอร์ เครื่องพิมพ์ดีด กล้องถ่ายรูป เครื่องกรองน้ำ กระเป๋า นอกจากนี้ ในแต่ละห้องบนฝาหนังห้องจะติดรูปถ่ายใส่กรอบจำนวนมาก เป็นรูปถ่ายที่ท่านได้ถ่ายร่วมกับพระเจ้าอยู่หัว ถ่ายกับเจ้านาย ตลอดจนการถ่ายกับชาวบ้าน มีการจัดเรียงไว้อย่างสวยงาม และดิฉันเพิ่งทราบจากการอ่านข้อมูลในภายหลังว่าท่านเป็นนักเล่นกล้องและชื่นชอบการถ่ายภาพเป็นอย่างมาก








พระยารัษฎาฯ นอกจากท่านจะปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลเมืองตรังแล้ว ท่านยังได้สร้างอาชีพให้กับชาวบ้านในเมืองตรัง คือ การส่งเสริมการทำเกษตรไว้กินใช้ในครัวเรือน ซึ่งได้อ่านจากป้ายด้านหน้าก่อนเข้าเรือนที่ว่า
“พระยารัษฎาฯ ให้ทุกบ้านปลูกพริก มะเขือ มะกรูด ตะไคร้ ฯลฯ อย่างละ ๕ ต้น และเลี้ยงไก่ ๕ แม่ ชาวบ้านทำได้ผลก็นำมาให้ เพราะนึกว่าท่านให้ทำแล้วจะเก็บเอา แต่ท่านไม่รับ ให้เก็บไว้กินเอง เหลือก็ให้ขาย ทำให้ชาวบ้านมีกินมีใช้และได้เงินด้วย อีกครั้งหนึ่งท่านออกตรวจราชการ เห็นต้นไม้ตามบ้านมีกาฝากขึ้นต้นเต็ม ก็ให้คนไปประกาศว่าท่านป่วย ต้องการกาฝากให้ทำยา ชาวบ้านเก็บกาฝากส่งให้ทุกวัน พอเห็นว่ากาฝากใกล้จะหมดแล้ว ท่านก็ให้แจ้งว่าหายป่วยแล้ว ต้นไม้ของชาวบ้านจึงงอกงาม” ซึ่งนับเป็นกุศโลบายอันชาญฉลาดที่พระยารัษฎาฯ ได้ใช้ในการปกครองเมืองของท่าน  และนอกจากนี้ท่านยังช่วยส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมเพื่อการค้า คือ การปลูกยางพารา ท่านเป็นคนแรกที่นำยางพาราต้นแรกมาปลูกในประเทศไทย ในอำเภอกันตัง ซึ่งปัจจุบันยางพาราต้นนี้ก็ยังคงมีชีวิตอยู่









 

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร